ข้าพเจ้ามั่นใจว่า ไม่เพียงแต่ 114 ประเทศรัฐภาคีเท่านั้น
แต่ยังรวมไปถึงฝ่ายตุลาการเองด้วย ซึ่งจะมีความปิติยินดีในการต้อนรับให้ประเทศไทยเป็นน้องใหม่ของประเทศรัฐ
ภาคี
ดร. จูร์ เอช. ซี. ฮันส์-ปีเตอร์ โคล
เป็นรองประธานของศาลอาญาระหว่างประเทศ
Saturday, Jan 22, 2011
The Nation/Asia News Network
บทบาทของศาลอาญาระหว่างประเทศ
http://news.voicetv.co.th/thailand/2660.html
ศาลอาญาระหว่างประเทศไม่มีสิทธิ์แทรกแซงคดีในไทย
http://news.voicetv.co.th/global/2686.htm
Khun Prim Masrinuan
nicely forwarded a speech given in Thammasat last 23 Januari 2011
by ICC Vice-President, Judge Dr. Jur. H. C. Hans-Peter KAUL
She also gave us a Thai language version of the Rome ICC Statute by Thammasat collective translation
Download the speech
Download Thaipress
related cuts (Courtesy of Judge Dr. Jur. H. C. Hans-Peter KAUL
บทบาทของศาลอาญาระหว่างประเทศ
22 มกราคม 2554 เวลา 20:06 น
http://news.voicetv.co.th/thailand/2660.html
ศาลอาญาระหว่างประเทศไม่มีสิทธิ์แทรกแซงคดีในไทย
23 มกราคม 2554 เวลา 19:49 น.
http://news.voicetv.co.th/global/2686.html
หนุนไทยเป็นรัฐภาคีศาลอาญาระหว่างประเทศ
18 สิงหาคม 2554 เวลา 20:11 น.
http://news.voicetv.co.th/thailand/16589.html
เปิดคำร้อง 'อัมสเตอร์ดัม' ขอตัดสิทธิ์ผู้พิพากษาคดีเสื้อแดง
http://news.voicetv.co.th/thailand/4295.html
นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ทนายความของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ได้ทำหนังสือ คำร้องขอให้ตัดสิทธิ์ผู้พิพากษานการพิจารณาคดีคนเสื้อแดง ลงวันที่
16 กุมภาพันธ์
2554 โดยส่งถึง ฯพณฯ ลูอิส
โมเรโน-โอแคมโป อัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ
เราขอยื่นบันทึกฉบับนี้ต่อท่านเพื่อขอให้ท่านใช้อำนาจตามกฎหมายในการขอให้ศาลอาญาระหว่างประเทศมีคำสั่งห้ามผู้พิพากษาฮันส์-ปีเตอร์ คาอูล ( Hans-Peter Kaul) มิให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณาคดีที่ระบุข้างต้น
ส.ส.สุนัย นำ กมธ. ต่างประเทศ
พบประธานศาล ICC
http://sunaifanclub.blogspot.be/2012/06/icc.html
วันที่ 29 มิถุนายน
55 เวลา 13.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น ส.ส.สุนัย จุลพงศธร
ประธานกรรมาธิการการต่างประเทศ ได้นำคณะ กรรมมาธิการการต่างประเทศ เข้าพบนายซง ซาง-ฮยุน ( Song Sang-Hyun) ประธานศาลอาญาระหว่างประเทศ และนายมิเชล เดอ สเม็ดต์ ( Michel de Smedt) ผู้อำนวยการส่วนงานพิจารณาคดี ของสำนักอัยการ
คณะกรรมาธิการยังมีความประสงค์ที่จะเข้าเยี่ยมคาราวะ
และเรียนเชิญ ฯพณฯ เข้าร่วมงานเสวนาทางวิชาการ ซึ่งจะจัดขึ้นในประเทศไทย
โดยเพื่อเป็นการให้ความรู้กับประชาชนเกี่ยวกับประโยชน์ที่จะได้รับจากการเป็นสมาชิกของศาลอาญาระหว่างประเทศ
คณะกรรมาธิการมีความยินดีอย่างยิ่งที่จะสนับสนุนให้มีการลงสัตยาบันในสนธิสัญญากรุงโรม
ในฐานะที่เป็นกลไกที่จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความรุนแรง
และก่ออาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติในประเทศไทยอีก ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้าจึงขอเรียนเชิญ
ฯพณฯ เข้าร่วมงานเสวนาดังกล่าวด้วยตัวข้าพเจ้าเอง
โดยงานเสวนากำหนดจัดขึ้นประมาณปลายปีนี้
รายงาน: ตอบทุกประเด็น “ศาลอาญาระหว่างประเทศ” ทำไมไทยไม่เป็นภาคี?
Tue, 2012-05-15 02:52
http://www.prachatai3.info/journal/2012/05/40506
สุนัย”ยัน 91ศพเข้าสู่ศาลโลก เตรียมเชิญปธ.ศาลอาญาระหว่างประเทศสัมมนา ไทยเสริมความรู้กม.สิทธิมนุษย์ชน
ที่รัฐสภา นายสุนัย จุลพงศธร ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย
และประธานคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร
กล่าวถึงความคืบหน้าการยื่นฟ้องผู้เสียชีวิตจากการชุมนุม
ไปยังศาลอาญาระหว่างประเทศ(ไอซีซี)ในกรุงเฮก
ต่อการสลายการชุมนุมทางการเมืองเมื่อปี 2553 จนมีผู้เสียชีวิต 91 ศพ ว่า
ขณะนี้เรื่องอยู่ระหว่างการดำเนินการ
และตนพยายามทำความเข้าใจในเรื่องบทบาทสิทธิมนุษย์ชนให้ประชาชนมีความรู้
รวมทั้งบทบาทศาลอาญาระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเข้าไปเป็นภาคี
รวมทั้งการดำเนินคดีในเรื่องนี้ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย
ทั้งนี้กมธ.การต่างประเทศจะจัดให้มีการสัมมนาวิชาการให้ข้อมูลในภาคประชาชน
และส่วนราชการ ที่ประเทศไทย โดยมีการเชิญ นักวิชาการนานาชาติ ผู้พิพากษา
ประธานศาลอาญาระหว่างประเทศ เข้าร่วมสัมมนาในระหว่างเดือนมิ.ย.
เพื่อเป็นหลักประกันในการให้ความยุติธรรม การให้ความรู้
และจะมีตัวแทนจากอาเซียน เข้าร่วมาโดยมอบหมายให้ นายพีรพันธ์ พาลุสุข
เป็นประธาน รวมทั้งจะมีการยกคณะไปเยือนศาลอาญาระหว่างประเทศที่กรุงเฮก ด้วย
มีนาคม 15, 2012
สุนัยเยือนศาลอาญาระหว่างประเทศยื่นหนังสือร้อง91ศพพฤษภาเลือดในไทย ICCบอกรออยู่พอดี
9 ธันวาคม 2554
http://thaienews.blogspot.be/2011/12/91-icc.html
ผบ.ทบ.เตือน พท.ส่งคดี "91 ศพ" ฟ้องศาลโลก เชื่อศาลในไทยตัดสินคดีเองได้ ปรามการเมืองหยุดดึงทหารเข้าสู่ความขัดแย้ง
เมื่อเวลา 14.00 น. ที่สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.)
ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่นายสุนัย จุลพงศธร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย
ในฐานะประธานกรรมาธิการระหว่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร จะนำคดี 91 ศพ
คนเสื้อแดงไปฟ้องศาลอาญาระหว่างประเทศในวันที่ 9 ธันวาคม ว่า
ต้องดูว่าสามารถทำได้แค่ไหน อย่างไร เพราะเรายอมรับในกระบวนการยุติธรรม
และกระบวนการประชาธิปไตยอยู่แล้ว ตนไม่ขัดข้อง หากทำได้ก็ทำ
แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องภายในประเทศของเรา
ซึ่งกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทยใช้ได้อยู่แล้ว
ส่วนจะสร้างความขัดแย้งเพิ่มเติมหรือไม่นั้น ทุกคนทราบดีแยู่แล้ว
การใช้กระบวนการภายในของเราน่าจะทำได้ดี
ไม่เช่นนั้นความน่าเชื่อถือของกระบวนการภายในประเทศไทยคงจะลำบาก
ตนไม่มีความเห็นขัดแย้ง
ใครอยากทำอะไรก็ทำไปในอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่แล้ว
วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 เวลา 18:09:38 น
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1322565072&grpid=&catid=01&subcatid=0100
"สุนัย"กลับลำไม่ส่ง91ศพร้องศาลระหว่างประเทศ
"สุนัย"กลับลำยังไม่รับปากส่งคดี 91 ศพร้องศาลระหว่างประเทศ
อ้างขอศึกษาช่องทางนิติราษฎร์
ด้านบัวแก้วเผยไทยต้องออกก.ม.ลูกก่อนให้สัตยาบันภาคีศาลโลก
พฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม 2554 เวลา 17:45 น
http://www.dailynews.co.th/politics/1204
"สุนัย" และ 3 ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ เพื่อไทย เตรียมยื่นฟ้องศาลโลก คดี "91 ศพ"
มื่อวันที่ 28 พ.ย. ที่รัฐสภา นายสุนัย จุลพงศธร
ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ
สภาผู้แทนราษฎร พร้อมส.ส.บัญชีรายชื่อประกอบด้วย น.ส.จารุพรรณ กุลดิลก
น.ส.ขัตติยา สวัสดิผล ร.ต.อ.นิติภูมิ นวรัตน์ แถลงข่าวการยื่นเรื่องฟ้องคดี
91 ศพ ต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ
วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 เวลา 17:30:00 น.
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1322474297&grpid=03&catid=&subcatid=
สุนัย ยื่นฟ้องศาลโลกคดี 91 ศพ
http://www.youtube.com/watch?v=kNTaB311SR4&feature=player_embedded#!
2010 crackdown complaint to ICC
A complaint will be filed with the International
Criminal Court (ICC) in the Netherlands asking it consider last year's
crackdown on the red-shirt protesters as a special case, Pheu Thai party
list MP Sunai Julapongsathorn said on Monday.
Pheu Thai party list MP Sunai Julapongsathorn
Mr Sunai, in his
capacity as chairman of the House committee on foreign affairs,
announced this at a press conference in the presence of Pheu Thai list
MPs Charuphan Kuldilok, Khattiyaa Sawasdipol and Pol Col Nitiphum
Navarat.
http://www.bangkokpost.com/breakingnews/268276/crackdown-complaint-going-to-icc
นปช. ตั้งโรเบิรต์ อัมสเตอร์ดัมส์ เป็นทนายฟ้องศาลโลก
19 มกราคม 2554 เวลา 20:25 น. http://news.voicetv.co.th/thailand/2439.html
ทนายยันคดีเสื้อแดงฟ้องศาลโลกได้
26 มกราคม 2554
เวลา 19:41 น. http://news.voicetv.co.th/thailand/2865.html
ทนาย นปช.แจงฟ้องศาลโลก
31 มกราคม 2554 เวลา 13:38 น
http://news.voicetv.co.th/thailand/3149.html
นปช.ถ่ายสด-ฟ้อง91ศพจากญี่ปุ่น
30 มกราคม 2554 เวลา 17:19 น.
http://news.voicetv.co.th/thailand/3121.html
แผนผังความเข้าใจเสื้อแดงฟ้องศาลอาญาระหว่างประเทศ
10 กุมภาพันธ์ 2554
เวลา 18:08 น
http://news.voicetv.co.th/thailand/3646.html
เปิดคำร้อง 'อัมสเตอร์ดัม' ขอตัดสิทธิ์ผู้พิพากษาคดีเสื้อแดง
17 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 10:43 น
http://news.voicetv.co.th/thailand/4295.html
องค์กรนิรโทษกรรมสากล
แจงเหตุห้ามเชิญโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม
4 พฤษภาคม 2554 เวลา 15:45 น
http://news.voicetv.co.th/global/9526.html
http://www.prachatai.com/journal/2011/10/37223
4 ต.ค. 54 เครือข่ายองค์กรโลกเรียกร้องให้รัฐบาลไทย
เข้าร่วมภาคีศาลอาญาระหว่างประเทศ ภาคประชาสังคมระบุรัฐบาลใหม่ต้องใส่ใจ
และให้ความสำคัญต่อการเข้าเป็นภาคีธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่าง ประเทศ ในลำดับต้นๆ
นปช.-อัมเตอร์ดัม เดินหน้าหาความจริง 10
เม.ย.53
12 ตุลาคม 2554 เวลา 16:48 น
http://news.voicetv.co.th/thailand/20497.html
อัมสเตอร์ดัม"
เผยแนวทางติดตามคดีกับศาลโลก
อัมสเตอร์ดัมฟ้องอภิสิทธิ์
4
19 มกราคม 2555 เวลา 21:21 น.
นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม เผยว่า กำลังขอความช่วยเหลือผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายระหว่างประเทศ ต่อกรณีความคืบหน้าคดีสลายการชุมนุมคนเสื้อแดง ที่ยื่นฟ้องต่อศาลอาญาระหว่างประเทศไปก่อนหน้านี้
http://news.voicetv.co.th/thailand/28393.html
อัยการศาลโลกขอหลักฐานสัญชาติ ‘อภิสิทธิ์ ’จ่อรับฟ้องคดีสลายแดง
http://www.dailyworldtoday.com/newsblank.php?news_id=13370
8 กุมภาพันธ์ 2555
อัมสเตอร์ดัม
ทนายความคนเสื้อแดง ไปยื่นเอกสารฟ้องนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น
ต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ เมื่อวันที่ 31 ม.ค.
2554 ว่าล่าสุดนายโรเบิร์ตได้รับการติดต่อจากอัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ
ขอเอกสารหลักฐานยืนยันสัญชาติอังกฤษของนายอภิสิทธิ์เพื่อประกอบการพิจารณา ดำเนินคดี
ทนาย นปช. มั่นใจ
ศาลโลกรับคำร้องคดีสลายม็อบปี 53
25 มิถุนายน 2555 เวลา 21:06 น.
http://news.voicetv.co.th/thailand/42837.html
นปช.ไปศาลโลก เป็นพยานไต่สวนคดี91ศพ
25 มิถุนายน 2555 เวลา 14:31 น.
http://news.voicetv.co.th/thailand/42743.html
ธิดาให้การ98ศพ ศาลโลก แม่เกด-อ.ธงชัย ก็ร่วมเบิกความ
วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROd01ERXdNakkzTURZMU5RPT0 =
ส่วน
นพ.เหวงกล่าวว่า การชี้แจงของนปช. เป็นบวก
เพราะศาลส่งเจ้าหน้าที่ระดับสูงฝ่ายกฎหมายของคณะอัยการในศาลอาญา
ระหว่างประเทศ การที่ส่งเจ้าหน้าที่ระดับสูงมารับฟังเรื่องราวของเราทั้งหมด
ถือว่าเขาให้น้ำหนักกับกรณีของเราเป็นอย่างมาก
และข้อต่อมาในระยะเวลาชั่วโมงครึ่ง ที่เราเล่ารายละเอียดให้ฟัง
เจ้าหน้าที่ก็ฟังด้วยความตั้งใจ และยังแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น
ข้อต่อมาคือเราชี้ให้เห็นว่าในเมืองไทย
ประมวลกฎหมายอาญาไม่มีความผิดในมูลฐานอาชญากรรมทำลายล้างมนุษยชาติ
ฉะนั้นเป็นความชอบธรรมที่ศาลอาญาระหว่างประเทศ จะเริ่มต้นพิจารณาคดีนี้ได้
ไม่มีความจำเป็นต้องไปรอลงสัตยาบัน เพราะต้องใช้เวลา 3-5 ปี อาจจะช้าเกินไป
เพราะอาจจะมีการฆ่าคนรอบใหม่
ขณะที่นางพะเยาว์กล่าวว่า
มาอธิบายต่อศาลว่าไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์ฆ่าประชาชนอีก
และที่มาเรียกร้องตรงนี้ ก็เป็นตัวแทนของผู้สูญเสีย
ไม่อยากให้ใครมาตายแบบลูกเราอีก
ศาลอาญาระหว่างประเทศรับคำร้องคดีสลายชุมนุมแล้ว
" ธิดา"วิดีโอลิงค์เผยศาลอาญาระหว่างประเทศรับคำร้องคดีสลายชุมนุม91 ศพแล้ว
ICC รับคดี สลายชุมนุม 91
ศพไว้เเล้ว
29 มิถุนายน 2555 เวลา 20:37 น
http://news.voicetv.co.th/thailand/43194.html
ICC สงสัยมีคนอยู่เบื้องหลังเหตุสลายการชุมนุม
http://news.voicetv.co.th/thailand/43795.html
ด้านประธาน นปช.
เดินทางกลับจากไปยื่นสำนวนคดีเหตุการณ์สลายการชุมนุม ช่วงปี 2553 ต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ โดยระบุว่า ศาลอาญาระหว่างประเทศ ได้ตั้งข้อสังเกตว่า น่าจะมีบุคคลอยู่เบื้องหลัง
การสั่งสลายการชุมนุมของ ศอฉ.
นางธิดา ถาวรเศรษฐ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ
หรือ นปช. เปิดเผยถึงรายละเอียดการเดินทางไปยื่นสำนวนคดี เกี่ยวกับเหตุการณ์สลายการชุมนุมช่วงปี 2553 ต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ว่า ขณะนี้ศาลอาญาระหว่างประเทศหรือ ไอซีซี ได้รับสำนวนคดีสลายการชุมนุม ไว้พิจารณาแล้ว
ICCเล็งสลายชุมนุม 53 มีหลายกลุ่มเกี่ยวข้อง
5 กรกฎาคม 2555 เวลา 18:29 น
http://news.voicetv.co.th/thailand/43754.html
ประธาน นปช. เดินทางกลับจากการเดินทางไปยื่นสำนวนคดีเกี่ยวกับเหตุการณ์สลายการชุมนุม
ช่วงปี 2553 ต่อศาลอาญาระหว่างประเทศที่ประเทศเนเธอร์แลนด์
ระบุศาลอาญาระหว่างประเทศ ตั้งข้อสังเกตว่าน่าจะมีบุคคลที่อยู่เบื้องหลังการสั่งการสลายการชุมนุม
กลุ่ม นปช.ของ ศอฉ.
ICC สนใจคดีสลายการชุมนุม 91
ศพ
6 กรกฎาคม 2555 เวลา 17:21 น
http://news.voicetv.co.th/thailand/43903.html
ประธาน นปช. เปิดเผยความคืบหน้าหลัง เดินทางไปศาลอาญาระหว่างประเทศ
เพื่อยื่นฟ้องคดีเหตุการณ์สลายการชุมนุมช่วงเดือนเมษายน - พฤษภาคม 2553 โดยศาลอาญาระหว่างประเทศ ได้รับสำนวนดังกล่าว ไว้พิจารณาแล้ว รวมทั้งให้ความสนใจในคดีดังกล่าว
เนื่องจากผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้สูญเสียโดยตรง
โรเบิร์ตทําคําร้องถือสัญชาติอังกฤษ 'มาร์ค' ส่งศาลไอซีซี
10 กรกฎาคม 2555 เวลา 14:40 น.
http://news.voicetv.co.th/thailand/44221.html
แถลงข่าวเรื่อง ลงนาม “ยอมรับอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ ICC
ชั่วคราว
( 1 สค.55) เวลา 10.00 น. ณ ห้องแถลงข่าว สภาผู้แทนราษฎร
ดร.จารุพรรณ กุลลดิลก แถลงข่าวเรื่อง การยื่นหนังสือให้รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศ ลงนาม “ ยอมรับอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ ICC ชั่วคราว ”
ติดตามการแถลงข่าวได้ตามวันเวลาดังกล่าว
http://www.youtube.com/watch?v=aNe6q5Cx5YI&feature=context-cha
1 8 55 ข่าวเที่ยงDNN เหวง จี้ สุรพงษ์ รับอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ
ส.ส.พท. และแกนนำ
นปช.เข้ายื่นหนังสือต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ
เพื่อให้พิจารณายอมรับขอบเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ
นายแพทย์เหวง
โตจิราการ และนายก่อแก้ว พิกุลทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย
พร้อม ส.ส.ในส่วนแกนนำ นปช.เข้ายื่นหนังสือต่อนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ
เพื่อให้พิจารณายอมรับขอบเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ ในส่วนที่เกี่ยวข้อง กับอาชญากรรมสังหารประชาชนหรืออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ
ในเหตุการณ์สลายการชุมนุมเมื่อเดือนเมษายน-พฤษภาคม ปี 2553 โดยขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมอบประกาศยอมรับขอบเขตอำนาญศาลให้แก่นายทะเบียนศาลอาญาระหว่างประเทศ
เพื่อที่ศาลอาญาระหว่างประเทศจะได้เข้ามาพิจารณาคดีของประเทศไทยได้ โดยอ้างตามความข้อ
7 และข้อ 12 ของธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศที่ไทยได้ประกาศรับรองไว้แล้ว
แต่ยังไม่ให้สัตยาบัน
ด้านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ระบุว่าจะมอบหมายให้กรมสนธิสัญญาของกระทรวงการต่างประเทศ
ศึกษารายละเอียดในเรื่องอีกครั้ง โดยยืนยันว่าสามารถพิจารณาเรื่องนี้ได้ตามอำนาจหน้าที่
และหากฝ่ายมีความประสงค์จะยื่นเรื่องต่อศาลอาญาระหว่างประเทศเช่นกันก็สามารถเดินเรื่องผ่านตนได้
กษิต"ยื่นหนังสือศาลโลก
ฟ้องเอาผิดผู้อยู่เบื้องหลังกระบวนการฆ่าตัดตอน
เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม ที่พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.)
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงว่า เมื่อวันที่ 27
กรกฎาคมที่ผ่านมา นายกษิต ภิรมย์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์
ได้ทำหนังสื่อยื่นต่ออัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ
ในการเอาผิดผู้ที่อยู่เบื้องหลังกระบวนการฆ่าตัดตอนของประเทศไทย
ในนโยบายปราบปรามยาเสพติด สมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี
ซึ่งขณะนี้จดหมายได้ถึงศาลอาญาระหว่างประเทศ
รวมทั้งประธานศาลอาญาระหว่างประเทศ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ แล้ว
วันที่ 04 สิงหาคม พ.ศ. 2555 เวลา 16:54:13
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1344074064&grpid=01&catid=&subcatid=
http://www.hrw.org/sites/default/files/reports/thailand0704thwebwcover.pdf
เอชไอวี/เอดส์และผลกระทบด้านสุขภาพอื่นๆเนื่องจาก สงครามยาเสพติด
ปชป.ส่ง"กษิต"ฟ้องศาลโลกมัด"แม้ว"ฆ่าตัดตอน "นพดล"สวนแค่หางานทำ
ด้านนายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมายพ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวว่า
คงเป็นการหางานให้นายกษิตทำ ทั้งนี้ไม่รู้สึกหวั่นไหวใด ๆ
และอยากรู้เหมือนกันว่าคดีฟ้องนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และคดีนี้ คดีใดจะถึงมือศาลก่อนกัน
เพราะรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณไม่เคยมีนโยบายหรือสั่งให้ใครไปฆ่าใครใน
ขณะดำรงตำแหน่ง การกล่าวอ้างว่ามีการฆ่าตัดตอน 2,500
ศพในช่วงการปราบปรามยาเสพติดทั้งที่ความจริงมีการตั้งกรรมการตรวจสอบ
ข้อเท็จจริงหลายชุดแล้ว สรุปว่าไม่มีรัฐบาลใดสั่งให้ฆ่าตัดตอน
นอก
จากนี้
ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าการเสียชีวิตในทุกคดีเกิดจากสาเหตุใดบ้าง
เป็นการตายจากเหตุที่ไม่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด
หรือเป็นการฆ่ากันเองในระหว่างผู้ค้ายา หรือเกิดจากการวิสามัญฯ
โดยเจ้าหน้าที่รัฐจำนวนเท่าใด อย่างไรก็ตาม
รัฐบาลในขณะนั้นไม่มีนโยบายหรือมีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่รัฐไปฆ่าใคร
การตายของแต่ละคนจึงต้องพิสูจน์และสอบสวนเป็นกรณีไป
และหากเกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่ ใครถูกก็ว่าไปตามถูก
ใครผิดก็ว่าไปตามผิด
04 ส.ค. 2555 เวลา 19:20:29 น.
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1344082892&grpid=03&catid=00&subcatid=0000
นพดล ยัน รบ.ทักษิณ ไม่เคยมีนโยบายฆ่าตัดตอน
นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
อดีตนายกรัฐมนตรี โพสต์เฟซบุ๊คส่วนตัว ระบุว่า
วันนี้ขอพูดเรื่องฆ่าตัดตอน ที่อ้างว่า มีคนตาย 2,500 ศพ
ในช่วงการปราบปรามยาเสพติดยุคของ พ.ต.ท.ทักษิณ เนื่องจาก
มีผู้กล่าวหาว่า รัฐบาลในขณะนั้น มีนโยบายฆ่าตัดตอน แต่ความจริงคือ
เรื่องนี้มีการตั้งกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงหลายครั้งแล้ว สรุปว่า
ไม่มีรัฐบาลใดสั่งให้กระทำดังกล่าว
พร้อมทั้งยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า
การเสียชีวิตในทุกคดีเกิดจากสาเหตุใดบ้าง
และไม่สามารถสรุปได้ว่าเกิดจากการวิสามัญฯ หรือการจงใจฆ่า
โดยเจ้าหน้าที่รัฐจำนวนเท่าใด ทั้งนี้
รัฐบาลในขณะนั้นไม่ได้มีนโยบาย
หรือมีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่รัฐไปฆ่าใคร ดังนั้น
การปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่จึงต้องพิสูจน์และสอบสวนในแต่ละกรณีไป
เสาร์ที่ 4 สิงหาคม 2555 11:33:00 น.
http://www.ryt9.com/s/nnd/1459946
ดันแม้วขึ้นศาลโลก
คดีสั่งฆ่าตัดตอน2500ศพ
“กษิต ภิรมย์”รับอาสาลุยเอง
เชิญผู้เสียหายร่วมเป็นโจทก์
“นพดล”โดนป้อง”นายใหญ่”
อ้างไม่ได้สั่งให้ตร.ไปฆ่าใคร
อาทิตย์ ที่ 05 สิงหาคม พ.ศ. 2555, 06.00 น.
http://www.naewna.com/politic/17009
เสื้อแดงล่าแสนชื่อ ดันรัฐให้สัตยาบันกรุงโรมว่าด้วย ICC ชี้ไม่ติดมาตรา 8
http://prachatai.com/journal/2012/08/41934
Tue, 2012-08-07 16:46
สหภาพเพื่อประชาธิปไตยประชาชน
ตั้งโต๊ะล่ารายชื่อแสนชื่อเพื่อยื่นต่อรัฐสภาให้สัตยาบันธรรมนูญกรุงโรมว่า
ด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ ย้ำไม่ได้ทำเพื่อคนเสื้อแดงแต่ทำเพื่อทุกคน
ป้องกันเหตุการณ์เข่นฆ่าประชาชนในอนาคต ชี้ไม่ขัดรธน.ม.8 โดย 9
ส.ค.นี้จะยื่นรายชื่อต่อสภาแม้ยังไม่ครบ
ช่วงบ่ายถึงค่ำ วานนี้ (5 ส.ค.) สหภาพเพื่อประชาธิปไตยประชาชน(Union for
People’s Democracy)
ซึ่งเป็นกลุ่มที่รวมตัวกันของคนเสื้อแดงที่อาศัยอยู่ในประเทศในทวีปยุโรป
ได้จัดกิจกรรมตั้งโต๊ะล่า 100,000
รายชื่อเพื่อให้ประเทศไทยลงนามให้สัตยาบันธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญา
ระหว่างประเทศ(International Criminal Court หรือ ICC) ในงาน “5
สิงหาประชาชุมนุม” ซึ่งจัดโดยกลุ่มเสื้อแดง กทม. 50 เขต รวมกับวิทยุชุมชน 5
สถานี ที่ห้องคอนเวนชั่นฮอลล์ ชั้น 6 ห้างสรรพสินค้าอิมพีเรียล เวิลด์
ลาดพร้าว นางกรรณิการ์ นีลเซ่น ผู้แทนสหภาพเพื่อประชาธิปไตยประชาชน
เปิดเผยว่าการล่ารายชื่อนี้เริ่มตั้งแต่วันที่ 22 ม.ค.
ตอนนี้ได้รายชื่อเพียงสองพันกว่ารายชื่อ
โดยตามรัฐธรรมนูญกำหนดกำหนดไว้หนึ่งหมื่นรายชื่อในการยื่นเสนอกฎหมายต่อสภา
แต่ทางสหภาพฯได้กำหนดไว้ว่าจะยื่นต่อรองประธานรัฐสภาในวันที่ 9 สิงหาคม นี้
เวลาบ่ายโมง ได้เท่าไหร่จะยื่นเท่านั้นก่อน
แม้รายชื่อจะยังไม่ครบตามเงื่อนไข
และหลังจากยื่นรายชื่อแล้วจะมีการล่ารายชื่อต่อไปเรื่อยๆอีกด้วยเพื่อทำการ
จัดส่งภายหลัง
โดยหวังว่าจะไม่มีเหตุการณ์ทหารออกมาเข่นฆ่าประชาชนเหมือนกับปี 52, 53 อีก
“เป็นคนเสื้อแดงแต่พี่ทำเพื่อคนทุกคน ทุกสี ทุกชาติ ทุกศาสนา
ถึงจะเป็นสีเหลืองสีแดงสีเขียว จะเป็นสลิ่มสิงคโปร์ลอดช่อง พี่ทำเพื่อทุกคน
เพื่อป้องกันเหตุในอนาคต เพื่อลูกเพื่อหลานเราอันนี้มันสามารถอยู่ได้ถาวร”
นางกรรณิการ์ กล่าว
ผู้แทนสหภาพเพื่อประชาธิปไตยประชาชน
ได้เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่าก่อนหน้านี้ทางกลุ่มได้มีการยืนหนังสือไปยัง
กระทรวงการต่างประเทศและทำเนียบรัฐบาลเพื่อเรียกร้องให้รัฐไทยให้สัตยาบันใน
ประเด็นดังกล่าวแล้วตั้งแต่วันที่ 20 ธ.ค.54
โดยทางรัฐบาลได้ตอบกลับมาว่าติดกฎหมายภายในประเทศหลายมาตรา ซึ่งทางสหภาพฯ
ได้มีการตอบโต้ไปแล้วว่าไม่จริง โดยนางกรรณิการ์ ได้นำจดหมายของทางสหภาพฯ
ที่ส่งถึง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
เพื่อให้รัฐบาลไทยดำเนินการต่อเนื่องในประเด็นดังกล่าวเมื่อวันที่ 24
เมษายน ที่ผ่านมา ซึ่งจดหมายดังกล่าวให้เหตุผลว่า
เป็นข้ออ้างที่ปล่อยให้เวลาผ่านไปเรื่อยๆ
โดยไม่มีการกำหนดการให้เกิดความคืบหน้าสู่การให้สัตยาบันฯ
เพราะในประเทศที่มีระบอบการปกครองเช่นเดียวกับไทย เช่น อังกฤษ เบลเยียม
แคนนาดา ญี่ปุ่น ลักซัมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ สเปนและสวีเดน
ก็มีข้อบัญญัติในลักษณะคล้ายคลึงกับมาตรา 8 ของไทย แต่ก็ให้สัตยาบันฯ
ไปแล้ว ข้อบัญญัติในรัฐธรรมนูญของบางประเทศเช่น เบลเยียม บัญญัติไว้ใน
Article 91
ที่ว่าพระมหากษัตริย์จะถูกละเมิดมิได้และเหล่ารัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองแทน
หรือเดนมาร์กบัญญัติคล้ายกัน Section 13
ที่ว่าพระมหากษัตริย์เป็นที่เคารพสักการะ จะล่วงละเมิดมิได้
และรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองเช่นกัน
ทั้งนี้เมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาเรื่องบทบาทและอำนาจหน้าที่ของศาลอาญาระหว่าง
ประเทศ(ICC) ในคณะกรรมาธิการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร
ได้จัดการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง “ประเทศไทยกับกฎหมายอาญาระหว่างประเทศ”
มีวิทยากรรวม 5 คน ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ คุณวารุณี ปั้นกระจ่าง
ผู้อำนายการกองกฎหมายจากกระทรวงการต่างประเทศ
ซึ่งได้ตอบคำถามถึงสาเหตุที่ประเทศไทยไม่เข้าเป็นภาคีของธรรมนูญกรุงโรมว่า
“ประเด็นสำคัญที่สุดคือ ข้อ 27 ของธรรมนูญกรุงโรม
กำหนดให้ประมุขของรัฐไม่ได้รับการยกเว้นจากความรับผิดทางอาญาตามธรรมนูญศาล
นี้ ไม่ว่ากรณีใดและจะไม่เป็นมูลเหตุให้ลดหย่อนโทษ
หมายความว่าถ้าไทยเข้าเป็นภาคีก็จะต้องปฏิบัติตามพันธกรณีข้อนี้ด้วย
แต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 8 ระบุว่า
องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ
ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ
มิได้ นี่เป็นข้อติดขัดประการหนึ่ง ซึ่งหากไทยจะเข้าเป็นภาคี
ก็จำเป็นจะต้องมีการดำเนินการเพื่อรองรับพันธกรณีตามข้อ 27
ซึ่งไทยจะต้องคำนึงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ที่มีสถานะพิเศษในบริบททางสังคม
การเมืองและกฎหมายของไทย
จะต้องมีการศึกษาพิจารณาเรื่องนี้อย่างละเอียดรอบคอบ
โดยคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา”
ปชป. ยื่นจม. 2 ฉบับ ศาลอาญาระหว่างประเทศ ฟ้องเอาผิด “ทักษิณ” เบื้องหลังฆ่าตัดตอน
เมื่อวันที่ 4 ส.ค.ที่ผ่านมา เดลินิวส์
รายงานว่า ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต
โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า นายกษิต ภิรมย์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ
พรรคประชาธิปัตย์
ได้ทำหนังสื่อยื่นอัยการศาลอาญาระหว่างประเทศรวมทั้งประธานศาลอาญาระหว่าง
ประเทศที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 27 ก.ค.
เป็นการร้องศาลอาญาระหว่างประเทศในเรื่องกระบวนการฆ่าตัดตอนตามนโยบายการ
ปราบปรามยาเสพติดในรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี
อยากเรียกร้องให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายและไม่ได้รับความเป็นธรรมจากกระบวน
การดังกล่าว เช่น
กรณีของน้องฟลุ๊คที่ถูกลูกหลงจากการจับกุมยาเสพติดของตำรวจให้มาร่วมกันเป็น
โจทก์ยื่นฟ้องพ.ต.ท.ทักษิณครั้งนี้ด้วย
ส.ส.เพื่อไทยทวีตโต้ ปชป. ทำ ไมเพิ่งสนใจ ICC ชี้ควรส่งนายอภิสิทธิ์ไปประเดิมสอบสวนคนแรก
น.ส.จารุพรรณ กุลดิลก คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ
สภาผู้แทนราษฎร และ ส.ส.พรรคเพื่อไทย ได้ ทวีตตอบโต้การเคลื่อนไหว
ของพรรคประชาธิปัตย์ในประเด็นนี้ ผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัวชื่อ @ajarnjar
เมื่อวันที่ 4 ส.ค.ที่ผ่านมาว่า ต่อกรณีที่
ปชป.เพิ่งจะมาสนใจเรื่องฆ่าตัดตอน โดยจะไปศาล ICC บ้าง ตามรอยเสื้อแดง
โดยประกาศส่งนายกษิต (ผู้ก่อการร้ายปิดสนามบิน, จำเลย ICJ,
ขึ้นชื่อเรื่องมารยาททรามกับ ประเทศเพื่อนบ้าน) ไปเป็นผู้ดำเนินการนั้น
ต้องขอไว้อาลัยต่อการตัดสินใจของปชป.ครั้งนี้อย่างสุดจิตสุดใจ
เพราะดิฉันมองเห็นผลลัพธ์สุดท้ายที่ปชป.มีแต่เสียกับเสีย แบบกู่ไม่กลับ
ประการแรก คนทั้งโลกจะตั้งคำถามว่าทำไมเพิ่งจะมาสนใจ ICC ความจริงใจต่อเรื่องฆ่าตัดตอนแทบจะไม่มี เป็นแค่เกมส์ตอบโต้ไปวันๆ
ประการที่สอง ไม่พ้นข้อหาเด็กลอกการบ้านตามเคย
ลอกหนทางของเสื้อแดงที่จะแสวงหาความเป็นธรรมสากลให้กับ ประเทศไทย
โถ..พรรคนักกฎหมายขี้คุย
ประการที่สาม การที่จะไปฟ้อง ICC บ้าง ก็เท่ากับยอมรับอำนาจศาลICCแล้ว ก็มีความยินดีที่จะส่งนายอภิสิทธิ์ไปประเดิมสอบสวนคนแรก
ประการที่สี่ การส่งนายกษิต (ภิรมย์)ไป นับว่าปชป.เลือกได้ถูกคนแล้ว ดิฉันไม่กังวลอะไรเลย นอกจากจะทำให้ประเทศไทยขายหน้าอะไรอีก
สุดท้าย ขอบอกว่า ช่วยดำเนินการให้ไว เพราะดิฉันอยากเห็นปรากฏการณ์เปรียบเทียบ 'ความเป็นธรรมไทย' กับ 'ความเป็นธรรมสากล'
น.ส.จารุพรรณ ยังทวีตอีกว่า
“เท่ากับไม่ต้องออกทุนการศึกษาให้ปชป.ในการเรียนระบบกฎหมายสากล
จะได้เข้าใจว่าคนส่วนใหญ่เขาอดทนกับวิธีคิดเรื่องนิติรัฐแบบไดโนฯของคุณมาก
แล้วนายกษิตไป ICC กลับมาถ่ายทอดให้ไว
เพราะหากปชป.ได้สัมผัสความเป็นธรรมสากลแล้ว
อาจจะเกิดสำนึกได้ว่าได้ก่อกรรมทำเข็ญกับปท.นี้ขนาดไหน
ดิฉันตื่นเต้นอย่างยิ่ง
เพราะรู้อยู่แก่ใจว่ายังไงปชป.ก็ต้องเดินมาตามเส้นทางนี้
ทางที่ไม่เหลือทางเลือกอื่น และในที่สุดเสื้อแดงก็ทำสำเร็จ
ดิฉันอยากให้รางวัลโนเบลกับคนเสื้อแดงจริงๆ การปฏิรูปความเป็นธรรมของไทย
accountability, no impunity เริ่มแล้วและจะเปลี่ยนแบบไม่มีวันหวนคืน
ขอเพื่อนๆทุกคนช่วยกันให้ความรู้เรื่อง ICC
ให้กระจ่างแจ้งไปทั้งหมดทุกสีเสื้อนะคะ โดยเฉพาะหลักปรัชญา
กรุยทางกันต่อไปค่ะ ลุย”
เรื่องที่เกี่ยวข้อง :
รายงาน: ตอบทุกประเด็น “ศาลอาญาระหว่างประเทศ” ทำไมไทยไม่เป็นภาคี?
ปชป.บุกกรุงเฮกยื่นศาลอาญาโลกเอาผิด“แม้ว”ฆ่าตัดตอน
‘อัมสเตอร์ดัม’ – ‘สุนัย’ เดินหน้ารณรงค์นำผู้กระทำผิดขึ้นศาลโลก
'ไอซีซี' สั่งจำคุกผู้นำกบฎคองโก 14 ปี ฐานใช้ทหารเด็ก
คณิต 'ฟ้อง 'ยิ่งลักษณ์ 'อ้าง 'เฉลิม 'บิดเบือนคดีฆ่าตัดตอน
วันที่ 16 ก.ค. นายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ
(คอป.) ได้ทำหนังสือด่วนถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์
ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี
ถึงกรณีที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ไปออกรายการ “รัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน ” ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย
เมื่อวันที่ 30 มิ.ย.
2555 ร่วมกับ ผบ.ตร. และ เลขาธิการ
ป.ป.ส.และกล่าวพาดพิงว่า “คือการแก้ปัญหายาเสพติดที่ทำได้ผลมากที่สุด
สมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แล้วก็มีคนตาย 2,500 คน ก็ถูกกล่าวหาว่า ฆ่าตัดตอน ในความเป็นจริงแล้วหลังมีการปฏิวัติ มีการตรวจสอบเรื่องนี้ถึงสองครั้งท่านอาจารย์
ดร.คณิต ณ นคร ก็เป็นประธานการตรวจสอบ ยืนยันว่า ไม่มีการฆ่าตัดตอน ”
ว่า เป็นคำให้สัมภาษณ์ที่คลาดเคลื่อนต่อความจริง
เป็นการปกป้องและยกย่อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
โดยใช้ประโยชน์จากตน การกระทำของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง จึงน่าจะผิดจรรยาบรรณทางการเมือง เพราะจะต้องตรวจสอบการทำงานของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบ ศึกษาและวิเคราะห์การกำหนดนโยบายปราบปรามยาเสพติดให้โทษและการนำนโยบายไป ปฏิบัติจนเกิดความเสียหายต่อชีวิต
ร่างกาย ชื่อเสียง และทรัพย์สินของประชาชน (คตน.) ให้รอบคอบเสียก่อน ที่จะหยิบฉวยไปใช้ประโยชน์ในทางการเมือง
การให้สัมภาษณ์ของ
ร.ต.อ.เฉลิม
อยู่บำรุง โดยปราศจากการตรวจสอบความจริงให้กระจ่างและถูกต้องในครั้งนี้นั้น ถือว่าเป็นการกระทำที่กระทบต่อความเชื่อถือศรัทธาของประชาชนต่อตน
“ใน รายงานการศึกษาเบื้องต้นของ คตน. ได้ระบุไว้ชัดว่าในนโยบายเกี่ยวกับการปราบปรามยาเสพติดของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
นั้น จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงในเบื้องต้นของ คตน. กรณีน่าเชื่อว่า “ความผิดฐานอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ”
ได้เกิดขึ้นจากการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับยาเสพติดและการนำนโยบายไปปฏิบัติที่ ทำให้มีผู้เสียชีวิตจากการนี้เป็นจำนวนมาก
16 กรกฎาคม 2555, 13:52 น.
http://www.thairath.co.th/content/pol/276421
พลิกรายงาน คตน.ย้อนรอยคดี"ฆ่าตัดตอน"2,500ศพ ยุค"ทักษิณ" เรืองอำนาจ ฤากรรมนั้นตามสนอง?
วันที่
11 มิถุนายน พ.ศ.
2553 เวลา 05:10:50
น
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1276179799&catid=17
สงครามยาเสพติด ชนะหรือกำลังแพ้
กลายเป็นข่าวปกติประจำวันไปแล้วครับ
ตำรวจจับยาเสพติด,ปะทะแก๊งค้ายาที่โน่นที่นี่ซึ่งขอแสดงความชื่นชมในความ
พยายามความตั้งใจกำจัดยานรกของรัฐบาล
จนดูเหมือนเป็นผลงานชิ้นแรกหรืออาจชิ้นเดียวของรัฐบาลอายุ 9
เดือนยี่ห้อยิ่งลักษณ์
สถิติรวบรวมช่วงกันยาปี 54 ถึงพฤษภาปีนี้เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันก่อนหน้า
เอาแค่ของกลางที่จับได้เพิ่มขึ้นมากมาย อย่างยาบ้าเพิ่ม 45% ยาไอซ์เพิ่ม
55%
หากดูเพียงสถิติความสวยงามของตัวเลขก็อาจทำให้เข้าใจได้ว่ารัฐบาลประสบชัย
ชนะงดงามในมหาสงครามปราบยาเสพติด เป็นไปตามนโยบายหาเสียงเอาไว้ภายใน 1
ปีต้องลดยาเสพติดให้ได้
แต่หากดูรอบๆด้านผมกลับเห็นว่ารัฐบาลยังอยู่ห่างอะไรก็ตามที่เรียกว่า
“ชนะ” ค่อนข้างมาก
แม้จับยาเสพติดกวาดล้างแก๊งค้ายาได้ต่อเนื่องเป็นผลงานรูปธรรม
จริงๆเป็นชัยชนะเหนือศัตรูในสมรภูมิต่างๆกรุงเทพฯบ้างต่างจังหวัดบ้าง
แทบทุกสนามรบฝ่ายตำรวจฝ่ายรัฐบาลสร้างความสูญเสียให้อีกฝ่ายย่อยยับ
ปัญหาคือทั้งหมดนั้นพูดไม่ได้ว่าชนะเด็ดขาด
วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม 2555 เวลา 00:00 น
http://www.dailynews.co.th/article/342/133783
THAILAND: Five police convicted of murder in landmark ruling
August 8, 2012
The Asian Human Rights Commission greets with cautious optimism the
landmark ruling of the Criminal Court in Bangkok to convict five police
officers for the murder of a teenager during the "war on drugs" in 2004,
and hopes that it will serve as a precedent of sorts for other cases of
police and state officials accused of similar crimes.
http://www.humanrights.asia/news/ahrc-news/AHRC-STM-157-2012#.UCSWN05ycpw.facebook
ปชป. กัดไม่ปล่อย ตั้งทีมรวมคดีฆ่าตัดตอน
ไทยรัฐออนไลน์
โดย ทีมข่าวการเมือง 14 สิงหาคม 2555, 21:15 น.
เฉลิมชัย ศรีอ่อน" เลขาฯ ปชป.กัดไม่ปล่อย ตั้งทีมรวมคดีฆ่าตัดตอน จี้
"ยิ่งลักษณ์" เร่ง ลงนามยอมรับ อำนาจศาลโลก ด้าน “นิพนธ์” เผยยอดตาย 2,873
ศพ สูงผิดปกติ 87%
วันที่ 14 ส.ค. ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายเฉลิมชัย
ศรีอ่อน เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมนายนิพนธ์ บุญญามณี รองเลขาฯ
ดูแลพื้นที่ภาคใต้ นายศุภชัย ศรีหล้า รองเลขาฯ ดูแลภาคอีสาน นายธีระชาติ
ปางวิรุฬรักษ์ ส.ส.ชุมพร และ นายนคร มาฉิม ส.ส.พิษณุโลก
ร่วมแถลงความคืบหน้าเกี่ยวกับการช่วยเหลือเหยื่อฆ่าตัดช่วงประกาศ
ทำสงครามตัดตอนยาเสพติด
โดยนายเฉลิมชัย กล่าวว่า
หลังการรับเรื่องร้องทุกข์ของญาติเหยื่อผู้เสียชีวิต ไป 1
สัปดาห์ก็มีการตั้งคณะทำงานเพื่อติดตามเรื่องนี้เพื่อทวงความเป็นธรรมให้กับ
ญาติผู้สูญเสีย โดยจะรับเรื่องร้องเรียนจากญาติผู้เสียหายที่คิดว่า
ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการปฏิบัติหน้าที่ และปฏิบติตามนโยบายของ
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในปี 2546 มีนายนิพนธ์ เป็นหัวหน้าคณะทำงาน นายศุภชัย
นายธีรชาติ นายนคร นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง และนายสาธิต
ปิตุเตชะ ส.ส.ระยอง
เป็นคณะทำงานรับเรื่องติดตามผลการดำเนินการในส่วนของพนักงานสอบสวน
ที่ยังมีความล่าช้า หากญาติผู้เสียหายที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมในช่วงปี
2546 - 47 ให้นำเรื่องและเอกสารหลักฐานมาร้องเรียนกับนายนิพนธ์ ที่พรรคได้
นาย
เฉลิมชัย กล่าวต่อว่า เหตุที่ทางพรรคไม่ดำเนินการเรื่องนี้
ในช่วงที่เป็นรัฐบาลเพราะไม่อยากให้ถูกโยงมาเป็นประเด็นการเมือง
อีกทั้งในช่วงเวลาดังกล่าว ยังไม่มีคำพิพากษาของศาล
ที่เวลานี้แสดงให้เห็นชัดเจนว่า คดีบางส่วนเป็นการฆาตกรรม ฆ่าตัดตอน
ในช่วงเวลานั้น และเห็นว่า การทำเรื่องนี้ในช่วงนี้
เพื่อเน้นการคืนความเป็นธรรมให้คนบริสุทธิ์ และไม่ช้าเกินไป
โดย
หลังจากที่พรรคเปิดรับเรื่องร้องเรียนก็มีผู้ได้รับความเสียหายร้องเรียน
เพิ่มเติมเข้ามา เช่นกรณีน้องฟลุคก็มีญาติติดต่อมาแล้ว
รวมถึงมีญาติผู้เสียหายพร้อมร่วมเป็นโจทก์หากคดีสามารถไปสู่ศาลโลกได้ด้วย
โดยต้องให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เร่งลงนามในสัตยาบัน
เพื่อยอมรับอำนาจของศาลอาญาระหว่างประเทศโดยเร็ว
และในส่วนนี้ก็มีการแจ้งเรื่องไปยังศาลอาญาระหว่างประเทศไว้แล้ว
โดยในขณะนี้นี้พรรคจะเริ่มต้นจากกระบวนการภายในประเทศไปก่อน แล้วและขอให้
สื่อฯ ช่วยลงข่าวให้ชาวบ้านที่ถูกละเมิดสิทธิ์ได้รับรู้ข่าวสารนี้
ขณะ
ที่นายนิพนธ์ กล่าวว่า ประเด็นความเสียหายจากนโยบายรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ
ในช่วงปี 2546 นับจากมีการประกาศสงครามยาเสพติดเดือน ก.พ.ถึงเดือน เม.ย.ปี
46 มีคดีฆาตกรรมเกิดขึ้นรวม 2,604 คดี มีคนตาย 2,873 ศพ
ถือว่ายอดคดีสูงขึ้นผิดปกติ คือ 87 % ของช่วงเวลาปกติของปีก่อน
โดยมีผู้ได้รับความเสียหายและยังไม่ได้รับการเยียวยาแต่อย่างใดทั้งสิ้น
"ซึ่ง
ผลพวงของความเสียหายนี้
จะต้องมีผู้รับผิดชอบเพื่อเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น
คณะทำงานจะใช้ผลการสอบสวนเดิมของ คตน. ที่มีนายคณิต ณ นคร
เป็นประธานและข้อเท็จจริงเพิ่มเติม ทั้งพยานเอกสาร และวัตถุเพิ่มเติม
โดยจะรีบทำให้มีข้อสรุปโดยเร็วที่สุด และจะชี้แจง ความคืบหน้าทุก 1
เดือนต่อสังคม" นายนิพนธ์ กล่าว
สัมมนาเชิงวิชาการเรื่อง "การให้สัตยาบรรณ ICC เพื่อการป้องกันการสังหารหมู่ประชาชน ณ.ห้อง โคล่า ม.ขอนแก่น 06-10-12
ช่วง 2 ดร.สุดสงวน ดร.ปิยะบุตร
VIDEO
สัมมนาเชิงวิชาการเรื่อง "การให้สัตยาบรรณ ICC เพื่อการป้องกันการสังหารหมู่ประชาชน ณ.ห้อง โคล่า ม.ขอนแก่น 06-10-12
ช่วงกล่าวปิดเสวนา ดร.สุนัย
ดร.สุนัยแจ้งแผนงานเชิญนายซง ซาง-ฮยุน ( Song Sang-Hyun) ประธานศาลอาญาระหว่างประเทศ
ร่วมงานเสวนาทางวิชาการ ซึ่งจะจัดขึ้นในประเทศไทย ในวันที่ 9 ธันวาคม 2555 (ถ้าไม่มีรัฐประหารก่อน)
โดยเพื่อเป็นการให้ความรู้กับประชาชนเกี่ยวกับประโยชน์ที่จะได้รับจากการเป็นสมาชิกของศาลอาญาระหว่างประเทศ
VIDEO
คณิต ณ นคร ” เปิดใจ เหตุผลที่ “ทักษิณ ชินวัตร ” ต้องวางมือ
http://www.rsunews.net/index.php/news/detail/3736
2012-09-21 10:17:10
สำนักข่าวอิศรา
/ 21 ก.ย. 2555 -ส่วน หนึ่ง “สารประธาน คอป. ” ที่นายคณิต ณ นคร ประธาน
คอป.เขียนเพื่อแจกจ่าย ระหว่างการแถลงข่าวเปิดเผยรายงาน คอป.ฉบับสมบูรณ์
เมื่อวันที่ 17 ก.ย.ที่ผ่านมา
บทสรุปและเสนอแนะ
(๓) ขณะนี้ได้มีตัวแทนของ นชป. ไปร้องต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ ( International
Criminal Court) ให้ดำเนินการกับเหตุการณ์การเสียชีวิตในความรุนแรงระหว่างเดือนเมษายนและ
พฤษภาคม ๒๕๕๓ แล้ว ซึ่งศาลอาญาระหว่างประเทศจะรับดำเนินการหรือไม่ก็ตาม แต่เรื่องที่
คตน. ตรวจสอบและลงความเห็นว่า น่าเชื่อว่าได้มี “ความผิดฐานอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ”
(Crime against Humanity) เกิดขึ้นจากนโยบายปราบปรามยาเสพติดให้โทษและการนำนโยบายไปปฏิบัติจนทำให้การ
สูญเสียชีวิตของประชาชนจำนวนมากในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นั้น
ข้าพเจ้าขอกล่าวว่า ตราบเท่าที่รัฐบาลไทยไม่ดำเนินการเกี่ยวกับการให้สัตยาบันต่อ “ธรรมนูญแห่งกรุงโรม ” (Rome Statute of International Criminal
Court) หากกระบวนการของศาลอาญาระหว่างประเทศเข้ามาดำเนินการเสียเองก็จะทำให้
ประเทศไทยต้องสูญเสียเกียรติภูมิ สิ่งนี้คือข้อพิสูจน์ที่จะจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ถึงความรักชาติของรัฐบาล
ปัจจุบันที่ถูกมองว่ามี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อยู่เบื้องหลังการสะสางเรื่องที่
คตน. ได้สรุปไว้ใน “รายงานการศึกษาเบื้องต้น ” จึงเป็นเรื่องหนึ่งที่จะต้องกระทำ
ไทยเป็นเจ้าภาพจัดประชุมอัยการโลก
http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9550000132040
29 ตุลาคม 2555 18:19
ไทยเป็นเจ้าภาพจัดประชุมสมาคมอัยการ
โลก โดยมีสมาชิกเข้าร่วมจากประเทศต่างๆ กว่า 600
คนเพื่อส่งเสริมกระบวนการดำเนินคดีอาญาให้มีประสิทธิภาพ
รวมถึงกระบวนการป้องกันหรือจัดการความผิดพลาดในหลักนิติธรรม
ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติให้มีประสิทธิภาพ
วันนี้ (29 ต.ค.) ที่โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์
นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด
เป็นประธานเปิดงานการประชุมสามัญประจำปี สมาคมอัยการระหว่างประเทศครั้งที่
17 ( The 17th Internationnal Association of Prosecutor Annual
Conference) อย่างเป็นทางการ ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ณ ห้องเวิล์ดบอลรูม
ชั้น 23 โรงแรมเซ็นทรา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ โดยมี มิสเตอร์ เจมส์
แฮมิลตัน ( Mr.James Hamilton) ประธานสมาคมอัยการระหว่างประเทศร่วมด้วย
โดยมีอัยการทั่วโลกเดินทางมาร่วมประชุมในครั้งนี้ ประมาณ 600 คน
และภายในงานยังจะมีพิธีมอบรางวัลอัยการประจำปีด้วย 5 รางวัล
ซึ่งการประชุมจัดขึ้นระหว่างวันที่ 28 ต.ค.- 2 พ.ย.นี้
เพื่อส่งเสริมกระบวนการดำเนินคดีอาญาให้มีประสิทธิภาพ เป็นกลาง
รวมถึงกระบวนการป้องกันหรือจัดการความผิดพลาดในหลักนิติธรรม
และเพื่อช่วยเหลืออย่างสากลให้กับพนักงานอัยการในการต่อสู้กับองค์กร
อาชญากรรมหรืออาชญากรรมร้ายแรงอื่นๆ ในมุมของการดำเนินคดีอย่างเหมาะสม
เป็นอิสระ รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
อีกทั้งยังเป็นการสร้างความร่วมมือและสัมพันธ์อันดีระหว่างพนักงานอัยการ
นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด กล่าวว่า
สมาคมอัยการระหว่างประเทศจัดตั้งขึ้นในปี 2538 ที่สำนักงานสหประชาชาติ
ประเทศออสเตรีย โดยการร่วมแรงร่วมใจกันของอัยการประเทศต่างๆ
เพื่อร่วมมือกันปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ
และการกระทำความผิดที่สลับซับซ้อนและมีข้อยุ่งยากในการปราบปรามและการดำเนิน
คดี รวมทั้งร่วมกันส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพ
คุณธรรมและจรรโลงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีของอัยการทั่วโลก
ซึ่งในการประชุมจัดตั้งสมาคมอัยการระหว่างประเทศนั้น
สำนักงานอัยการสูงสุดได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมและได้มีส่วนร่วมในการ
กระตุ้นให้เกิด การจัดตั้งสมาคมอัยการระหว่างประเทศขึ้น
และประเทศไทยได้รับเกียรติในฐานะประเทศผู้ร่วมจัดตั้งสมาคม
รวมทั้งอัยการสูงสุดได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารสมาคมติดต่อกัน
มาทุกสมัยจนถึงปัจจุบัน
นายจุลสิงห์
กล่าวต่อว่าประเทศไทยเคยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมในระดับ
ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 1 เมื่อปี 2546
ซึ่งสร้างความประทับใจให้กับผู้เข้าร่วมประชุม ด้วยเหตุนี้
ฝ่ายเลขาธิการสมาคมจึงได้ทาบทามสำนักงานอัยการสูงสุด
ขอให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสามัญประจำปี ครั้งที่ 17
ซึ่งประเทศไทย ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเป็นครั้งแรก
แสดงให้เห็นถึงความพร้อมของประเทศไทยในฐานะเป็น
ผู้มีบทบาทในการสนับสนุนการสร้างเครือข่ายร่วมกันระหว่างพนักงานอัยการเพื่อ
อำนวยความยุติธรรมระดับนานาชาติ โดยการประชุมจัดขึ้นระหว่างวันที่ 28
ตุลาคม - 2 พฤศจิกายนนี้ ที่บางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ กรุงเทพมหานคร
โดยมีอัยการสูงสุด อัยการระดับสูง รัฐมนตรียุติธรรม
จากประเทศสมาชิกของสมาคมอัยการระหว่างประเทศ
รวมทั้งอัยการในสังกัดสำนักงานอัยการสูงสุดของไทย
และผู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมทั้งในและต่างประเทศ
เข้าร่วมประชุมกว่า 600 คน ซึ่งหัวข้อหลักของการประชุมในครั้งนี้ คือ
อาชญากรรมข้ามชาติ : การขยายตัวไปในพื้นที่
ที่มีความหลากหลายของความผิดทางอาญาและบทบาทของอัยการ
"สิ่งที่ทุกฝ่ายคาดหวังให้เกิดขึ้นในการประชุมในครั้งนี้ คือ
ความร่วมมือในการประสานงานกันอย่างใกล้ชิดระหว่างสถาบันอัยการของไทยและนานา
ประเทศ
กระตุ้นและผลักดันกระบวนการยุติธรรมทั่วโลกให้ตระหนักถึงความยุติธรรมที่ถูก
ต้อง เหมาะสม
ได้มาตรฐานผ่านองค์กรอัยการเกิดการต่อยอดองค์ความรู้ร่วมกันระหว่างพนักงาน
อัยการ จากประเทศต่างๆ
โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับวิธีการกระทำความผิดต่างๆ
ขององค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ
การป้องกันและปราบปรามรวมทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างหน่วยงาน
และสำนักงานอัยการสูงสุดของประเทศไทยและหน่วยงานและสถาบันอัยการและสมาคม
อัยการของประเทศต่างๆ" นายจุลสิงห์ กล่าว
นายจุลสิงห์ กล่าวยังกล่าวต่ออีกว่า
ประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเป็นครั้งแรก
เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม
ข้ามชาติให้มีประสิทธิภาพ
เนื่องจากปัจจุบันปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น
มีรูปแบบการกระทำความผิดซับซ้อนและความยุ่งยากในการดำเนินคดี
การประชุมในครั้งนี้จึงเป็นการและเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้ทางกฎหมาย
โดยจะหารือเกี่ยวกับกฎหมายอาชญากรรมข้ามชาติ เช่น คดียาเสพติด การค้ามนุษย์
การลักพาแรงงานข้ามชาติ คดีฉ้อโกง และคดีฟอกเงิน
เนื่องจากปัญหาดังกล่าวไม่ได้เกิดที่ประเทศใดประเทศเดียว
แต่จะเกี่ยวโยงในหลายประเทศด้วย
อีกทั้งปัจจุบันเทคโนโลยีมีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น
จึงทำให้การติดตามจับกุมคนร้ายทำได้ยากขึ้น
เราจึงต้องพัฒนากฎหมายให้ก้าวหน้ามากกว่าอาชญากร
พร้อมทั้งอาศัยความร่วมมือกันในการหามาตรการต่อสู้
เพื่อให้เกิดมุมมองและกระบวนการยุติธรรมใหม่ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อความสงบสุขโดยรวมของประเทศ
นอกจากนี้ไทยได้ดำเนินการเกี่ยวกับกฎหมายองค์กรอาชญากรรม
ซึ่งกฎหมายดังกล่าวจะกำหนดฐานความผิดของผู้กระทำและผู้สนับสนุน
โดยกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาของสภา
ส่วนการติดตามพยานหลักฐานและการยึดทรัพย์จะอยู่ในกฎหมายความร่วมมือระหว่าง
ประเทศทางคดีอาญา
ซึ่งประเทศไทยมีกฎหมายฉบับนี้อยู่แล้วโดยอัยการสูงสุดเป็นผู้ประสานงานใน
เรื่องนี้
อย่างไรก็ตามหลังจากประชุมดังกล่าวจะมีการพิจารณาแก้ไขกฎหมายเพื่อให้พัฒนา
มากยิ่งขึ้น
เมื่อถามถึงเรื่องกรณีการไซฟ่อนเงินจะมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างไร
นายจุลสิงห์ กล่าวว่า
การไซฟ่อนเงินหมายถึงคนที่กระทำความผิดในฐานความผิดต่างๆ 8-9 ฐานความผิด
ซึ่งเงินที่ได้มาถ้าแปรรูปเป็นทรัพย์สินอย่างอื่นเราก็สามารถตามยึดทรัพย์
ได้ อย่างเช่นเงินจากการค้ายาเสพติด หากนำไปซื้อบ้าน ซื้อรถ
หรือแปรเป็นธุรกิจอื่นๆ
ซึ่งหากเป็นความผิดเกิดขึ้นในประเทศไทยกฎหมายก็สามารถดำเนินการได้ทันที
แต่หากเป็นความผิดเกิดขึ้นในต่างประเทศก็จะต้องอาศัยความร่วมมือกัน เช่น
ทางอัยการสงสัยว่า นาย ก. มีทรัพย์สินอยู่ที่ไหนบ้าง
ก็สามารถประสานงานกับอัยการต่างประเทศ เพื่อให้สืบหาทรัพย์สินทั้งหมดได้
หรือสืบหาว่านาย ก. ไปกระทำความผิดอะไรในต่างประเทศบ้าง
เมื่อถามว่า
กรณีการไซฟ่อนที่ประเทศฮ่องกงทางอัยการมีข้อมูลว่านักการเมืองไทยเกี่ยวข้อง
ด้วยหรือไม่ นายจุลสิงห์ กล่าวว่า ขณะนี้ยังตอบไม่ได้
แต่ปกติแล้วทุกประเทศมีการไซฟ่อนเงินทั้งนั้น โดยในเรื่องนี้สำนักงาน
ป.ป.ง. เป็นเจ้าของเรื่อง
ส่วนอัยการจะเป็นผู้ประสานดำเนินการให้อีกช่องทางหนึ่ง
ทั้งนี้ในการประชุมจะหารือในเรื่องหลักการทฤษฎีมากกว่า
Mr.james Hamilton ประธานสมาคมอัยการระหว่างประเทศ กล่าวว่า
การประชุมอัยการเป็นเรื่องที่ดีเพราะเป็นโอกาสในการเชื่อมความสัมพันธ์แลก
เปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับงานในหน้าที่ระหว่างกัน
อันจะนำมาเรื่องวัตถุประสงค์ร่วมกันของพนักงานอัยการทุกประเทศคือการปราบ
ปรามอาชญากรรมเพื่อให้ประชาชนอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขปลอดภัย
จะเห็นได้ว่าเราอยู่ในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับไว
รูปแบบของอาชญากรรมมีแนวโน้มซับซ้อนมากขึ้น
การกระทำความผิดมีลักษณะเป็นองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติมีธุรกรรมการเปลี่ยน
แปลงรวดเร็วอยู่เสมอเกินกว่าที่กระบวนการยุติธรรมจะสามารถรับมือได้อย่าง
ท่วงทีในทุกคดี การแผ่ขยายของอาชญากรรมข้ามชาติเป็นภัยอันตรายต่อประชาคมโลก
เช่นการคมนาคมที่สะดวกกลับส่งผลให้ให้ผู้ด้อยทางสังคมตกเป็นเหยื่อยาเสพติด
และกระบวนการค้ามนุษย์มากยิ่งขึ้น
ทั้งการลักลอบค้ายาเสพย์ติดนำเข้าแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย
ทั้งการค้าไม้และสัตว์ป่ารวมถึงการทำลายระบบการเงินโดยการฟอกเงิน
เราควรตะหนักว่าปัญหาไม่สามารถหมดไปในระยะเวลาสั้นๆ
และความร่วมมือทางอาญานั้นไม่สามารถเกิดขึ้นได้โดยอาศัยเครื่องมือทางกฎหมาย
เพียงอย่างเดียวแต่จะมีประสิทธิภาพได้นั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับบุคคลากรใน
กระบวนการยุติธรรมแต่ละประเทศที่ต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างจริงจัง
ในฐานะพนักงานอัยการควรตะหนักในหน้าที่ของเราคือ
ร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการจัดองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ
อัยการสูงสุดจัดประชุมอัยการโลก
http://www.dailynews.co.th/crime/163456
วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม 2555 เวลา 14:02 น.
มื่อวันที่ 28 ต.ค. นายวินัย ดำรงค์มงคลกุล โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด
เปิดเผยว่า ในวันที่ 29 ต.ค. เวลา 09.30 น.นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์
อัยการสูงสุด จะเป็นประธานเปิดงานการประชุมสามัญประจำปี
สมาคมอัยการระหว่างประเทศครั้งที่ 17 ( The 17 th Internationnal
Association of Prosecutor Annual Conference)อย่างเป็นทางการ
ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ณ ห้องเวิลด์บอลรูม ชั้น 23 โรงแรมเซ็นทรา แกรนด์
แอท เซ็นทรัลเวิลด์ โดยมี Mr.James Hamilton ซึ่งเป็น President of the
international Association of Prosecutor ร่วมด้วย
ขณะที่จะมีอัยการทั่วโลกเดินทางมาร่วมประชุมในครั้งนี้ ประมาณ 600 คน
และภายในงานยังจะมีพิธีมอบรางวัลอัยการประจำปีด้วย 5 รางวัล
เพื่อส่งเสริมกระบวนการดำเนินคดีอาญาให้มีประสิทธิภาพ เป็นกลาง
รวมถึงกระบวนการป้องกันหรือจัดการความผิดพลาดในหลักนิติธรรม
และเพื่อช่วยเหลืออย่างเป็นสากลให้กับพนักงานอัยการในการต่อสู้กับองค์กร
อาชญากรรมหรืออาชญากรรมร้ายแรงอื่น ๆ ในมุมของการดำเนินคดีอย่างเหมาะสม
เป็นอิสระ รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
อีกทั้งยังเป็นเป็นการสร้างความร่วมมือและสัมพันธ์อันดีระหว่างพนักงาน
อัยการ
อสส.เจ้าภาพจัดประชุมอัยการโลกครั้งที่ 17
http://www.ryt9.com/s/tpd/1518022
หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ -- จันทร์ที่ 29 ตุลาคม 2555 00:00:09 น.
กรุงเทพฯ * นายวินัย ดำรงค์มงคลกุล โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด
เปิดเผยว่า ในวันที่ 29 ต.ค. เวลา 09.30 น.นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์
อัยการสูงสุด จะเป็นประธานเปิดงานการประชุมสามัญประจำปี
สมาคมอัยการระหว่างประเทศ ครั้งที่ 17 อย่างเป็นทางการ
โดยประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ณ ห้องเวิลด์บอลรูม ชั้น 23
โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ มี Mr.James Hamilton
ประธานสมาคมอัยการระหว่างประเทศ เข้าร่วม
และอัยการทั่วโลกเดินทางมาร่วมประชุมในครั้งนี้ ประมาณ 600 คน
และภายในงานยังจะมีพิธีมอบรางวัลอัยการประจำปีด้วย 5 รางวัล.
ไทยเป็นเจ้าภาพจัดประชุมอัยการระหว่างประเทศ
http://www.mcot.net/site/content?id=508bdd2a0b01dafe2d000001#.UJLZCGeordg
27 ต.ค. 2555 | 171 views | View Comment
ชลบุรี 27 ต.ค.-
อัยการทั่วโลกร่วมประชุมวิชาการสมาคมอัยการระหว่างประเทศ ครั้งที่ 17 ที่
จ.ชลบุรี เพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการยุติธรรมสู่ระดับสากล
นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด พร้อมนายเจมส์ แฮมิลตัน (Mr.James
Hamilton) ประธานสมาคมอัยการระหว่างประเทศ
ร่วมเปิดการประชุมทางวิชาการของสมาคมอัยการระหว่างประเทศ ครั้งที่ 17 (The
17th IAP Annual Conference and General Meeting) วันนี้ (27 ต.ค.)
ที่โรงแรมรอยัล คลิฟ บีช รีสอร์ท พัทยา จ.ชลบุรี
โดยมีคณะอัยการทั้งไทยและอีกหลายประเทศเข้าร่วมกว่า 600 คน ภายใต้หัวข้อ
"อาชญากรรมข้ามชาติ :
การขยายตัวไปในพื้นที่ที่มีความหลากหลายของความผิดทางอาญาและบทบาทของ
อัยการ"
สำหรับการประชุมครั้งนี้ แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระหว่างวันที่ 27-28 ต.ค.
เป็นการประชุมคณะกรรมการผู้บริหาร Executive Committee (The Executive
Committee Meeting) ส่วนการประชุมสามัญประจำปีสมาคมอัยการระหว่างประเทศ
(IAP Annual Conference and General Meeting) จะมีขึ้นวันที่ 28 ต.ค.-1
พ.ย. ที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ
นายจุลสิงห์ กล่าวว่า ประเด็นการประชุมมี 4 วาระหลัก คือ
องค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ การค้ามนุษย์ ความผิดด้านสิ่งแวดล้อม
และอาชญากรรมคอมพิวเตอร์
เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างพนักงานอัยการในระดับบริหาร
กระบวนการดำเนินคดีอาญาให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ยุติธรรม และเป็นกลาง
รวมถึงการป้องกันหรือจัดการปัญหาความผิดพลาดในหลักนิติธรรม
เพื่อการช่วยเหลืออย่างเป็นสากล นอกจากนี้
ยังสนับสนุนการใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศให้มีข้อมูลข่าวสารอย่าง
เพียงพอ และคล่องตัวในการปราบปรามอาชญากรรมให้บรรลุผล. -สำนักข่าวไทย
http://www.thaigov.go.th/th/governmental/item/73058-%E0%B8%
AA%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%
AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%
AA%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D%
E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%
E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B7%
E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%
E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%97%
E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%
E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%
E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%
E0%B8%81%E0%B8%AF-%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0-%E0%B8%A3%
E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%
E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%
E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%A2%
E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%
E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B0%
E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%
E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8.html
นาง Fatou Bensouda อัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ (International
Criminal Court – ICC) เข้าเยี่ยมคารวะนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
เพื่อหารือความร่วมมือทั่วไประหว่างไทยกับ ICC
นาง Fatou Bensouda
อัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court – ICC)
เข้าเยี่ยมคารวะนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
เพื่อหารือความร่วมมือทั่วไประหว่างไทยกับ ICC
สรุปสาระสำคัญของการหารืออย่างเป็นทางการ ดังนี้
1. เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน 2555
นาง Fatou Bensouda อัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal
Court – ICC) ซึ่งเดินทางมากรุงเทพฯ
เพื่อเข้าร่วมประชุมสมาคมอัยการระหว่างประเทศ (International Association
of Prosecutors –IAP)
ได้เข้าเยี่ยมคารวะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
เพื่อหารือความร่วมมือทั่วไประหว่างไทยกับ ICC รวมถึงกรณีที่ก่อนหน้านี้
มีกลุ่มบุคคลบางฝ่ายจากไทยไปยื่นคำร้องต่อ ICC
ให้พิจารณาเกี่ยวกับเหตุการณ์ความรุนแรงในไทย
2. นาง Bensouda
ได้ให้ข้อมูลและความเห็นเกี่ยวกับการประกาศยอมรับเขตอำนาจ ICC ตามข้อ 12
วรรค 3 ของธรรมนูญกรุงโรมฯ
สำหรับประเทศที่ยังไม่ได้เป็นภาคีธรรมนูญกรุงโรมฯ ดังนี้
2.1
ICC มีเขตอำนาจพิจารณาการกระทำที่เป็นความผิดอาชญากรรมร้ายแรง 4 ประเภท
ได้แก่ (1) อาชญากรรมสงคราม (2) อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ (3)
อาชญากรรมอันเป็นการทำลายล้างเผ่าพันธุ์ และ (4)
อาชญากรรมอันเป็นการรุกราน
ทั้งนี้
สำหรับกรณีเหตุการณ์ความรุนแรงในไทยนั้น นาง Bensouda เห็นว่า
อาจจะพิจารณาว่าเข้าข่ายอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ แต่ทั้งนี้
ต้องพิจารณาว่ามีองค์ประกอบอาชญากรรมดังกล่าวหรือไม่ อาทิ
เป็นการกระทำอย่างกว้างขวาง หรืออย่างเป็นระบบ
2.2 ประเทศที่ประกาศยอมรับเขตอำนาจ ICC
เฉพาะกรณี สามารถระบุยอมรับเขตอำนาจ ICC โดยกำหนดกรอบ (scope)
ไว้ในคำประกาศได้ เช่น ช่วงเวลา เหตุการณ์ และพื้นที่ เป็นต้น
แต่จะต้องยึดหลักความเป็นกลางและไม่เลือกประติบัติ(objectivity) ทั้งนี้
หลักสำคัญในการพิจารณาของ ICC จะมุ่งดำเนินคดีกับผู้สั่งการโดยตรง (giving
direct order) และ/หรือผู้รับผิดชอบที่แท้จริง (bearing the ultimate
responsibility)
2.3 การประกาศยอมรับเขตอำนาจ ICC
เป็นขั้นตอนแรกที่เปิดโอกาสให้ ICC ได้เข้ามาทำการตรวจสอบในเบื้องต้น
(preliminary examination) ว่า ICC จะมีอำนาจพิจารณากรณีนั้นๆ หรือไม่
2.4 การประกาศยอมรับเขตอำนาจ ICC
ไม่ได้บ่งชี้ว่าประเทศที่ประกาศยอมรับนั้นไม่สามารถดำเนินกระบวนการยุติธรรม
ภายในของตนได้ โดย ICC มีบทบาทเพียงเสริม (complementarity)
ศาลภายในประเทศเท่านั้น กระบวนการยุติธรรมของ ICC
จะเข้ามาดำเนินการได้ก็ต่อเมื่อปรากฏว่ากระบวนการยุติธรรมภายในประเทศไม่
สามารถ (unable) ดำเนินการ หรือไม่สมัครใจ (unwilling) ที่จะดำเนินการ
หรือไม่ได้ดำเนินการอย่างแท้จริง (ingenuine)
2.5 ประเทศที่ประกาศยอมรับเขตอำนาจ ICC
จะต้องให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่กับ ICC อย่างไรก็ดี
หากประกาศยอมรับเขตอำนาจ ICC
โดยที่ประเทศนั้นยังไม่มีกฎหมายรองรับธรรมนูญกรุงโรมฯ
(กฎหมายที่ให้อำนาจแก่หน่วยงานด้านอาญาให้สามารถให้ความร่วมมือแก่ ICC)
ประเทศนั้นก็สามารถระบุในคำประกาศได้ว่า อาจยังไม่มีกฎหมายรองรับครบถ้วน
และหากมีความจำเป็น ก็จะดำเนินการให้มีกฎหมายรองรับต่อไป
นอก
จากนี้ หลังการประกาศยอมรับเขตอำนาจ ICC แล้ว ICC
จะดำเนินการตรวจสอบเบื้องต้น (preliminary examination)
โดยปกติจะใช้เวลาค่อนข้างนาน ก่อนที่ศาลฯ จะเริ่มการสืบสวนสอบสวน (open an
investigation)
ซึ่งถือว่าเข้าสู่ขั้นตอนที่ประเทศที่ประกาศยอมรับจะต้องให้ความร่วมมือกับ
สำนักงานอัยการ ICC ดังนั้น
ประเทศที่ประกาศยอมรับจะมีเวลามากพอสมควรที่จะเตรียมการแก้ไขกฎหมายรองรับ
ดังกล่าว
2.6
นาง Bensouda มีความเห็นว่า การจัดทำประกาศยอมรับเขตอำนาจ ICC ตามข้อ 12
วรรค 3 ของธรรมนูญกรุงโรมฯ มีขอบเขตจำกัด จึงไม่ใช่สนธิสัญญา
แต่เป็นการแสดงเจตนาของรัฐนั้นที่ทำให้อัยการ ICC
มีอำนาจวิเคราะห์กรณีที่เกิดขึ้น เหมือนเป็นการเปิดประตูให้แก่ ICC
และอัยการ ICC พิจารณาคดี ซึ่งจะจำกัดเฉพาะบางสถานการณ์เท่านั้น
ทั้งนี้ ประเทศที่ประกาศยอมรับเขตอำนาจ
ICC อาจถอนคำประกาศในภายหลังได้เพราะไม่ใช่สนธิสัญญา
แต่เป็นการประกาศฝ่ายเดียว (แต่ไม่ใช่การถอนคำประกาศระหว่างที่ ICC
กำลังพิจารณาคดีของประเทศนั้นๆ อยู่)
ที่ผ่านมายังไม่เคยมีประเทศใดที่ประกาศยอมรับเขตอำนาจ ICC
แล้วถอนคำประกาศภายหลัง
ในส่วนของไทยนั้น
การจะประกาศยอมรับเขตอำนาจ ICC หรือไม่ และการประกาศฯ จะมีขั้นตอนอย่างไร
เป็นเรื่องที่อยู่ในการพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและรัฐบาล
--------------------------------------
(ข้อมูลจากกระทรวงการต่างประเทศ)
หมอเหวง จี้ "สุรพงษ์" รับรองเขตอำนาจศาลโลกเฉพาะกรณี คดีสลายม็อบปี 53
1 พฤศจิกายน 2555 go6 TV - ที่รัฐสภา นพ.เหวง
โตจิราการ น.ส.จารุพรรณ กุลดิลก นพ.เชิดชัย ตันติศิริ ส.ส.บัญชีรายชื่อ
พรรคเพื่อไทย และแกนนำ นปช.หรือกลุ่มคนเสื้อแดง ร่วมกันแถลงเรียกร้องให้นายสุรพงษ์
โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ลงนามรับรองเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศเฉพาะเหตุการณ์เมษายน-พฤษภาคม
2553
นพ.เหวงกล่าวว่า จากการที่ได้มีโอกาสพูดคุยกัยนายเอเมอริค โรจิเออร์ หัวหน้าสำนักงานวิเคราะห์สถานการณ์ ศาลอาญาระหว่างประเทศ
ระหว่างที่เดินทางมาประเทศไทย
พบว่ามีความสนใจเหตุการณ์สลายการชุมนุมทางการเมืองเมื่อปี 2553 เนื่องมีลักษณะคล้ายการละเมิดในภาคพื้นแอฟริกาซึ่งเข้าข่ายธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ
ซึ่งในวันที่ 1 พฤศจิกายน ช่วงเย็น นายเอเมอริค และมาดามฟาทู เบนซูดา
อัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ จะเดินทางเข้าพบนายสุรพงษ์
"ขอเรียกร้องให้ไทยรับรองเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศเฉพาะเหตุการณ์เมษายน-พฤษภาคม
2553 เพื่อเปิดประตูให้มีการศึกษาเหตุการณ์ดังกล่าว
โดยในเบื้องต้นศาลอาญาระหว่างประเทศจะรวบรวมข้อมูล เอกสารหลักฐานที่ไม่ใช่ตัวบุคคล
จะใช้เวลาประมาณ 3 เดือน ถึง 1 ปี
หากพบมีมูลจะส่งเรื่องกลับมายังประเทศไทยเพื่อให้ทางการไทยใช้ดุลพินิจว่าจะให้ศึกษาเรื่องนี้ต่อไปหรือไม่"
เขียนโดย
Arm funnyleaf
ที่
15:50
http://www.go6tv.com/2012/11/53.html
ส.ส.เสื้อแดง จี้ "สุรพงษ์" รับรองอำนาจศาลโลก
http://breakingnews.nationchannel.com/home/read.php?newsid=656649&lang=T&cat=&key=
วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน 2555 เวลา 03:03 น.
ที่รัฐสภา ส.ส.แกนนำกลุ่มคนเสื้อแดงนำโดย นพ.เหวง โตจิราการ น.ส.จารุพรรณ
กุลดิลก นพ.เชิดชัย ตันติศิริ ส.ส.บัญชีรายชื่อ
พรรคเพื่อไทยร่วมกันแถลงเรียกร้องให้
รมว.ต่างประเทศรับรองเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศเฉพาะเหตุการณ์เม.ย.-พ.ค.
2553 โดย นพ.เหวง กล่าวว่า จากการที่ตนได้มีโอกาสพูดคุยกับนายเอเมอริค
โรจิเออร์ หัวหน้าสำนักงานวิเคราะห์สถานการณ์ ศาลอาญาระหว่างประเทศ
ระหว่างที่เดินทางมาประเทศไทย พบว่า
มีความสนใจเหตุการณ์สลายการชุมนุมทางการเมืองเมื่อปี 2553
เนื่องมีลักษณะคล้ายการละเมิดในภาคพื้นแอฟริกาซึ่งเข้าข่ายธรรมนูญกรุงโรม
ซึ่งในวันนี้ทางนายเอเมอริค โรจิเออร์ และมาดามฟาทู เบนซูดา
อัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ จะเดินทางเข้าพบนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล
รองนายกฯและ รมว.ต่างประเทศ ในเย็นวันนี้นั้น
จึงขอเรียกร้องให้ไทยรับรองเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศเฉพาะเหตุการณ์
เม.ย.-พ.ค. 2553 เพื่อเปิดประตูให้มีการศึกษาเหตุการณ์ดังกล่าว
โดยจะรวบรวมศึกษาข้อมูลเอกสารหลักฐานเบื้องต้นที่ไม่ใช่ตัวบุคคล
ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 3 เดือน ถึง 1 ปี
หากพบมีมูลจะส่งเรื่องกลับมาเมืองไทยเพื่อให้เราใช้ดุลยพินิจว่าจะให้ศึกษา
เรื่องนี้ต่อไปหรือไม่
นพ.เหวง กล่าวอีกว่า
จากการสอบถามนายนายเอเมอริค โรจิเออร์
พบว่าการรับรองเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศไม่ถือว่าเป็นสนธิสัญญา
ตามมาตรา 190
ของรัฐธรรมนูญที่ต้องให้รัฐสภาเห็นชอบและที่ผ่านมามีบางประเทศได้รับรอง
อำนาจศาลโดยให้รัฐมนตรีต่างประเทศลงนามคนเดียวก็เพียงพอแล้ว
ดังนั้นจึงขอเรียกร้องรมว.ต่างประเทศลงนามรับรองอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ
โดยประกาศด้วยวาจาไปก่อนแล้วค่อยทำเอกสารในภายหลัง
ซึ่งไม่ถือว่าเป็นการละเมิดอำนาจศาลไทย หรือแทรกแซงกิจการภายใน
อำนาจอธิปไตย
เนื่องจากประมวลกฎหมายอาญาของไทยกำหนดความผิดเฉพาะเหตุฆ่ากันแต่ไม่รวมถึง
คดีความผิดทำลายล้างมนุษยชาติ ซึ่งหากมีการรับรองอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ
จากนี้ไปจะไม่มีปัญหาเรื่องการใช้อาวุธสังหารประชาชนที่มาชุมนุมด้วยมือ
เปล่า และสิ้นสุดการรัฐประหาร
หากใครสั่งการสังหารประชาชนก็จะต้องขึ้นศาลโลก ดังนั้นอยากให้นายสุรพงษ์
ตัดสินใจไม่ต้องรีรอ
และจะทำให้ท่านกลายเป็นวีรบุรุษของประเทศไทยที่จะปิดฉากรัฐประหารโดยสิ้น
เชิง ส่วนการชุมนุมของพล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ ประธานองค์การพิทักษ์สยาม
ก็ขอให้ชุมนุมไปแต่ก็จะไม่มีการรัฐประหารอีก
"ศ.ดักลาสส์" ม.นอทเทอร์ดาม ขอให้ไทย "ลงนามประกาศรับรองเขตอำนาจศาลอาญาโลก"
1 ตุลาคม 2555 go6TV - กว่า 2 ปีที่คดีการสลายการชุมนุมเดือนเมษายน
– พฤษภาคม 2553
อยู่ในความสนใจของประชาชนทั่วไทยและทั่วโลก
ได้มีความพยายามที่จะนำคดีไปสู่ศาลอาญาระหว่างประเทศ
และในกระบวนการตระเตรียมยื่นคำร้องต่อศาลอาญาระหว่างประเทศดังกล่าวนั้น
สำนักงานกฎหมายอัมสเตอร์ดัมแอนด์พีรอฟฟ์ทำงานร่วมกับทีมงานขนาดใหญ่ในประเทศ
ไทยและทีมผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
รวมถึงศาสตราจารย์ทางด้านกฎหมายที่มี่ชื่อเสียงอย่าง ศาสตราจารย์ดักลาสส์
คาสเซิล
ศาสตราจารย์คาสเซิลปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์สิทธิพลเรือนและสิทธิมนุษยชนในมหาวิทยาลัยนอทเทอร์ดาม
และได้รับการเสนอชื่อให้เป็น “Norte Dame Presidential Fellow” ได้ทำงานร่วมกับนักกฎหมาย
โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ศาสตราจารย์คนูปส์ และทีมงาน
ตั้งแต่เเริ่มมีการเตรียมยื่นคำร้องต่อศาลอาญาระหว่างประเทศในนามของเหยื่อจากการสลายการชุมนุมในเดือนเมษายนและพฤษภาคม
ปี 2554
บทความทางวิชาการทั้งในภาษาอังกฤษและภาษาสเปนของศาสตราจารย์คาสถูกตีพิมพ์ในสหรัฐอเมริกา
ละตินอเมริกา และยุโรป
นอกจากนี้เขาได้รับเชิญไปแสดงปาฐกถาในมหาวิทยาลัยและงานประชุมสัมนาทั่วโลกหลายครั้ง รวมถึงมีส่วนร่วมในการยื่นเอกสาร ( amicus curiae briefs) ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของนักโทษในกัวตานาโม
และการรับผิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนภายใต้กฎหมาย Alien Tort Claims Act
(ATCA) ต่อศาลฎีกาในสหรัฐอเมริกาในนามของนักการทูตเอมริกันที่เกษียรแล้วและผู้เชี่ยวชาญชั้นนำทางด้านสิทธิมนุษยชน
นอกจากนี้เขายังเป็นทนายให้กับเหยื่อที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนในโคลัมเบีย
กัวเตมาลา เปรู และเวเนซูเอล่า
ในระหว่างการดำเนินคดีในศาลสิทธิมนุษยชนอเมริกันสากลและคณะกรรมการอเมริกันสากล
และดำรงตำแหน่งสำคัญในองค์กรสิทธิมนุษยชนและนักฎหมายระหว่างประเทศอีกหลายองค์กร
ศาสตราจารย์คาสเซิลกล่าวถึงการยื่นคำร้องศาลอาญาระหว่างประเทศ “ผู้สังเกตการณ์บางท่านมองว่าศาลอาญาระหว่างประเทศไม่มีอำนาจในไทย
เพราะประเทศไทยไม่ได้เป็นภาคีศาลอาญาระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตาม
ศาลอาญาระหว่างประเทศไม่มีขอบเขตอำนาจศาลที่แน่ชัด
ซึ่งเป็นไปได้ว่าศาสลอาญาระหว่างประเทศจะมีอำนาจพิจารณาคดีในประเทศที่เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น
แม้ประเทศนั้นจะไม่เป็นภาคีของศาลอาญาระหว่างประเทศก็ตาม ”
“เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ผมได้ทำงานร่วมศาสตราจาย์แคสเซิลในคดีประวัติศาสตร์นี้ ”
โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัมกล่าว “ประสบการณ์
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศของศาสตราจารย์คาสเซิลมีค่าอย่างมหาศาล
ในการช่วยเหลือเราในการบรรลุจุดประสงค์เพื่อหยุดระบบภูมิคุ้มกันการรับผิด
ของผู้นำในประเทศไทย
และเปิดเผยความจริงเกี่ยวกับการสังหารหมู่ในเดือนเมษายนและพฤษภาคม
โดยใช้วิธีทางกฎหมายระหว่างประเทศทุกวิธีที่มีอยู่
ความคาดหวังของเราอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง
และทุกคนควรเข้าใจว่าการต่อสู้ของเราเป็นการต่อสู้ที่ยากลำบากและยาวนาน
เราต้องพยายามทุกวิถีทางที่จะทำลายกระบวนคุกคามทางการเมืองที่เป็นระบบและ
ต่อเนื่องต่อการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดง ”
ล่าสุด ศาสตราจารย์แคสเซิล ได้เดินทางมายังประเทศไทย
มีโอกาสได้พูดคุยกับทีมงานโดยกล่าวว่า “ถ้าประเทศไทยเข้าร่วมยอมรับเขตอำนาจอาญาระหว่างประเทศ เฉพาะกรณี เมษา-พฤษภา 53
เพื่อเป็นการเปิดประตูให้เจ้าหน้าที่อัยการของศาลอาญาระหว่างประเทศ
ได้เดินทางเข้ามาสอบสวนหาความจริงเกี่ยวกับการสลายการชุมนุมดังกล่าว”
เขียนโดย
Go6 TV
ที่
21:37
http://www.go6tv.com/2012/11/blog-post_4637.html
"โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม" ตอบคำถามจาก "นิวยอร์ค" กรณีอัยการ ICC เข้าพบ รมต.ต่างประเทศ http://robertamsterdam.com/thailand/2012/11/01/understanding-the-icc-application-faq/
Understanding the ICC Application: FAQ
Thailand’s Minister of Foreign Affairs, Surapong
Tovichakchaikul is to meet with the chief prosecutor of the
International Criminal Court (ICC), Fatou Bensouda, today to discuss the
possibility of opening an investigation into the protests of April-May
2010.
Below are answers to frequently asked questions about the possibility of Thailand extending jurisdiction to the ICC.
Frequently Asked Questions:
Question: What is the ICC and why is the prosecutor in Thailand?
Answer: The ICC is located in The
Hague. The ICC is established by a treaty known as the Rome Statute of
the ICC. One hundred twenty-one countries have joined the treaty.
Thailand has signed, but not ratified the Rome Statute. Thailand is
therefore not a party to the treaty.
UDD lawyer Robert Amsterdam filed an application with the Prosecutor
of the ICC on January 30 2011, requesting a preliminary investigation
into the protests that occurred in Thailand between April-May 2010,
where 98 civilians were killed and thousands injured.
The application alleges that crimes against humanity were committed
against civilian protesters. Although the ICC has jurisdiction over
genocide, war crimes and crimes against humanity, only crimes against
humanity are alleged in the application relating to Thailand. There is
no basis to allege genocide or war crimes.
Question: Since Thailand is not a party to the ICC treaty, how could the ICC investigate alleged crimes against humanity in Thailand?
Answer: In this case, the ICC’s jurisdiction can be established in two ways:
First, the ICC can exercise its jurisdiction ratione personae over
Prime Minister Abhisit Vejjajiva, under Article 12. 2(b) of the Rome
Statute, as he is a citizen of the United Kingdom, which is a state
party to the ICC.
Second, Article 12.3 allows a State not party to the treaty, such as
Thailand, to accept ICC jurisdiction over a particular situation on an ad hoc basis,
by depositing a Declaration with the ICC. The Thai Government is
currently considering whether to make a Declaration accepting ICC
jurisdiction over the crimes against humanity allegedly committed in
2010.
Question: Would such a Declaration accuse anyone of committing a crime?
Answer: No. It would merely permit the ICC to
consider whether crimes against humanity were committed by any person or
by any party on or after January 1, 2010.
Question: Would such a Declaration turn over responsibility for investigating crimes against humanity to the ICC?
Answer: No. Thailand would continue to have primary
responsibility to investigate and, if appropriate, to prosecute any
crimes against humanity. The ICC could investigate or prosecute only if
Thai authorities are unable or unwilling to do so.
Question: Then why accept ICC jurisdiction over the alleged crimes against humanity?
Answer: The Declaration would enable the ICC
Prosecutor to open a Preliminary Examination. In such an Examination she
could engage in a process of dialogue with Thai authorities over the
progress of investigations and prosecutions in Thailand. If she
concludes that justice is not being done in Thailand, she could act.
Question: Could she then investigate and prosecute the alleged crimes against humanity?
Answer: She could open a full investigation only if two conditions are met.
First, she would have to notify Thailand of her intention to open a
full investigation. Thailand would then have one month to respond.
Thailand could choose to accept her investigation. Alternatively,
Thailand could object and assert the right of Thai authorities to
investigate the case instead. The ICC Prosecutor could not then open a
full investigation, unless she obtains permission from three ICC judges.
She would have to prove to them that the Thai investigation does not
genuinely pursue justice. Thailand would have an opportunity to be heard
before the three judges and to present its objection. If the judges
ruled in favor of the ICC Prosecutor, Thailand could appeal to a panel
of five ICC appeals judges.
Second, even if Thailand has no objection, the ICC Prosecutor could
not open a full investigation unless she first obtained approval from a
panel of three ICC judges. Without such approval, she could open only a
Preliminary Examination.
In sum, a Government Declaration under Article 12.3 would merely open
the door to a process of ongoing dialogue between Thailand and the ICC.
It would be only a beginning, not an end.
Question: What is a Preliminary Examination?
Answer: A Preliminary Examination
is a first step, designed to determine whether the ICC Prosecutor should
ask the ICC judges for permission to open a full investigation. In a
Preliminary Examination the ICC Prosecutor could consider the progress
of investigations and prosecutions in Thailand. She could also conduct a
limited inquiry into whether crimes against humanity were committed. A
Preliminary Examination would not interfere with criminal investigations
or prosecutions in Thailand. The Thai proceedings could go forward at
the same time.
Question: If the Thai Government makes a Declaration accepting ICC jurisdiction, will the Prosecutor open a Preliminary Examination?
Answer: That will be her decision. However, if
Thailand accepts ICC jurisdiction, we understand that she will open a
Preliminary Examination into the crimes against humanity allegedly
committed in 2010.
Question: What could the ICC Prosecutor do in a Preliminary Examination?
Answer: She could analyze information voluntarily
sent to her. She could also seek additional information, on a voluntary
basis, from the Thai Government or other governments, from the United
Nations, and from non-governmental or inter-governmental organizations.
In addition, she could receive testimony offered on a voluntary basis in
The Hague. Based on all this information, she could determine whether
there is a reasonable basis to open a full investigation.
Question: What could she not do in a Preliminary Examination?
Answer: In a Preliminary Examination, the ICC
Prosecutor could not require the Thai Government to make witnesses
available. Nor could she interview witnesses or conduct investigations
in Thailand. If she believes those further steps are needed, she would
have to notify Thailand and request permission from the ICC judges to
open a full investigation, in the manner described above.
Question: How long could a Preliminary Examination take?
Answer: There is no precise time limit. It could
take months. If the ICC Prosecutor decides to allow Thai criminal
proceedings to run their course, it could take years.
Question: Is it possible that the ICC Prosecutor might never seek to open a full investigation?
Answer: Yes. If justice is genuinely pursued in
Thailand, there will be no need for the ICC Prosecutor ever to open a
full investigation.
Question: If she eventually opens a full investigation,
and she concludes that someone committed a crime against humanity, can
she bring criminal charges against that person?
Answer: No, not on her own. She would first have to
obtain the approval of three ICC judges. Both the accused person and the
Thai Government would have an opportunity to be heard and to object to
any charges. If the three judges ruled against their objections, they
could appeal to five ICC appeals judges.
Question: If the ICC judges allow the Prosecutor to bring charges, could she order the arrest of the person?
Answer: No. Only the ICC judges can order the arrest of an accused person.
Question: If the ICC judges issue an arrest warrant, would Thailand be required to arrest and turn over the accused person to the ICC?
Answer: Yes, subject to judicial approval. By making
the Declaration accepting ICC jurisdiction over the alleged crimes
against humanity, Thailand would agree to cooperate with the ICC.
However, any arrested person would have the right to challenge the
legality of his arrest, first before Thai courts, and then again, if he
is transferred to The Hague, before the ICC judges.
Question: Would a trial before the ICC be fair?
Answer: Yes. ICC judges are independent experts in
criminal law and international law, elected by the governments of the
more than 120 States Parties to the ICC. An accused person is entitled
to be defended by a lawyer of his choice before the ICC and to have all
the fair trial rights recognized by international law. All accused
persons are presumed innocent. They cannot be convicted unless they are
proved guilty beyond a reasonable doubt. If convicted, the accused has
the right to appeal to a panel of five ICC appeals judges.
Question: Does the Thai Government require royal or
parliamentary approval in order to make a Declaration accepting ICC
jurisdiction over the alleged crimes against humanity in 2010?
Answer: No. Under Section 190 of the 2007 Thai
Constitution, royal approval is required for all treaties, and
parliamentary approval is required for certain treaties. However, a
Declaration by the Thai Government, accepting ICC jurisdiction on an ad hoc
basis under Article 12.3 of the Rome Statute, is not a treaty. By
definition, a treaty involves a bilateral or multilateral agreement
between Thailand and another party or parties. A treaty becomes legally
effective only after at least two parties agree to accept it as legally
binding.
In contrast, a Declaration under Article 12.3 is a unilateral act by
Thailand. The Declaration is legally effective as soon as Thailand
deposits it with the ICC. No agreement by the ICC is needed to make it
legally effective. The Declaration is not an agreement, but a sovereign
act by Thailand. Because it is not a treaty, it is not subject to
Section 190 of the 2007 Thai Constitution, and does not require royal or
parliamentary approval.
Question : Would a Declaration under Article 12.3 require any changes to Thai law?
Answer : Not at this stage, and perhaps never. The
Government can make an Article 12.3 Declaration with no new legislation.
If the ICC Prosecutor decides to open a Preliminary Examination, as we
believe she will, no new legislation would be required at that stage.
Only if a full ICC investigation is eventually opened – at least months
and possibly years from now – might amendments to current Thai law be
required.
Question: Could ICC jurisdiction pose any risk to the King?
Answer: No. There is absolutely no prospect of any ICC
proceeding against the King.
ดร จารุพรรณ กุลดิลก ความคืบหน้าคดี99ศพและศาลโลก
VIDEO
สุรพงษ์เผยผู้แทนศาลโลกเข้าพบค่ำนี้หลังเสื้อแดงยื่นเรื่องที่กรุงเฮก
http://breakingnews.nationchannel.com/home/read.php?newsid=656737
วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน 2555 เวลา 03:24 น.
นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.ต่างประเทศ
กล่าวถึงกรณีที่นายเอเมอริค โรจิเออร์ หัวหน้าสำนักงานวิเคราะห์สถานการณ์
ศาลอาญาระหว่างประเทศ(ไอซีซี) และนางฟาทู เบนซูดา อัยการของไอซีซี
จะเข้าพบกับนายสุรพงษ์ ในช่วงค่ำวันนี้(1 พ.ย.) ว่า คณะของไอซีซี
มาขอเข้าพบตน ที่กระทรวงการต่างประเทศ
เพื่อหารือถึงรายละเอียดและขั้นตอนเกี่ยวกับการรับรองเขตอำนาจของไอซีซี
ได้เฉพาะกรณี ตามข้อ 12 (3) โดยไม่จำเป็นต้องลงสัตยาบันเป็นสมาชิก
หลังจากที่กลุ่มคนเสื้อแดงไปยื่นเรื่องต่อไอซีซี ที่กรุงเฮก
ประเทศเนเธอร์แลนด์ เพื่อขอให้พิจารณาเรื่องการสลายการชุมนุมกลุ่มเสื้อแดง
98 ศพ จากเหตุการณ์เดือน เม.ย.-พ.ค.2553
ทั้งนี้หลังจากการหารือดังกล่าวแล้ว
ก็จะนำข้อมูลที่ได้ไปพิจารณาอีกครั้งว่าจะต้องดำเนินการอย่างไร
จะต้องหารือกับกระทรวงยุติธรรมและนายกรัฐมนตรีหรือไม่ อย่างไร
จึงยังไม่สามารถตอบได้ว่าจะรับรองเขตอำนาจของไอซีซีหรือไม่
นับถอยหลังไทยรับหรือไม่รับอำนาจ ICC
http://news.voicetv.co.th/thailand/55035.html
วันจันทร์นี้(5พ.ย.)
จะมีการแถลงข่าวของรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
เกี่ยวกับข้อสรุปเรื่องการรับหรือไม่รับ เขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ
ในกรณี
เหตุสลายการชุมนุมในเดือนเมษายน ถึง พฤษภาคม 2553 ซึ่งประเด็นนี้
ทำให้คนเสื้อแดง มีความหวังอีกครั้ง ในขณะเดียวกัน
ก็กลายเป็นประเด็นทางการเมือง
นี่
เป็นท่าทีล่าสุดของนายสุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรี และ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ตัวแทนประเทศไทย
ที่มีหน้าที่ในการลงนามประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ หรือ
ไอซีซี
หลัง
จากที่อัยการสูงสุดของไอซีซี เข้าพบเขา เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน
เพื่อขอให้ประเทศไทยยอมรับเขตอำนาจไอซีซี
เฉพาะกรณีสลายการชุมนุมในเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553
เนื่องจากไอซีซีได้รับเป็นคดี เลขที่ 297/10 แล้ว ซึ่งหากรับเขตอำนาจศาล
ไอซีซี ก็จะสามารถเข้ามาศึกษารายละเอียดของเหตุการณ์ได้
นายสุ
รพงษ์ ระบุว่า วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายนนี้ จะแถลงทุกประเด็นที่มีข้อสงสัย
เพราะก่อนหน้านี้ ได้ให้กรมสนธิสัญญา กระทรวงการต่างประเทศ
และกระทรวงยุติธรรม ศึกษารายละเอียด และผลกระทบต่อประเทศไทย
ก่อนตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเบื้องต้นนายสุรพงษ์ เห็นว่า
การประกาศรับรองเขตอำนาจศาล ไม่จำเป็นต้องผ่านสภาผู้แทนราษฎร ตามมาตรา 190
ในบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเป็นการประกาศฝ่ายเดียว
ไม่ใช่สนธิสัญญาแต่อย่างไร
แม้จะ
ยังไม่มีข้อสรุปใด ๆ ออกมา แต่พรรคประชาธิปัตย์
ก็มีท่าทีต่อเรื่องดังกล่าวแล้ว โดยนายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรค
เห็นว่า หากมีการลงนาม เท่ากับนายสุรพงษ์ จงใจใช้อำนาจของรัฐ
กลั่นแกล้งฝ่ายตรงกันข้าม เพราะคดีนี้
อยู่ระหว่างการไต่สวนของกระบวนการยุติธรรมไทย
และไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่ศาลอาญาระหว่างประเทศจะรับพิจารณา
และเห็นว่าคดีที่เข้าข่ายการพิจารณาของไอซีซี คือ คดีฆ่าตัดตอน เหตุการณ์
กรือเซะ ตากใบ ซึ่งเขา
จะรวบรวมรายชื่อญาติผู้ได้รับผลกระทบยื่นต่อนายสุรพงษ์
เพื่อให้รับอำนาจศาลในกรณีดังกล่าว
ก่อน
หน้านี้ ในช่วงปลายเดือนมิถุนายนนี้ กลุ่มคนเสื้อแดง ทั้งนางธิดา ถาวรเศรษฐ
นายแพทย์เหวง โตจิราการ นางพะเยาว์ อัคฮาด และศาสตราจารย์ธงชัย
วินิจจะกูล อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์
มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน ในสหรัฐฯ ได้เดินทางไปยังกรุงเฮก
ประเทศเนเธอร์แลนด์
เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับเหยื่อในเหตุการณ์ดังกล่าว
โดย
ศาสตราจารย์ ธงชัย ซึ่งเป็นอดีตผู้นำขบวนการนักศึกษาในเหตุการณ์เดือนตุลาคม
2519 ได้ระบุในจดหมายที่เขาเขียนถึงไอซีซี
ว่าแม้ประเทศไทยจะไม่โดดเด่นในสายตาประชาคมโลก และเหตุการณ์ดังกล่าว
มีผู้เสียชีวิตไม่มาก เหมือนการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
แต่การที่ไอซีซีรับพิจารณาคดีนี้ จะถือเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดวงจร
การให้อภัยผู้กระทำผิดซ้ำซาก เพราะในประวัติศาสตร์การเมืองไทย
ยังไม่เคยมีใครออกมาตรวจสอบ
หรือลงโทษผู้ที่อยู่เบื้องหลังเหตุสลายการชุมนุม
นับตั้งแต่เหตุการณ์เดือนตุลาคม 2516 จนถึงปัจจุบัน
และยังมีวัฒนธรรมการละเว้นโทษ จึงทำให้ผู้กระทำผิด
ไม่เกรงกลัวต่อการรับผิดในภายหลัง และเกิดการกระทำผิดซ้ำซาก
แม้
เรื่องดังกล่าว จะเป็นความหวังของกลุ่มคนเสื้อแดง ตลอดช่วง 2
ปีที่ผ่านมา แต่ในมุมมองของนักวิชาการกฎหมาย จากคณะนิติราษฎร์ อย่างอาจารย์
ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เขาระบุในบทความเรื่อง "
ประเทศไทยกับศาลอาญาระหว่างประเทศ " ว่า
หลักกฎหมายพื้นฐานของอนุสัญญากรุงโรม ระบุว่า สนธิสัญญานี้
จะไม่มีผลย้อนหลังในการดำเนินคดี ซึ่งเหตุสลายการชุมนุมทางการเมือง เมษา -
พฤษภา 53 เป็นเหตุการณ์ที่สิ้นสุดไป ก่อนที่ไทยจะเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา
ขณะ
ที่การทำคำประกาศ ยอมรับเขตอำนาจศาล เฉพาะฐานความผิดที่เป็นปัญหา
เหมือนในกรณีนี้ รัฐบาลไทยสามารถทำได้ แต่ก็ไม่มีผลทางกฎหมาย
ที่จะให้อัยการสืบสวนโดยทันที เพราะอำนาจการสอบสวน เป็นดุลพินิจของอัยการ
และจะต้องผ่านการกลั่นกรองจากองค์คณะตุลาการก่อน ทั้งนี้
ข้อสงสัยถึงเขตอำนาจศาล และการพิจารณาคดีย้อนหลัง นายสุรพงษ์
โตวิจักษ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ยืนยันว่าทุกคำถามจะมีคำตอบในวันที่ 5 พฤศจิกายนนี้
'ปิยบุตร' หนุนไทยทำ 2 แนวทางกรณี ICC
http://news.voicetv.co.th/thailand/55171.html
5 พฤศจิกายน 2555 เวลา 17:41 น.
นักวิชาการด้านนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ สนับสนุนให้ ก.ต่างประเทศ
จัดทำคำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ ในขณะเดียวกันรัฐบาล
ก็ควรให้สัตยาบันต่อธรรมนูญกรุงโรม
เพื่อป้องกันการทำร้ายประชาชนที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
เหลือเวลาอีกเพียง 2 วัน กระทรวงการต่างประเทศก็จะสรุปว่า
จะลงนามในประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ หรือ ไอซีซี
เพื่อให้เข้ามาติดตามข้อมูลเหตุการณ์สลายการชุมนุมกลุ่มคนเสื้อแดง
ระหว่างเดือนเมษายน ถึงพฤษภาคม 2553 หรือไม่
ซึ่งในกรณีนี้ นายปิยบุตร แสงกนกกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนักวิชาการคณะนิติราษฎร์ ให้ข้อมูลว่า
ประเทศไทยลงนามต่อธรรมนูญกรุงโรมไปแล้ว แต่ยังไม่ได้ให้สัตยาบัน
ซึ่งการลงนาม ไม่มีผลพูกพันใดๆ กับประเทศไทย
แต่การจัดทำคำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาล ตามข้อ 12 (3) ถือเป็นหนึ่งช่องทาง
ที่จะเปิดให้ศาลอาญาระหว่างประเทศ เข้ามาตรวจสอบกรณี
ที่รัฐบาลไทยกำหนดช่วงเวลาได้ เช่นกำหนดช่วงเวลาสลายการชุมนุม หรือ
ช่วงเวลาอื่นๆ แต่จะต้องไม่ย้อนหลังไปเกินวันที่ 1 กรกฎาคม 2545
ด้านนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรี
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ
ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจในการลงนามในคำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ
เปิดเผยว่า ต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา
เขาได้หารือกับตัวแทนศาลอาญาระหว่างประเทศ หรือ ไอซีซี ไปแล้ว
และโดยส่วนตัว เขามองว่า คดีฆ่าตัดตอน ในช่วงการปราบปรามปัญหายาเสพติดของ
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร สมัยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ไม่เข้าข่ายที่ไอซีซีจะรับคดีไว้พิจารณา
เนื่องจากไอซีซีจะรับเรื่องร้องเรียน 4 ประเภท ได้แก่ อาชญากรรมมนุษยชาติ
อาชญากรรมสงคราม รุกราน และฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ อย่างไรก็ตาม วันที่ 7
พฤศจิกายนนี้ กระทรวงการต่างประเทศ จะแถลงต่อสื่อมวลชนอีกครั้ง
ซึ่งในส่วนของไทย นายสุรพงษ์ ได้มอบให้กรมสนธิสัญญา กระทรวงการต่างประเทศ
และกระทรวงยุติธรรม ศึกษารายละเอียดและผลกระทบต่อประเทศไทยไว้แล้วเช่นกัน
รมว.ตปท.ยืนยัน ICC ไม่เข้าข่าย ม.190
http://news.voicetv.co.th/thailand/55322.html
7 พฤศจิกายน 2555 เวลา 11:22 น.
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ยืนยันการประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ ไม่เข้าข่าย มาตรา 190
พร้อมระบุอัยการของ ICC ระบุเหตุสลายชุมนุมเมื่อปี 2553
อาจเข้าข่ายอาญากรรมต่อมนุษยชาติ
นายสุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ได้ชี้แจงผลการหารืออย่างเป็นทางการระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่าง
ประเทศ และอัยการสูงสุดของศาลอาญาระหว่างประเทศ หรือ ICC
เกี่ยวกับการยอมรับเขตอำนาจของ ICC ในกรณีการสลายการชุมนุมกลุ่มคนเสื้อแดง
เมื่อปี 2553
โดยนายสุรพงษ์ กล่าวว่า ผลจากการหารือระหว่างตนและอัยการของ ICC
ได้ข้อสรุปออกมาว่า ICC อาจจะพิจารณาว่าเหตุสลายการชุมนุมกลุ่มคนเสื้อแดง
ว่าเข้าข่ายของอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ
โดยจะมุ่งดำเนินคดีกับผู้สั่งการโดยตรง แต่ขั้นตอนแรกที่สำคัญ
คือประเทศไทยจะต้องยอมรับเขตอำนาจของ ICC
เพื่อให้เข้ามาตรวจสอบข้อมูลในเบื้องต้น โดยไม่ใช่การเข้ามาทำแทนศาลภายใน
หากแต่เป็นการมาเสริมในส่วนที่ศาลในประเทศไม่สามารถให้ความป็นธรรมได้เท่า
นั้น
ทั้งนี้การตรวจสอบเบื้องต้น
อาจจะใช้เวลาค่อนข้างนานกว่าที่จะมีการไต่สวนได้ และการยอมรับเขตอำนาจศาล
ไม่ใช่การลงนามสนธิสัญญาตามมาตรา 190 ที่ต้องเข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภา
หากแต่เป็นการประกาศฝ่ายเดียว ซึ่งอาจถอนคำประกาศในภายหลังได้ ซึ่งในขณะนี้
รัฐบาลไทยกำลังพิจารณาว่าจะยอมรับเขตอำนาจของ ICC หรือไม่
วีรพัฒน์ ปริยวงศ์:
การแถลงยอมรับอำนาจ "ศาลอาญาระหว่างประเทศ"
วีรพัฒน์
ปริยวงศ์
7 พฤศจิกายน 2555
เรื่องการแถลงยอมรับอำนาจ "ศาลอาญาระหว่างประเทศ" นั้น
สมควรต้องทำความเข้าใจว่า การยอมรับอำนาจโดยหลักมี 2 แบบ
แบบที่ 1: คือ
การลงนามและให้สัตยาบัน ซึ่งย่อมเป็นการยอมรับอำนาจเป็นการทั่วไปสำหรับเหตุการณ์ในอนาคต
ซึ่งหลายประเทศทั่วโลกก็ทำเช่นนี้ และเกือบทุกประเทศก็ไม่ได้ทำไปเพื่อให้ศาลเข้ามายุ่งเรื่องราวในประเทศ
แต่ทำไปเพื่อสนับสนุนกลไกโดยรวมของศาล เช่น การร่วมมือกับศาลในการติดตามผู้กระทำความผิดที่หลบหนี้
ฯลฯ
ส่วนแบบที่ 2: คือ
แบบที่มีข่าวว่า รมต.ต่างประเทศของไทยกำลังพิจารณา คือการแถลงยอมรับอำนาจ
"ย้อนหลัง" ไปยังกรณีเหตุการณ์การสลายการชุมนุมเป็นการเฉพาะ ซึ่งในโลกนี้มีเพียงไม่กี่ประเทศที่เลือกใช้วิธีนี้
และมักเป็นประเทศที่ประสบปัญหารุนแรง
วิธีการแบบที่ 2 นี้มีนัยที่แตกต่างอย่างมากกับการยอมรับอำนาจแบบแรก
โดยเฉพาะนัยที่อาจถูกมองว่าระบบกระบวนการยุติธรรมภายในประเทศตนเองนั้นไม่ สามารถรับมือกับกรณีปัญหาดังกล่าวได้
ทั้งนี้ เพราะ 'ศาลอาญาระหว่างประเทศ ' ยึดหลักกฎหมายที่เรียกว่า Complementarity Principle ซึ่งหมายความว่า ‘ศาลอาญาระหว่างประเทศ ’
เป็นเพียง ‘ศาลลำดับรอง ’ ที่ถูกสร้างขึ้นมา ‘เสริม ’ การทำงานของศาลหลักในแต่ละประเทศ แต่ใม่ใช่การเข้าไป ‘ทดแทน ’ ‘ศาลภายในประเทศ ’ และหากประเทศใด แถลงยอมรับอำนาจ "ย้อนหลัง" ก็อาจถูกมองว่าตนต้องการ
เมื่อเป็นดังนี้ คำถามสำคัญจึงไม่ได้อยู่ที่ว่า 'ศาลอาญาระหว่างประเทศ ' มีประโยชน์ต่อประเทศไทยหรือไม่
(เพราะไทยไม่ได้กำลังจะให้สัตายาบันแบบแรก) แต่ต้องถามให้ถูกจุดว่า
ระบบกระบวนการยุติธรรมภายในประเทศไทยเองนั้น ยังทำงานตามปกติเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับเหตุการณ์การสลายการชุมนุมได้หรือ
ไม่
จะน่าเสียดายมาก หากสังคมไทยหลงเอา 2 ประเด็นนี้มาปะปนกัน
จนสุดท้ายเข้าใจด้วยเหตุที่ผิดไปด้วยว่า ไทยไม่ควรให้สัตยาบันเข้าเป็นภาคี
'ศาลอาญาระหว่างประเทศ ' ไปเสียด้วย
มอง"ศาลอาญาโลก"... อย่าลืมดู "ยุติธรรมไทย"
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNMU1qSTNNREV4Tnc9PQ==§ionid=
วันที่ 07 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 เวลา 13:34 น.
ข่าวสดออนไลน์
มอง"ศาลอาญาโลก"... อย่าลืมดู "ยุติธรรมไทย"
หมายเหตุ -
หลังจากมีความพยายามผลักดันให้ศาลอาญาระหว่างประเทศรับดำเนินคดีบางคดีที่เกิดขึ้นในไทย
ล่าสุดมีการพบปะระหว่างตัวแทนของศาลอาญาระหว่างประเทศกับกระทรวงการต่างประเทศของไทย
จนเกิดเป็นกระแสข่าวเรื่องการรับหรือไม่รับพิจารณาคดีความรุนแรงในเหตุการณ์การเมืองเมื่อปี
2553
ทั้งนี้ นายวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักกฎหมายอิสระ
ได้เสนอบทความแสดงความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าว "มติชน" เห็นว่าเป็นมุมมองที่น่าสนใจ
จึงนำมาเสนอความเคลื่อนไหวเรื่องการแถลงยอมรับเขตอำนาจ "ศาลอาญาระหว่างประเทศ"
(International Criminal Court หรือ ICC) นั้น อาจเป็นยาทาใจให้ผู้สนับสนุน
"พรรคเพื่อไทย" บางส่วนลืม "ความผิดหวัง" จากการปรับคณะรัฐมนตรี
ที่มาพร้อมกับข่าวการปฏิเสธไม่รับพิจารณาร่างกฎหมายแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
ไปชั่วขณะ แต่เพื่อมิให้ผู้ใดต้องช้ำใจซ้ำซาก
อาจมีบางประเด็นที่ควรแก่การขยายความให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ดังนี้ @
"ศาลอาญาระหว่างประเทศ"
รับคดีสลายการชุมนุมไว้พิจารณาแล้วหรือไม่? ผู้เขียนย้ำว่า ณ ปัจจุบัน
"ศาลอาญาระหว่างประเทศ"
ยังไม่มีอำนาจพิจารณาไต่สวนกรณีเหตุการณ์ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ
โดยขั้นตอนการทำงานภายใน "ศาลอาญาระหว่างประเทศ" นั้น มีการแยกส่วน "ตุลาการ" และ
"อัยการ" ออกจากกัน การดำเนินการในเวลานี้ คือการที่ "อัยการ" ได้กำหนด
"หมายเลขแฟ้ม" ของเรื่องร้องเรียน (OTP-297/10) ซึ่งไม่ใช่ "หมายเลขคดี"
ตามที่สื่อมวลชนไทยบางรายนำเสนอ และไม่ใช่ "การรับคดีไว้พิจารณา"
ดังที่นักการเมืองบางรายได้กล่าวไปแต่อย่างใด ทั้งนี้
หากประเทศไทยจะได้แถลงยอมรับเขตอำนาจ "ศาลอาญาระหว่างประเทศ"
ผลที่จะตามมาในเบื้องต้น คือ การเปิดทางให้ "อัยการ"
ตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสลายการชุมนุมเดือน เมษายน-พฤษภาคม 2553
ก่อนจะ "เปิดการไต่สวนคดี" อย่างเป็นทางการ ซึ่งในที่สุด "ศาล"
ก็อาจมีเหตุไม่รับพิจารณาพิพากษาคดี ก็เป็นได้ @ ก่อนไป
"ศาลอาญาระหว่างประเทศ" ต้องถาม "ศาลรัฐธรรมนูญ" หรือไม่
? ประเด็นการแถลงยอมรับเขตอำนาจ "ศาลอาญาระหว่างประเทศ" นั้น
ทำให้เกิดคำถามว่า การแถลงดังกล่าวจะเข้าลักษณะ "หนังสือสัญญา"
ที่ต้องขอความเห็นชอบจากรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 หรือไม่?
ศาลรัฐธรรมนูญไทยชุดปัจจุบัน รวมทั้งศาลรัฐธรรมนูญไทยในอดีต
เคยวางหลักตีความคำว่า "หนังสือสัญญา" ว่าหมายถึง "ความตกลง"
ที่มีลักษณะตรงกับคําว่า "treaty" ตามอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา
ค.ศ.1969 (คำวินิจฉัยที่ 6-7/2551 และคำวินิจฉัยที่ 11/2542 และ ที่
33/2543) ดังนั้น เมื่อศาลรัฐธรรมนูญไทยได้อาศัยคําว่า "treaty" หรือ
"สนธิสัญญา" ตามอนุสัญญากรุงเวียนนาฯ มาอธิบายความหมายของคำว่า "หนังสือสัญญา"
จึงย่อมเป็นการยาก หากศาลจะตีความว่า รัฐสภาไทยต้องให้ความเห็นชอบต่อ
"การแถลงฝ่ายเดียว" กล่าวคือ ในเมื่อ "ธรรมนูญศาลอาญาระหว่างประเทศ"
(เป็นที่มาของการแถลงยอมรับอำนาจศาล) นั้นเป็น "สนธิสัญญา" โดยชัดอยู่แล้ว
ประเทศไทยก็ย่อมไม่อาจประกาศคำแถลงให้กลายเป็น "สนธิสัญญา" ซ้อน "สนธิสัญญา" ได้
ข้อถกเถียงประเด็นนี้สมควรย้อนกลับไปถึงบรรดาผู้ร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา 190
ฉบับปัจจุบัน
ไม่แน่ว่าจะมีความคิดด้านกฎหมายระหว่างประเทศที่รัดกุมและแตกฉานมากน้อยเพียงใด
เพราะผู้ร่างเหล่านี้ได้ "ขยาย"
ประเภทของหนังสือสัญญาที่ต้องขอความเห็นชอบของรัฐสภาให้กินความกว้างและกำกวมมากขึ้น
(เช่น การใช้คำว่า "อย่างกว้างขวาง" และ "มีนัยสำคัญ")
แต่ก็กลับมีความลักลั่นที่จะไม่กล่าวถึงการกระทำในทางกฎหมายระหว่างประเทศลักษณะอื่นที่ก่อให้เกิดผลผูกพันทางกฎหมาย
เช่น การแถลงรับอำนาจศาลในกรณีนี้ เป็นต้น
(ผู้เขียนเคยตั้งข้อสังเกตเรื่องนี้ไว้แล้วที่
http://bit.ly/Treaty190) อย่างไรก็ตาม แม้การตีความ "ตามตัวบท"
อาจสรุปได้ว่ากรณีดังกล่าวไม่เข้าลักษณะ "หนังสือสัญญา" ตามมาตรา 190 แต่การตีความ
"ตามเจตนารมณ์" อาจทำให้คณะรัฐมนตรีต้องยั้งคิดพิจารณาให้ดีว่า
การแถลงยอมรับอำนาจดังกล่าว จะมีผลกระทบ "อย่างกว้างขวาง" และ "มีนัยสำคัญ"
ต่อกระบวนการยุติธรรมไทย
และอาจจำเป็นต้องมีการปรับแก้กฎหมายที่เกี่ยวข้องหรือไม่? หากยกตัวอย่างให้เห็นภาพ
มาตรา 190 บัญญัติว่า หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขต
ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา
แต่หากวันหนึ่งประเทศไทยมีข้อพิพาทเรื่องเขตแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน
และรัฐบาลไทยจะแถลงยอมรับอำนาจ "ศาลโลก" โดยทำคำแถลงฝ่ายเดียวให้ "ศาลโลก"
วินิจฉัยข้อพิพาทเขตแดนได้ หากสุดท้าย "ศาลโลก"
ตัดสินคดีเขตแดนในทางที่เป็นคุณต่อประเทศเพื่อนบ้าน ก็อาจจะกระทบต่ออาณาเขตไทยได้
หากเป็นเช่นนี้ คณะรัฐมนตรีจะทำการแถลงยอมรับอำนาจโดยไม่ปรึกษาหารือกับรัฐสภาเลย
เพียงเพราะการแถลงดังกล่าวไม่ใช่ "หนังสือสัญญา"
กระนั้นหรือ? ยิ่งไปกว่านั้น เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า "ศาลรัฐธรรมนูญ"
ไทยชุดปัจจุบันได้ขยายอำนาจการตีความของตนให้ไปไกลกว่าเพียง "ตัวบท" รัฐธรรมนูญ
กล่าวคือ ศาลรัฐธรรมนูญพร้อมที่จะอ้างการตีความ "ตามเจตนารมณ์"
ที่แม้จะขัดแย้งกับตัวบท แต่ก็ปลุกเสกให้เกิด "ผลทางการเมือง"
ตามที่ใจศาลปรารถนาได้ เช่น แม้ตัวบทรัฐธรรมนูญจะให้อำนาจ "รัฐสภา" แก้ไขรัฐธรรมนูญ
แต่ศาลก็อาศัยการตีความ "ตามเจตนารมณ์" มายับยั้ง "รัฐสภา" ได้ จึงคงไม่น่าแปลกใจ
หาก "คณะรัฐมนตรี" จะได้เผชิญกับเหตุการณ์ทำนองเดียวกัน ทั้งนี้
อย่างน้อยที่สุด คณะรัฐมนตรีอาจพิจารณาว่า
กรณีการแถลงยอมรับอำนาจศาลดังกล่าว
จะเข้ากรณีตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 179 หรือไม่ ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญ มาตรา 179
บัญญัติว่า
"ในกรณีที่มีปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินที่คณะรัฐมนตรีเห็น
สมควรจะฟังความคิดเห็นของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา
นายกรัฐมนตรีจะแจ้งไปยังประธานรัฐสภาขอให้มีการเปิดอภิปรายทั่วไปในที่
ประชุมร่วมกันของรัฐสภาก็ได้
ในกรณีเช่นว่านี้รัฐสภาจะลงมติในปัญหาที่อภิปรายมิได้" @
"ศาลอาญาระหว่างประเทศ"
รับพิจารณาคดีประเภทใดได้บ้าง? แม้สุดท้ายจะมีการแถลงยอมรับอำนาจให้
"ศาลอาญาระหว่างประเทศ"
สามารถใช้เขตอำนาจทั้งทางด้านเวลาและเนื้อหาเพื่อพิจารณาการกระทำความผิดในประเทศไทย
แต่สังคมไทยพึงระลึกว่า "ศาลอาญาระหว่างประเทศ"
มีอำนาจพิจารณาเฉพาะความผิดอาญาระหว่างประเทศที่ร้ายแรงบางประเภทเท่านั้น ณ
เวลานี้มีความผิด 3 ฐาน ที่มีผลบังคับ คือ (1) ความผิดฐานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
ลักษณะเบื้องต้นคือต้องมุ่งไปที่กลุ่มเชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา เช่น
กรณีล้างพันธุ์ชาวยิว แต่หากการสลายการชุมนุมเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553
ไม่มีลักษณะเพ่งเล็งไปที่กลุ่มเชื้อชาติ สัญชาติ หรือศาสนา ของผู้ชุมนุม
ก็ย่อมไม่เข้ากรณีดังกล่าว (2) ความผิดฐานอาชญากรรมสงคราม
นอกจากกรณีในสงครามระหว่างประเทศ เช่น กรณีการทรมานเชลยศึกต่างชาติ
การโจมตีโรงพยาบาลในยามสงคราม ยังอาจเป็นการปะทะกันทางอาวุธในประเทศได้ด้วย
แต่ต้องเป็นการรบกันด้วยอาวุธที่ยืดเยื้อต่อเนื่อง
มีการจัดตั้งเป็นขบวนการติดอาวุธต่อสู้กับรัฐบาล
แต่หากการสลายการชุมนุมเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 ไม่เข้าลักษณะดังกล่าว
โดยเป็นเพียงความไม่สงบภายในประเทศ (internal disturbance)
ก็อาจไม่เข้ากรณีดังกล่าว (3) ความผิดฐานอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ
ลักษณะเบื้องต้นคือต้องเป็นการโจมตีประชาชนอย่างเป็นระบบและกว้างขวาง (systematic
and wide-spread) และเกี่ยวโยงกับนโยบายของรัฐหรือขบวนการ เช่น
กรณีบังคับให้สตรีทุกคนถูกทหารข่มขืน หรือบังคับให้ทำหมัน
หากการสลายการชุมนุมเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553
เป็นการใช้ความรุนแรงเกินกว่าเหตุในเหตุการณ์เฉพาะหน้า
ก็อาจไม่เข้ากรณีดังกล่าวเช่นกัน ฉันใดก็ฉันนั้น
หากการสลายการชุมนุมเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 ไม่เข้าลักษณะฐานความผิดทั้ง 3
กรณีที่กล่าวมา การจะอ้างถึงความรุนแรงจากการปราบปรามยาเสพติดในสมัยรัฐบาลทักษิณ
ก็คงจะเป็นการอ้างที่ทำได้ยากยิ่ง @ มอง "ศาลอาญาระหว่างประเทศ"
ลืมมองกระบวนการยุติธรรมไทยหรือไม่? สมมุติว่า แม้สุดท้ายจะมีเหตุให้
"ศาลอาญาระหว่างประเทศ" พิจารณาได้ว่า ศาลมีเขตอำนาจ (jurisdiction)
ตามฐานความผิดที่กล่าวมา แต่สุดท้าย "ศาลอาญาระหว่างประเทศ"
ก็อาจอ้างเหตุไม่รับพิจารณาคดี (inadmissibility)
ได้เช่นกัน เหตุไม่รับพิจารณาคดี (inadmissibility) มีหลักสำคัญคือ หลัก
Complementarity กล่าวคือ "ศาลอาญาระหว่างประเทศ" เป็นเพียง "ศาลลำดับรอง"
ที่ถูกสร้างขึ้นมา "เสริม" การทำงานของศาลหลักในแต่ละประเทศ แต่ใม่ใช่การเข้าไป
"ทดแทน" "ศาลภายในประเทศ" หลักดังกล่าวมีฐานความคิดที่ว่า "ความผิด"
ที่เกิดขึ้นในประเทศต่างๆ ไม่ว่าจะหนักเบา ตั้งแต่ลักขโมย ไปถึงก่อวินาศกรรม
ย่อมเป็นเรื่องที่ "ศาลภายในประเทศ" ของรัฐอธิปไตยที่จะดูแลรับผิดชอบ
จะลงโทษหนักเบาอย่างไร ก็เป็นไปตามกฎหมายของแต่ละประเทศ แต่มี "ความผิด"
บางอย่างที่โหดเหี้ยมร้ายแรงมาก ความผิดเหล่านี้
มักกระทำโดยผู้ที่มีอำนาจและไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย และเมื่อกระทำไปแล้ว
"ศาลภายในประเทศ" ก็อาจนิ่งเฉย หรือเอาผิดไม่ได้ จนผู้กระทำผิดที่มีอำนาจดังกล่าว
"ลอยนวล" ช่องว่างในการลอยนวลนี้ คือ ที่มาของแนวคิด
"ศาลอาญาระหว่างประเทศ" ดังนั้น หากกระบวนการยุติธรรมไทยยังทำงานได้ตามปกติ
และมีความคืบหน้าตามลำดับขั้น เช่น "คดีพัน คำกอง" แล้วไซร้ "ศาลอาญาระหว่างประเทศ"
ก็จะไม่เข้ามาก้าวล่วงพิจารณาคดีซ้ำซ้อนกัน แม้คดีดังกล่าวอาจจะอยู่ในเขตอำนาจของ
"ศาลอาญาระหว่างประเทศ" ก็ตาม แต่หากเมื่อใดที่ "ศาลอาญาระหว่างประเทศ"
เห็นว่า คดีที่อยู่ในเขตอำนาจดังกล่าว ถูกละเลยเพิกเฉย จนผู้กระทำผิดลอยนวล
"ศาลอาญาระหว่างประเทศ" ก็อาจรับพิจารณาคดีดังกล่าวได้ ดังนั้น
ในยามใดที่ทั้งประชาชน ตลอดจนนักการเมืองทั้งฝ่ายค้าน และฝ่ายรัฐบาล
ต่างมีท่าทีจะหันไปพึ่งพา "ศาลอาญาระหว่างประเทศ"
อาจเป็นยามที่กระบวนการยุติธรรมไทยต้องดูตัวเอง เพราะหากประเทศชาติใดกระบวนการยุติธรรมมีประสิทธิภาพและพึ่งพาได้จริง
ก็คงไม่มีเหตุใดให้ประเทศนั้นต้องถกเถียงเรียกร้องให้ "ศาลอาญาระหว่างประเทศ"
เข้ามามีบทบาทดังที่เป็นอยู่ในขณะนี้
(ที่มา: หน้า2 มติชนรายวัน 5 พ.ย. 2555)
แดงฮาร์ดคอร์ตะเพิด 'ธิดา' ซัดหมดภาวะผู้นำ
http://m.thairath.co.th/content/pol/303835
แดงฮาร์ดคอร์ตะเพิด "ธิดา" หมดภาวะผู้นำตุ๋นเสื้อแดง
อ้างไอซีซีลุยสอบสลายชุมนุมแล้ว บีบ รบ.รับเขตอำนาจศาลโลก ชู "ตู่"
เสียบแทน จี้ ปธ.สภาฯ สอบด่วน... เมื่อวันที่ 5 พ.ย.
ที่ห้องโถงอาคารรัฐสภา 1 พ.ต.ต.เสงี่ยม สำราญรัตน์
แกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)
ยื่นหนังสือถึงประธานสภาผู้แทนราษฎร ผ่านนายเจริญ จรรย์โกมล
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร
ขอให้ตรวจสอบและศึกษากรณีการสลายการชุมนุมช่วงเดือน เม.ย.-พ.ค.2553
จนมีผู้เสียชีวิต 91
ศพโดยจนถึงขณะนี้ยังไม่ปรากฏว่าศาลไทยได้ไต่สวนการเสียชีวิตและชันสูตรพลิก
ศพเลย โดยขั้นตอนที่ถูกต้องทางไทยจะต้องมีการสอบสวน
ตรวจสอบให้เรียบร้อยก่อน แต่นางธิดา โตจิราการ ประธานกลุ่ม นปช. และ
นพ.เหวง โตจิราการ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย แกนนำ นปช.
กลับอ้างว่าได้ไปยื่นเรื่องต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ (ไอซีซี)
ให้ทำการสอบสวน กรณีดังกล่าวได้เลย
ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องผิดฝาผิดตัวและการไปร้องต่อรีจิสตร้า (Registra)
ของศาลอาญาระหว่างประเทศ ในฐานะผู้ดูแลผู้ต้องขังทั่วโลกนั้น
เป็นไปไม่ได้เพราะไม่ใช่ผู้มีอำนาจที่จะรับเรื่องราวร้องทุกข์ตามสนธิสัญญา
กรุงโรม ค.ศ.1998
ผู้ที่จะรับเรื่องราวร้องทุกข์ได้คือประธานหรืออัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ
เท่านั้น พ.ต.ต.เสงี่ยม กล่าวด้วยว่า นางธิดา นพ.เหวง ไม่รู้จริง
และกำลังโกหกต้มตุ๋นคนเสื้อแดงให้เข้าใจผิดว่าศาลอาญาระหว่างประเทศได้รับ
เรื่องไว้แล้วพร้อมกันนี้อยากให้ยุติการบีบบังคับฝ่ายบริหารให้รับรองเขต
อำนาจไอซีซีโดยอ้างว่าเพื่อให้ไอซีซีรับพิจารณาเรื่องนี้ต่อไปซึ่งถ้าฝ่าย
บริหารรับรองจริงก็จะเป็นการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญมาตรา 190
ที่รัฐสภาจะต้องให้ความเห็นชอบก่อน
จึงเป็นเรื่องที่ยอมไม่ได้อยากให้ทางสภาฯช่วยทำความจริงให้ปรากฏ
เข้าใจว่ากำลังหาทางลงให้กับ นปช. แต่ต้องให้ทำถูกขั้นตอน
พวกตนก็กำลังหาทางดำเนินการเอาผิดนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกฯ เช่นกัน
แต่ภาวะผู้นำ นปช.ปัจจุบันกลับทำเรื่องที่ไม่สมควรพูดไป
นางธิดาก็ไม่ยอมฟัง เสื้อแดงไม่ได้แตกแยก จึงคิดว่าควรเปลี่ยนประธาน
นปช.เป็นนายจตุพร พรหมพันธุ์ แทนได้แล้ว.
โดย: ทีมข่าวการเมือง
5 พฤศจิกายน 2555, 14:43 น.
"จารุพรรณ" ยืนยัน ลงนามยอมรับเขตอำนาจศาลโลกไม่เสียอธิปไตย
http://www.go6tv.com/2012/11/blog-post_3691.html
5 พฤศจิกายน 2555 go6TV - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผศ.ดร.จารุพรรณ กุลดิลก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์ผ่าน http://www.youtube.com/watch?v=csQ-ause_7A&sns=tw
ถึงเกี่ยวกับกระแสข่าวศาลอาญาระหว่างประเทศในขณะนี้ว่า "ขณะนี้
มีบางสื่อออกมาวิพากษ์วิจารณ์ศาลอาญาระหว่างประเทศที่เข้ามาสืบสวนคดี
โดยมีบุคคลบางกลุ่มออกมาบอกว่า
ศาลอาญาระหว่างประเทศกระทบกับอธิปไตยของไทยนั้น
ดิฉันขอยืนยันว่าไม่เป็นความจริง เพราะ ในข้อกฏหมายของธรรมนูญกรุงโรม
การสอบสวนในเบื้องต้นเป็นการทำงานเชิงวิชาการเท่านั้นและเป็นการเข้ามารวบ
รวมข้อเท็จจริงในทางข้อมูล ซึ่งประเทศไทยไม่ต้องแก้กฏหมายใดๆทั้งสิ้น
รวมทั้งเป็นการประกาศฝ่ายเดียวจากประเทศไทย ซึ่งจะไม่เข้ามาตรา 190
ว่าจะเป็นสนธิสัญญาที่จะต้องผ่านสภา"
"ดิฉันยืนยันว่า เมื่อไม่มีการแก้ไขกฏหมายใดๆของประเทศไทย จึงถือว่าไม่กระทบกับอธิปไตยใดๆของประเทศ" ผศ.ดร.จารุพรรณ กุลดิลก กล่าว
VIDEO
http://m.thairath.co.th/content/pol/303835
แดงฮาร์ดคอร์ตะเพิด "ธิดา" หมดภาวะผู้นำตุ๋นเสื้อแดง
อ้างไอซีซีลุยสอบสลายชุมนุมแล้ว บีบ รบ.รับเขตอำนาจศาลโลก ชู "ตู่"
เสียบแทน จี้ ปธ.สภาฯ สอบด่วน... เมื่อวันที่ 5 พ.ย.
ที่ห้องโถงอาคารรัฐสภา 1 พ.ต.ต.เสงี่ยม สำราญรัตน์
แกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)
ยื่นหนังสือถึงประธานสภาผู้แทนราษฎร ผ่านนายเจริญ จรรย์โกมล
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร
ขอให้ตรวจสอบและศึกษากรณีการสลายการชุมนุมช่วงเดือน เม.ย.-พ.ค.2553
จนมีผู้เสียชีวิต 91
ศพโดยจนถึงขณะนี้ยังไม่ปรากฏว่าศาลไทยได้ไต่สวนการเสียชีวิตและชันสูตรพลิก
ศพเลย โดยขั้นตอนที่ถูกต้องทางไทยจะต้องมีการสอบสวน
ตรวจสอบให้เรียบร้อยก่อน แต่นางธิดา โตจิราการ ประธานกลุ่ม นปช. และ
นพ.เหวง โตจิราการ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย แกนนำ นปช.
กลับอ้างว่าได้ไปยื่นเรื่องต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ (ไอซีซี)
ให้ทำการสอบสวน กรณีดังกล่าวได้เลย
ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องผิดฝาผิดตัวและการไปร้องต่อรีจิสตร้า (Registra)
ของศาลอาญาระหว่างประเทศ ในฐานะผู้ดูแลผู้ต้องขังทั่วโลกนั้น
เป็นไปไม่ได้เพราะไม่ใช่ผู้มีอำนาจที่จะรับเรื่องราวร้องทุกข์ตามสนธิสัญญา
กรุงโรม ค.ศ.1998
ผู้ที่จะรับเรื่องราวร้องทุกข์ได้คือประธานหรืออัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ
เท่านั้น พ.ต.ต.เสงี่ยม กล่าวด้วยว่า นางธิดา นพ.เหวง ไม่รู้จริง
และกำลังโกหกต้มตุ๋นคนเสื้อแดงให้เข้าใจผิดว่าศาลอาญาระหว่างประเทศได้รับ
เรื่องไว้แล้วพร้อมกันนี้อยากให้ยุติการบีบบังคับฝ่ายบริหารให้รับรองเขต
อำนาจไอซีซีโดยอ้างว่าเพื่อให้ไอซีซีรับพิจารณาเรื่องนี้ต่อไปซึ่งถ้าฝ่าย
บริหารรับรองจริงก็จะเป็นการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญมาตรา 190
ที่รัฐสภาจะต้องให้ความเห็นชอบก่อน
จึงเป็นเรื่องที่ยอมไม่ได้อยากให้ทางสภาฯช่วยทำความจริงให้ปรากฏ
เข้าใจว่ากำลังหาทางลงให้กับ นปช. แต่ต้องให้ทำถูกขั้นตอน
พวกตนก็กำลังหาทางดำเนินการเอาผิดนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกฯ เช่นกัน
แต่ภาวะผู้นำ นปช.ปัจจุบันกลับทำเรื่องที่ไม่สมควรพูดไป
นางธิดาก็ไม่ยอมฟัง เสื้อแดงไม่ได้แตกแยก จึงคิดว่าควรเปลี่ยนประธาน
นปช.เป็นนายจตุพร พรหมพันธุ์ แทนได้แล้ว.
โดย: ทีมข่าวการเมือง
5 พฤศจิกายน 2555, 14:43 น.
แกนนำนปช.ชุมพรชี้"ธิดา"ขาดภาวะผู้นำ แนะเปลี่ยน"จตุพร"นั่งนายใหญ่แทน
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1352103613&grpid=00&catid=00
วันที่ 05 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 เวลา 16:31:02 น
เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน ที่ห้องโถงรัฐสภา พ.ต.ต.เสงี่ยม
สำราญรัตน์ ในฐานะแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ
(นปช.) จ.ชุมพร ยื่นหนังสือต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ผ่านนายเจริญ จรรย์โกมล
รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1
เพื่อขอให้ตรวจสอบและศึกษากรณีการสลายการชุมนุมช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม
2553 จนมีผู้เสียชีวิต 98 ศพ
แต่ถึงปัจจุบันยังไม่ปรากฏว่าศาลไทยได้ไต่สวนการเสียชีวิตและชันสูตรพลิกศพ
เลย และขั้นตอนที่ถูกต้องทางไทยจะต้องมีการสอบสวน ตรวจสอบให้เรียบร้อยก่อน
แต่นางธิดา ถาวรเศรษฐ ประธานกลุ่ม นปช. และ นพ.เหวง โตจิราการ
ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย แกนนำ นปช.
กลับอ้างว่าได้ไปยื่นเรื่องต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ (ไอซีซี)
ให้ทำการสอบสวนกรณีดังกล่าวได้เลย ถือว่าเป็นเรื่องผิดฝาผิดตัว
และการไปร้องต่อ รีจิสตรา (Registra) ของศาลอาญาระหว่างประเทศ
ในฐานะผู้ดูแลผู้ต้องขังทั่วโลกนั้น เป็นไปไม่ได้
เพราะไม่ใช่ผู้มีอำนาจที่จะรับเรื่องราวร้องทุกข์ ตามสนธิสัญญากรุงโรม
ค.ศ.1998 โดยผู้ที่จะรับเรื่องราวร้องทุกข์ได้คือ
ประธานหรืออัยการศาลอาญาระหว่างประเทศเท่านั้น
พ.ต.ต.เสงี่ยมกล่าวว่า นางธิดาและ นพ.เหวง ไม่รู้จริงทำให้เข้าใจผิดว่า
ศาลอาญาระหว่างประเทศได้รับเรื่องไว้แล้ว
พร้อมกันนั้นอยากให้ยุติการบีบบังคับฝ่ายบริหารของประเทศให้รับรองเขตอำนาจ
ศาลอาญาระหว่างประเทศ โดยอ้างว่าเพื่อให้ไอซีซีรับพิจารณาเรื่องนี้ต่อไป
ถ้าฝ่ายบริหารรับรองจริงก็จะเป็นการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญตามมาตรา 190
รัฐสภาจะต้องให้ความเห็นชอบก่อน จึงเป็นเรื่องที่ยอมไม่ได้
อยากให้ทางสภาผู้แทนราษฎรช่วยทำความจริงให้ปรากฏ
“เข้าใจว่ากำลังหาทางลงให้กับ นปช. แต่ก็ต้องให้ทำถูกขั้นตอน
พวกผมกำลังหาทางดำเนินการเอาผิดนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี
สมัยที่มีการสั่งสลายการชุมนุมเช่นกัน
แต่การกระทำของนางธิดาแสดงถึงการขาดภาวะผู้นำ
เมื่อค้านอะไรไปนางธิดาก็ไม่ยอมฟัง ยืนยันว่าเสื้อแดงไม่ได้แตกแยก
แต่คิดว่าควรเปลี่ยนประธาน นปช.เป็นนายจตุพร พรหมพันธุ์ แทน”
VIDEO
"เสงี่ยม"ยื่นสอบ"ธิดา" - "เหวง"อ้าง ICC รับคดีม็อบ 53
ล่อกันเอง!
"เสงี่ยม"ยื่นสอบ"ธิดา" - "เหวง" ชี้ไม่มีอำนาจ สร้างเรื่องหลอกแดงอ้าง ICC
รับคดีม็อบ53 แล้ว ตะเพิดพ้นประธานนปช. เปลี่ยนจตุพรนั่งแทน
พันตำตรวจเสงี่ยม สำราญรัตน์ แกนนำเสื้อแดงชุมพร
ยื่นหนังสือประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้ตรวจสอบนางธิดา ถาวรเศรษฐ
ประธานกลุ่มนปช.และ นพ.เหวง โตจิราการ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย
ที่อ้างว่าได้ยื่นเรื่องศาลอาญาระหว่างประเทศ (ไอซีซี)สอบสวนคดีม็อบ53แล้ว
ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องผิดฝาผิดตัว
ไม่ใช่ผู้มีอำนาจที่จะรับเรื่องราวร้องทุกข์ ตามสนธิสัญญากรุงโรม ค.ศ.1998
ผู้ที่จะรับเรื่องราวร้องทุกข์ได้ คือ
ประธานหรืออัยการศาลอาญาระหว่างประเทศเท่านั้น
พ.ต.ต.เสงี่ยม กล่าวต่อว่า นางธิดา และนพ.เหวง
ไม่รู้จริงและกำลังโกหกและต้มตุ๋นคนเสื้อแดงให้เข้าใจผิดว่า
ศาลอาญาระหว่างประเทศได้รับเรื่องไว้แล้ว
พร้อมกันนี้อยากให้ยุติการบีบบังคับฝ่ายบริหารของประเทศให้รับรองเขตอำนาจไอ
ซีซี โดยอ้างว่าเพื่อให้ไอซีซีรับพิจารณาเรื่องนี้ต่อไป
ซึ่งถ้าฝ่ายบริหารรับรองจริงก็จะเป็นการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญตามมาตรา 190
ซึ่งรัฐสภาจะต้องให้ความเห็นชอบก่อน จึงเป็นเรื่องที่ยอมไม่ได้
อยากให้ทางสภาฯช่วยทำความจริงให้ปรากฎ
“เข้าใจว่ากำลังหาทางลงให้กับ นปช.
แต่ก็ต้องให้ทำถูกขั้นตอน พวกผมก็กำลังหาทางดำเนินการเอาผิด นายอภิสิทธิ์
เวชชาชีวะ อดีตนายกฯ สมัยที่มีการสั่งสลายการชุมนุมเช่นกัน
แต่การกระทำของภาวะผู้นำนปช.ปัจจุบันกลับกระทำเรื่องที่ไม่สมควร พูดไป
นางธิดา ก็ไม่ยอมฟัง เสื้อแดงไม่ได้แตกแยก
จึงคิดว่าควรเปลี่ยนประธานนปช.เป็น นายจตุพร พรหมพันธุ์ แทนได้แล้ว”
พ.ต.ต.เสงี่ยม กล่าว
วัน-เวลา 2012-11-05 19:55:10
http://www.tnews.co.th/html/news/44605/
%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%
A2%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%
AA%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%
B8%B2---%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%AD%
E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87-ICC-%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%
E0%B8%84%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A1%E0%B9%87%E0%B8%AD%E0%B8%
9A-53.html#.UJ1U1mcvndg
‘เหวง’ซัด‘แดงชุมพร’ งัดหนังสือโชว์-ยันยื่นเรื่องสลายม็อบถึงICC ชี้‘ธิดา’ไม่ยึดติดเก้าอี้ปธ.นปช.
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNMU1qRTRNVGd5TkE9PQ==&subcatid=
วันที่ 06 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 เวลา 14:00 น.
ข่าวสดออนไลน์
‘เหวง’ซัด‘แดงชุมพร’ งัดหนังสือโชว์-ยันยื่นเรื่องสลายม็อบถึงICC ชี้‘ธิดา’ไม่ยึดติดเก้าอี้ปธ.นปช.
เมื่อวันที่ 6 พ.ย. ที่รัฐสภา นพ.เหวง โตจิราการ ส.ส.บัญชีรายชื่อ
พรรคเพื่อไทย และแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ
(นปช.) แถลงข่าวตอบโต้ พ.ต.ต.เสงี่ยม สำราญรัตน์ แกนนำนปช. จ.ชุมพร
ที่ออกมาระบุว่า ตนและนางธิดา โตจิราการ ประธานนปช.
ต้นตุ๋นคนเสื้อแดงที่อ้างว่าศาลอาญาระหว่างประเทศ (ไอซีซี)
ได้มีการรับเรื่องการสั่งสลายการชุมนุมปี 2553 จนเป็นเหตุให้มีคนเสียชีวิต
98 ศพ เข้าสู้การพิจารณาแล้วว่า ไม่ทราบว่าใครเสี้ยมสอนให้พ.ต.ต.เสงี่ยมพูด
และดูเหมือนว่าคนที่เขียนบทให้จะดูไม่เข้าใจและไม่มีความรู้เลย
อย่างไรก็ตาม ต้องบอกว่า รีจิสตร้า
ไม่ได้มีหน้าที่ในการดูแลผู้ต้องขังทั่วโลก
แต่รีจิสต้ามีหน้าที่ในการตรวจรับคำร้องเรียนที่ยื่นยังไอซีซี
และทำการตรวจสอบเบื้องต้นว่าเป็นเรื่องที่มีสาระมีมูลและหลักฐานพอที่จะรับ
ไว้พิจารณาหรือไม่ หากไม่มีก็จะปัดตกไป
แต่ถ้ามีน้ำหนักก็จะออกหมายเลขรับไว้
นพ.เหวง กล่าวต่อว่า
ขอยืนยันว่าได้ไปดำเนินการยื่นหนังสือต่อไอซีซีตั้งแต่ช่วง ส.ค. 53 แล้ว
เสนอเอกสารไปตั้งแต่เดือน ต.ค. 53
โดยในขณะที่ไปยื่นนั้นก็ได้มีการพูดคุยกับนายเอเมอริค โรเจียร์
หัวหน้าสำนักงานวิเคราะห์เหตุการณ์ของไอซีซีด้วย
หลังจากนั้นทางไอซีซีก็ได้รับเรื่องโดยได้ระบุหมายเลขรับที่ OTP-297/10
และเหตุผลที่เขารับเรื่อง เพราะนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ถือสัญชาติอังกฤษที่เป็นประเทศภาคีของธรรมนูญกรุงโรมตามมาตรา 12 วรรค 2
นพ.เหวง กล่าวเพิ่มเติมว่า
ส่วนเรื่องที่บอกว่าศาลไทยต้องไต่สวนการเสียชีวิตและชันสูตรพลิกศพก่อนจึงจะ
ไปยื่นเรื่องให้ไอซีซีได้นั้น ก็ผิดโดยสิ้นเชิง
ขออธิบายว่าหากคดีที่ยื่นเข้าองค์ประกอบข้อใดข้อหนึ่งดังนี้ก็สามารถยื่นได้
ทันที คือ 1.เป็นอาชญากรรมอันเป็นการทำลายล้างเผ่าพันธุ์
2.อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ 3.อาชญากรรมสงคราม และ4.อาชญากรรมอันเป็นการรุกราน
ซึ่งกรณีของไทย คือ เหตุการณ์สังหารประชาชนเมื่อเมษายน-พฤษภาคม 53
เข้าองค์ประกอบของอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ตามมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญกรุงโรม
นพ.เหวง กล่าวต่อว่า การยอมรับเขตอำนาจศาลจะต้องผ่านรัฐธรรมนูญมาตรา
190 เสียก่อน เป็นเรื่องที่ไม่จริง
เพราะการยอมรับเขตอำนาจศาลเป็นการแสดงเจตนาแต่เพียงฝ่ายเดียว
จึงไม่ใช่สนธิสัญญาที่ต้องเป็นการตกลงระหว่างสองฝ่ายและมีการลงนามเจรจา
อย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตาม
การประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลไม่ถือเป็นการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมไทย
เพราะถ้าหากมีการยอมรับจริงทางไอซีซีก็จะเข้ามารวบรวมหลักฐานและเอกสารใน
ประเทศไทยที่เคยตรวจสอบและศึกษาไว้แล้ว
เมื่อถามว่า ในประเด็นที่ต้องการให้เปลี่ยนตัวประธานนปช.เป็นนายจตุพร
พรหมพันธุ์ แทนนั้น นพ.เหวง กล่าวว่า นางธิดา เป็นคนไม่ยึดติดตำแหน่ง
เห็นได้จากวันที่นายจตุพร ไม่มีตำแหน่งใดในรัฐบาล นางธิดา
ได้ถามนายจตุพรว่าจะมาเป็นประธานนปช.หรือไม่
แต่หากต้องการให้มีการเปลี่ยนตัวจริง ขอให้เป็นไปตามกระบวนการภายในของกลุ่ม
ไม่ใช่เรียกร้องผ่านสื่อมวลชนเพียงอย่างเดียว
VIDEO
วีรพัฒน์ ปริยวงศ์: มอง
"ศาลอาญาโลก"... อย่าลืมดู "ยุติธรรมไทย"
หลังจากมีความพยายามผลักดันให้ศาลอาญาระหว่างประเทศรับดำเนินคดีบางคดีที่ เกิดขึ้นในไทย ล่าสุดมีการพบปะระหว่างตัวแทนของศาลอาญาระหว่างประเทศกับกระทรวงการต่าง ประเทศของไทย จนเกิดเป็นกระแสข่าวเรื่องการรับหรือไม่รับพิจารณาคดีความรุนแรงในเหตุการณ์ การเมืองเมื่อปี 2553
ทั้งนี้ นายวีรพัฒน์ ปริยวงศ์
นักกฎหมายอิสระ ได้เสนอบทความแสดงความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าว
"มติชน" เห็นว่าเป็นมุมมองที่น่าสนใจ จึงนำมาเสนอ
ความเคลื่อนไหวเรื่องการแถลงยอมรับเขตอำนาจ
"ศาลอาญาระหว่างประเทศ" ( International Criminal Court หรือ ICC) นั้น อาจเป็นยาทาใจให้
ผู้สนับสนุน "พรรคเพื่อไทย"
บางส่วนลืม "ความผิดหวัง" จากการปรับคณะรัฐมนตรี ที่มาพร้อมกับข่าวการปฏิเสธไม่รับพิจารณาร่างกฎหมายแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ไปชั่วขณะ
แต่เพื่อมิให้ผู้ใดต้องช้ำใจซ้ำซาก
อาจมีบางประเด็นที่ควรแก่การขยายความให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ดังนี้
" ศาลอาญาระหว่างประเทศ"
รับคดีสลายการชุมนุมไว้พิจารณาแล้วหรือไม่ ?
ผู้เขียนย้ำว่า ณ ปัจจุบัน
"ศาลอาญาระหว่างประเทศ" ยังไม่มีอำนาจพิจารณาไต่สวนกรณีเหตุการณ์ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ โดยขั้นตอนการทำงานภายใน
"ศาลอาญาระหว่างประเทศ" นั้น มีการแยกส่วน "ตุลาการ" และ "อัยการ"
ออกจากกัน
การดำเนินการในเวลานี้ คือการที่
"อัยการ" ได้กำหนด "หมายเลขแฟ้ม" ของเรื่องร้องเรียน ( OTP-297/10)
ซึ่งไม่ใช่ "หมายเลขคดี" ตามที่สื่อมวลชนไทยบางรายนำเสนอ
และไม่ใช่ "การรับคดีไว้พิจารณา" ดังที่นักการเมืองบางรายได้กล่าวไปแต่อย่างใด
ทั้งนี้
หากประเทศไทยจะได้แถลงยอมรับเขตอำนาจ "ศาลอาญาระหว่างประเทศ" ผลที่จะตามมาในเบื้องต้น
คือ การเปิดทางให้ "อัยการ" ตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสลายการชุมนุมเดือน
เมษายน-พฤษภาคม 2553 ก่อนจะ
"เปิดการไต่สวนคดี" อย่างเป็นทางการ ซึ่งในที่สุด "ศาล" ก็อาจมีเหตุไม่รับพิจารณาพิพากษาคดี
ก็เป็นได้
ก่อนไป
"ศาลอาญาระหว่างประเทศ" ต้องถาม "ศาลรัฐธรรมนูญ" หรือไม่ ?
ประเด็น การแถลงยอมรับเขตอำนาจ
"ศาลอาญาระหว่างประเทศ" นั้น ทำให้เกิดคำถามว่า
การแถลงดังกล่าวจะเข้าลักษณะ "หนังสือสัญญา" ที่ต้องขอความเห็นชอบจากรัฐสภา
ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 หรือไม่ ?
ศาลรัฐธรรมนูญไทยชุดปัจจุบัน
รวมทั้งศาลรัฐธรรมนูญไทยในอดีต เคยวางหลักตีความคำว่า
"หนังสือสัญญา" ว่าหมายถึง "ความตกลง" ที่มีลักษณะตรงกับคําว่า " treaty"
ตามอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา
ค.ศ. 1969 (คำวินิจฉัยที่
6-7/2551 และคำวินิจฉัยที่ 11/2542
และ ที่ 33/2543)
ดังนั้น
เมื่อศาลรัฐธรรมนูญไทยได้อาศัยคําว่า " treaty" หรือ "สนธิสัญญา"
ตามอนุสัญญากรุง
เวียนนาฯ มาอธิบายความหมายของคำว่า
"หนังสือสัญญา" จึงย่อมเป็นการยาก หากศาลจะตีความว่า
รัฐสภาไทยต้องให้ความเห็นชอบต่อ "การแถลงฝ่ายเดียว" กล่าวคือ ในเมื่อ
"ธรรมนูญศาลอาญาระหว่างประเทศ" (เป็นที่มาของการแถลงยอมรับอำนาจศาล) นั้นเป็น
"สนธิสัญญา" โดยชัดอยู่แล้ว ประเทศไทยก็ย่อมไม่อาจประกาศคำแถลงให้กลายเป็น
"สนธิสัญญา" ซ้อน "สนธิสัญญา"
ได้
ข้อถกเถียงประเด็นนี้สมควรย้อนกลับไปถึงบรรดาผู้
ร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ฉบับปัจจุบัน ไม่แน่ว่าจะมีความคิดด้านกฎหมายระหว่างประเทศที่รัดกุมและแตกฉานมากน้อย เพียงใด
เพราะผู้ร่างเหล่านี้ได้ "ขยาย" ประเภทของหนังสือสัญญาที่ต้องขอความเห็นชอบของรัฐสภาให้กินความกว้างและ กำกวมมากขึ้น (เช่น
การใช้คำว่า "อย่างกว้างขวาง" และ "มีนัยสำคัญ") แต่ก็กลับมีความลักลั่นที่จะไม่กล่าวถึงการกระทำในทางกฎหมายระหว่างประเทศ ลักษณะอื่นที่ก่อให้เกิดผลผูกพันทางกฎหมาย
เช่น การแถลงรับอำนาจศาลในกรณีนี้
เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม แม้การตีความ
"ตามตัวบท" อาจสรุปได้ว่ากรณีดังกล่าวไม่เข้าลักษณะ
"หนังสือสัญญา" ตามมาตรา 190 แต่การตีความ "ตามเจตนารมณ์" อาจทำให้คณะรัฐมนตรีต้องยั้งคิดพิจารณาให้ดีว่า
การแถลงยอมรับอำนาจดังกล่าว จะมีผลกระทบ "อย่างกว้างขวาง"
และ "มีนัยสำคัญ" ต่อกระบวนการยุติธรรมไทย และอาจจำเป็นต้องมีการปรับแก้กฎหมายที่เกี่ยวข้องหรือไม่
?
หากยกตัวอย่างให้เห็นภาพ มาตรา 190
บัญญัติว่า หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขต
ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา แต่หากวันหนึ่งประเทศไทยมีข้อพิพาทเรื่องเขตแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน และรัฐบาลไทยจะแถลงยอมรับอำนาจ
"ศาลโลก" โดยทำคำแถลงฝ่ายเดียวให้ "ศาลโลก" วินิจฉัยข้อพิพาทเขตแดนได้
หากสุดท้าย "ศาลโลก" ตัดสินคดีเขตแดนในทางที่เป็นคุณต่อประเทศเพื่อนบ้าน ก็อาจจะกระทบต่ออาณาเขตไทยได้
หากเป็นเช่นนี้ คณะรัฐมนตรีจะทำการแถลงยอมรับอำนาจโดยไม่ปรึกษาหารือกับรัฐสภาเลย เพียงเพราะการแถลงดังกล่าวไม่ใช่
"หนังสือสัญญา" กระนั้นหรือ ?
ยิ่งไปกว่านั้น เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า
"ศาลรัฐธรรมนูญ" ไทยชุดปัจจุบันได้ขยายอำนาจการตีความของตนให้ไปไกลกว่าเพียง
"ตัวบท" รัฐธรรมนูญ กล่าวคือ ศาลรัฐธรรมนูญพร้อมที่จะอ้างการตีความ
"ตามเจตนารมณ์" ที่แม้จะขัดแย้งกับตัวบท
แต่ก็ปลุกเสกให้เกิด "ผลทางการเมือง" ตามที่ใจศาลปรารถนาได้ เช่น
แม้ตัวบทรัฐธรรมนูญจะให้อำนาจ "รัฐสภา" แก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ศาลก็อาศัยการตีความ
"ตามเจตนารมณ์" มายับยั้ง "รัฐสภา" ได้ จึงคงไม่น่าแปลกใจ หาก
"คณะรัฐมนตรี" จะได้เผชิญกับเหตุการณ์ทำนองเดียวกัน
ทั้งนี้ อย่างน้อยที่สุด
คณะรัฐมนตรีอาจพิจารณาว่า กรณีการแถลงยอมรับอำนาจศาลดังกล่าว
จะเข้ากรณีตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 179 หรือไม่
ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญ มาตรา 179 บัญญัติว่า
"ในกรณีที่มีปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินที่คณะรัฐมนตรีเห็น สมควรจะฟังความคิดเห็นของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา นายกรัฐมนตรีจะแจ้งไปยังประธานรัฐสภาขอให้มีการเปิดอภิปรายทั่วไปในที่ ประชุมร่วมกันของรัฐสภาก็ได้ ในกรณีเช่นว่านี้รัฐสภาจะลงมติในปัญหาที่อภิปรายมิได้"
" ศาลอาญาระหว่างประเทศ"
รับพิจารณาคดีประเภทใดได้บ้าง ?
แม้สุดท้ายจะมีการแถลงยอมรับอำนาจให้
"ศาลอาญาระหว่างประเทศ" สามารถใช้เขตอำนาจทั้งทางด้านเวลาและเนื้อหาเพื่อพิจารณาการกระทำความผิดใน ประเทศไทย
แต่สังคมไทยพึงระลึกว่า "ศาลอาญาระหว่างประเทศ" มีอำนาจพิจารณาเฉพาะความผิดอาญาระหว่างประเทศที่ร้ายแรงบางประเภทเท่านั้น
ณ เวลานี้มีความผิด
3 ฐาน ที่มีผลบังคับ
คือ
(1) ความผิดฐานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ลักษณะเบื้องต้นคือต้องมุ่งไปที่กลุ่มเชื้อชาติ
สัญชาติ ศาสนา เช่น กรณีล้างพันธุ์ชาวยิว
แต่หากการสลายการชุมนุมเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 ไม่มีลักษณะเพ่งเล็งไปที่กลุ่มเชื้อชาติ
สัญชาติ หรือศาสนา ของผู้ชุมนุม ก็ย่อมไม่เข้ากรณีดังกล่าว
(2) ความผิดฐานอาชญากรรมสงคราม
นอกจากกรณีในสงครามระหว่างประเทศ เช่น กรณีการทรมานเชลยศึกต่างชาติ
การโจมตีโรงพยาบาลในยามสงคราม ยังอาจเป็นการปะทะกันทางอาวุธในประเทศได้ด้วย แต่ต้องเป็นการรบกันด้วยอาวุธที่ยืดเยื้อต่อเนื่อง มีการจัดตั้งเป็นขบวนการติดอาวุธต่อสู้กับรัฐบาล แต่หากการสลายการชุมนุมเดือนเมษายน-พฤษภาคม
2553 ไม่เข้าลักษณะดังกล่าว โดยเป็นเพียงความไม่สงบภายในประเทศ
( internal disturbance) ก็อาจไม่เข้ากรณีดังกล่าว
(3) ความผิดฐานอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ลักษณะเบื้องต้นคือต้องเป็นการโจมตีประชาชนอย่างเป็นระบบและกว้างขวาง
(systematic and wide-spread) และเกี่ยวโยงกับนโยบายของรัฐหรือขบวนการ
เช่น กรณีบังคับให้สตรีทุกคนถูกทหารข่มขืน
หรือบังคับให้ทำหมัน หากการสลายการชุมนุมเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 เป็นการใช้ความรุนแรงเกินกว่าเหตุในเหตุการณ์เฉพาะหน้า ก็อาจไม่เข้ากรณีดังกล่าวเช่นกัน
ฉันใดก็ฉันนั้น
หากการสลายการชุมนุมเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 ไม่เข้าลักษณะฐานความผิดทั้ง 3 กรณีที่กล่าวมา การจะอ้างถึงความรุนแรงจากการปราบปรามยาเสพติดในสมัยรัฐบาลทักษิณ ก็คงจะเป็นการอ้างที่ทำได้ยากยิ่ง
มอง
"ศาลอาญาระหว่างประเทศ" ลืมมองกระบวนการยุติธรรมไทยหรือไม่ ?
สมมุติ ว่า แม้สุดท้ายจะมีเหตุให้
"ศาลอาญาระหว่างประเทศ" พิจารณาได้ว่า ศาลมีเขตอำนาจ ( jurisdiction) ตามฐานความผิดที่กล่าวมา แต่สุดท้าย
"ศาลอาญาระหว่างประเทศ"
ก็อาจอ้างเหตุไม่รับพิจารณาคดี ( inadmissibility) ได้เช่นกัน
เหตุไม่รับพิจารณาคดี ( inadmissibility)
มีหลักสำคัญคือ หลัก
Complementarity กล่าวคือ
"ศาลอาญาระหว่างประเทศ" เป็นเพียง "ศาลลำดับรอง" ที่ถูกสร้างขึ้นมา
"เสริม" การทำงานของศาลหลักในแต่ละประเทศ แต่ใม่ใช่การเข้าไป "ทดแทน"
"ศาลภายในประเทศ"
หลักดังกล่าวมีฐาน ความคิดที่ว่า
"ความผิด" ที่เกิดขึ้นในประเทศต่างๆ ไม่ว่าจะหนักเบา ตั้งแต่ลักขโมย
ไปถึงก่อวินาศกรรม ย่อมเป็นเรื่องที่ "ศาลภายในประเทศ"
ของรัฐอธิปไตยที่จะดูแลรับผิดชอบ จะลงโทษหนักเบาอย่างไร ก็เป็นไปตามกฎหมายของแต่ละประเทศ
แต่มี "ความผิด"
บางอย่างที่โหดเหี้ยมร้ายแรงมาก ความผิดเหล่านี้ มักกระทำโดยผู้ที่มีอำนาจและไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย
และเมื่อกระทำไปแล้ว "ศาลภายในประเทศ"
ก็อาจนิ่งเฉย หรือเอาผิดไม่ได้ จนผู้กระทำผิดที่มีอำนาจดังกล่าว
"ลอยนวล" ช่องว่างในการลอยนวลนี้ คือ ที่มาของแนวคิด
"ศาลอาญาระหว่างประเทศ"
ดังนั้น
หากกระบวนการยุติธรรมไทยยังทำงานได้ตามปกติ และมีความคืบหน้าตามลำดับขั้น เช่น
"คดีพัน คำกอง" แล้วไซร้ "ศาลอาญาระหว่างประเทศ"
ก็จะไม่เข้ามาก้าวล่วงพิจารณาคดีซ้ำซ้อนกัน
แม้คดีดังกล่าวอาจจะอยู่ในเขตอำนาจของ "ศาลอาญาระหว่างประเทศ" ก็ตาม
แต่หากเมื่อใดที่
"ศาลอาญาระหว่างประเทศ" เห็นว่า คดีที่อยู่ในเขตอำนาจดังกล่าว ถูกละเลยเพิกเฉย
จนผู้กระทำผิดลอยนวล "ศาลอาญาระหว่างประเทศ"
ก็อาจรับพิจารณาคดีดังกล่าวได้
ดังนั้น
ในยามใดที่ทั้งประชาชน ตลอดจนนักการเมืองทั้งฝ่ายค้าน และฝ่ายรัฐบาล ต่างมีท่าทีจะหันไปพึ่งพา
"ศาลอาญาระหว่างประเทศ" อาจเป็นยามที่กระบวนการยุติธรรมไทยต้องดูตัวเอง
เพราะหากประเทศชาติ
ใดกระบวนการยุติธรรมมีประสิทธิภาพและพึ่งพาได้จริง ก็คงไม่มีเหตุใดให้ประเทศนั้นต้องถกเถียงเรียกร้องให้ " ศาลอาญาระหว่างประเทศ" เข้ามามีบทบาทดังที่เป็นอยู่ในขณะนี้
มติชน 5 พฤศจิกายน 2555 >>>
สุรพงษ์ นัดเเถลง ICC ไม่เข้าข่ายคดีฆ่าตัดตอนสมัย ทักษิณ
http://shows.voicetv.co.th/voice-news/55121.html
นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกฯและรมว.ต่างประเทศ ระบุ
คดีฆ่าตัดตอนการปราบปรามยาเสพติดยุค "ทักษิณ"
ไม่เข้าข่ายที่ศาลอาญาระหว่างประเทศจะรับไว้พิจารณา รอผลสรุป 7พ.ย.นี้
นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ กล่าวว่า
จากการหารือกับตัวแทนศาลอาญาระหว่างประเทศ หรือ ไอซีซี เมื่อวันที่ 1
พฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยส่วนตัว มองว่าคดีฆ่าตัดตอนการปราบปรามยาเสพติดของ
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร สมัยเมื่อดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ไม่เข้าข่ายที่ศาลอาญาระหว่างประเทศจะรับไว้พิจารณา ( ICC )
จะรับคดีไว้พิจารณา เนื่องจากการที่ ICC จะรับร้องเรียนใน 4 เรื่อง
ประกอบด้วย อาชญากรรมมนุษยชาติ อาชญากรรมสงคราม รุกราน
และฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
ซึ่งขณะนี้ได้ให้กรมไอซีซี สรุปรายละเอียดส่งมาให้อีกครั้ง
โดยจะมีการแถลงต่อสื่อมวลชนที่กระทรวงการต่างประเทศ ในวันที่ 7
พฤศจิกายนนี้หลังจากเดินทางกลับจาก เพื่อเข้าร่วมการประชุมผู้นำเอเชีย -
ยุโรป ครั้งที่ 9 ระหว่างวันที่ 5 - 6 พฤศจิกายน 2555
ที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
VIDEO
40ส.ว.ขู่'ปึ้ง'ดันคดี98ศพขึ้นศาลโลก ผิด.ม.190
http://m.thairath.co.th/content/pol/303790
ส.ว.ออกโรง ขู่ "สุรพงษ์" รองนายกฯ รมว.การต่างประเทศ
เร่งดันคดี เสื้อแดง 98 ศพ ขึ้นศาลอาญาโลก ระวัังผิด ม.190
จ่อส่งเรื่องให้ศาล รธน. พิจารณา หากผิดจริงส่ง ป.ป.ช.ฟันทันที
วัน
ที่ 5 พ.ย. นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานวุฒิสภา
กล่าวถึงการดำเนินการของนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.การต่างประเทศ
ที่จ่อส่งเรื่องเข้า ครม.พิจารณา
อาจประกาศยอมรับขอบเขตอำนาจของศาลอาญาระหว่างประเทศ (International
Criminal Court หรือ ICC ) ในกรณีให้เข้ามาสอบสวนและตัดสินคดี
การชุมนุมของกลุ่ม นปช .เมื่อปี 2553 ซึ่งมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก
ว่า ควรต้องผ่านให้ความเห็นชอบจากรัฐสภาตามมาตรา 190
เพราะการจะให้กระบวนการระหว่างประเทศ มีผลบังคับใช้ต้องผ่านการลง สัตยาบัน
ซึ่งการที่จะพิจารณาว่าไทยจะลงสัตยาบันกรณีใด ก็ต้องผ่านมาตรา 190
แม้จะไม่เกี่ยวกับเรื่องอาณาเขตไทยโดยตรงแต่เกี่ยวกับอธิปไตยของไทยในส่วน
ของฝ่ายตุลาการ ซึ่งเป็นหนึ่งในสามอำนาจอธิปไตยไทย
“รัฐมนตรี
จะพิจารณาโดยพลการไม่ได้ เพราะจะมีปัญหาตามมาอีกมาก เช่น
ใครจะเป็นผู้พิจารณาว่า คดีไหนควรส่งให้ศาลต่างประเทศ
หรือให้ศาลไทยพิจารณา” นายสุรชัย กล่าว
นายสุรชัย กล่าวต่ออีกว่า
อย่างไรก็ตาม ถ้านายสุรพงษ์
จะแถลงเพื่อประกาศยอมรับขอบเขตอำนาจศาลก็สามารถกระทำได้
แต่หากเกิดอะไรขึ้นก็ต้องรับผิดชอบไป และขึ้นอยู่ศาลโลกว่า
จะยอมรับคำประกาศให้มีผลบังคับใช้ เช่นเดียวกับการลง สัตยาบันหรือไม่
ด้าน
นายไพบูลย์ นิติตะวัน สว.สรรหา แกนนำกลุ่ม 40 ส.ว.เปิดเผยว่า
หากนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.การต่างประเทศ
ประกาศยอมรับขอบเขตอำนาจของศาลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal
Court หรือ ICC )
โดยไม่ผ่านการลงสัตยาบันก็จะเตรียมยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาว่า
เข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ทันที
นายไพบูลย์ กล่าวอีกว่า
การจะให้ศาลโลกสามารถพิจารณาคดีใดๆ ที่ทางการไทยเสนอไปนั้นรัฐไทยโดยรัฐบาล
ต้องลงสัตยาบันก่อนถึงจะมีผลบังคับใช้ได้
ไม่ใช่ไปประกาศยอมรับขอบเขตเพื่อดำเนินการเป็นเฉพาะกรณี
“เท่ากับเข้า
ข่ายละเว้นการปฏิบัติหน้าที่แน่นอน เมื่อยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญแล้ว
ถ้าศาลเห็นว่าขัดกับรัฐธรรมูญก็จะยื่น
ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
ดำเนินคดีอาญาต่อไป” นายไพบูลย์ กล่าว.
โดย: ไทยรัฐออนไลน์
5 พฤศจิกายน 2555, 12:06 น.
'สุรพงษ์'แจงผลถก'ไอซีซี'สลายม็อบแดงปี'53เข้าข่าย'อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ'
http://web.parliament.go.th/news/news_detail.php?prid=350917
มติชน (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
หมาย
เหตุ - ที่กระทรวงการต่างประเทศ นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
แถลงผลการหารืออย่างเป็นทางการกับ นางฟาโต เบ็นโซดา
อัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ หรือ International Criminal Court (ไอซีซี)
ที่เดินทางมาเข้าร่วมประชุมสมาคมอัยการระหว่างประเทศ เมื่อวันที่ 1
พฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยหารือเรื่องความร่วมมือทั่วไประหว่างไทยกับไอซีซี
และกรณีกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)
เดินทางไปยื่นหนังสือร้องเรียนกับไอซีซี
ให้พิจารณาเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองของไทย ที่กรุงเฮก
ประเทศเนเธอร์แลนด์ เมื่อปลายเดือนมิถุนายน รวมถึงความเห็นของนายไพบูลย์
นิติตะวัน ส.ว.สรรหา และนายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์
มีสาระสำคัญดังนี้ สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นาง
เบ็นโซดา ให้ข้อมูลและความเห็นเกี่ยวกับการประกาศยอมรับเขตอำนาจไอซีซี
ตามข้อ 12 วรรค 3 ของธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ
สำหรับประเทศที่ยังไม่ได้เป็นภาคีธรรมนูญกรุงโรมฯ โดยระบุว่าไอซีซี
มีเขตอำนาจพิจารณาการกระทำที่เป็นความผิดอาชญากรรมร้ายแรง 4 ประเภท ได้แก่
อาชญากรรมสงคราม อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ
อาชญากรรมอันเป็นการทำลายล้างเผ่าพันธุ์ และอาชญากรรมอันเป็นการรุกราน สำหรับ
กรณีเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองของไทย นางเบ็นโซดาเห็นว่า
อาจเข้าข่ายอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ แต่ต้องพิจารณาองค์ประกอบอื่นก่อนเช่น
เป็นการกระทำอย่างกว้างขวาง หรือเป็นระบบ นางเบ็นโซดายังระบุว่า
การประกาศยอมรับเขตอำนาจของไอซีซี สามารถกำหนดกรอบไว้ในคำประกาศได้
และจะต้องยึดหลักความเป็นกลางไม่เลือกปฏิบัติ
โดยไอซีซีจะมุ่งดำเนินการกับผู้สั่งการโดยตรง และผู้รับผิดชอบที่แท้จริง ซึ่ง
การประกาศยอมรับเขตอำนาจไอซีซี
จะเป็นขั้นตอนแรกในการเปิดโอกาสให้ไอซีซีเข้ามาทำการ "ตรวจสอบเบื้องต้น"
(Preliminary Examination) ว่าไอซีซีจะมีอำนาจพิจารณากรณีนั้นๆ หรือไม่
และไอซีซีจะมีบทบาทเสริมกระบวนการยุติธรรมภายในประเทศเท่านั้น แต่ทางไอซีซีอาจเข้ามาดำเนินการได้ก็ต่อเมื่อกระบวนการยุติธรรม "ไม่สามารถ" หรือ "ไม่สมัครใจ" หรือ "ไม่ได้ดำเนินการอย่างแท้จริง" นอก
จากนี้ นางเบ็นโซดายังเห็นว่าการจัดทำ ประกาศยอมรับเขตอำนาจไอซีซี ตามข้อ
12 วรรค 3 ของธรรมนูญกรุงโรมฯ มีขอบเขตจำกัด จึง ไม่ใช่ "สนธิสัญญา"
แต่เป็นการแสดงเจตนาของ รัฐ เป็นการประกาศฝ่ายเดียว และสามารถถอน
คำประกาศได้ อย่างไรก็ตาม ยังไม่เคยมีประเทศใด เคยถอนคำประกาศ การประกาศ
ยอมรับเขตอำนาจไอซีซีของไทย
ขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยคณะรัฐมนตรี
(ครม.) เมื่อปี 2543 เคยตั้งคณะกรรมการเกี่ยวกับไอซีซีขึ้นมา
จะต้องกลับไปตรวจสอบว่ายังอยู่หรือไม่ ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวประกอบด้วย
กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย ของกระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานอัยการสูงสุด
สำนักงานศาลยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม กระทรวงกลาโหม
และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ขอยืนยันว่าจะพิจารณารายละเอียดข้อกฎหมายอย่างรอบคอบเพื่อไม่ให้ถูกบางกลุ่ม
นำไปบิดเบือนและสร้างความสับสนให้กับสังคม โดยเฉพาะกลุ่มที่รู้ตัวว่าอาจผิด
หรืออาจจะผิด อย่าตีตัวไปก่อนไข้ ที่หลายฝ่ายออกมาแสดงความคิดเห็นคัด
ค้านโดยไม่คิดที่จะศึกษา
ไม่คำนึงถึงเหตุผลต่อการที่ไอซีซีจะเข้ามาเสริมกระบวนการยุติธรรม
เพื่อให้ความยุติธรรมต่อมวลมนุษยชาติที่ไม่ได้รับความยุติธรรมจริงๆ
การเข้ามาของไอซีซีหากจะช่วยเกิดความยุติธรรมขึ้นในสังคมไทย
จะไม่เป็นสิ่งที่ดีหรือสำหรับคนไทย ส่วนกลุ่มบุคคลที่มองว่า
การเข้ามาของไอซีซีถือเป็นการดูถูกกระบวนการยุติธรรมของไทย ผมคิดว่าไม่ใช่
เพราะหากกระบวนการยุติธรรมได้ให้ความเป็นธรรมอย่างแท้จริง
ไอซีซีก็ไม่อาจเข้ามายุ่งเกี่ยวได้ วันนี้ขอให้ผู้ที่รู้จริง ไม่รู้จริง
หรือแกล้งทำเป็นไม่รู้ โปรดยุติการวิพากษ์วิจารณ์ไว้ก่อน
และกลุ่มที่ชอบออกมาขู่ผมกับรัฐบาลให้กลัวอ้างว่าจะยื่นเรื่องให้ศาลรัฐ
ธรรมนูญวินิจฉัยนั้นผมขอบอกตรงๆ ว่า ผมไม่กลัวพวกคุณ ไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา หาก
นายสุรพงษ์ ลงนามยอมรับเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ เพื่อให้ตรวจสอบเอกสาร
รายงานข้อเท็จจริง เพื่อประเมินข้อเท็จจริง
ในการสั่งสลายการชุมนุมทางการเมืองปี 2553 จนเป็นเหตุให้มีคนเสียชีวิต 98
ศพ หากลงนามยอมรับเขตอำนาจไอซีซีจริงจะขอเอกสารการลงนามทันที
เพื่อมาวิเคราะห์ความเป็นไปได้ว่าจะเข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 190
ที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อนหรือไม่
ก่อนที่จะดำเนินการส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
เพราะต้องมีข้อมูลที่รัดกุม
จะได้ไม่ซ้ำรอยกับกรณียื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยการขายข้าวแบบรัฐ
ต่อรัฐหรือจีทูจี ว่าขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 190 หรือไม่
ซึ่งต่อมาศาลรัฐธรรมนูญยกคำร้อง ขอยืนยันว่าจะเดินหน้าตรวจสอบแน่นอน
แต่ยังระบุวันเวลาไม่ได้ เพราะต้องรอให้นายสุรพงษ์ ลงนามให้เรียบร้อยก่อน
หากยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแล้วหากศาลเห็นว่าขัดกับรัฐธรรมูญก็
จะยื่นให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
ดำเนินคดีอาญาต่อ ชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ต้อง
ทำความเข้าใจว่าการกระทำดังกล่าว
ไม่ใช่การลงสัตยาบันเรื่องนี้ต้องตรวจสอบว่าการกระทำ ดังกล่าว
เข้าข่ายตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ หรือไม่ ผมเชื่อว่าการดำเนินการของ
นายสุรพงษ์ มีแรงจูงใจทางการเมืองอย่างชัดเจน เพราะทั้งสาระ
และหลักการของศาลอาญาระหว่างประเทศนั้น กรณีการเสียชีวิตจากเหตุการณ์ชุมนุม
ปี 2553 ไม่เข้าข่ายอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศทั้งสิ้น
จึงไม่เห็นเหตุผลเลย
นอกจากที่จะสร้างกระแสกลบเกลื่อนการอภิปรายไม่ไว้วางใจหรือไม่
หรือกลบเกลื่อนการบริหารงานที่ล้มเหลว รวมทั้งพยายามสร้างความหวังลมๆ แล้งๆ
ให้แก่คนเสื้อแดง ที่จะนำคดีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี
พรรคประชาธิปัตย์ ไปยังศาลอาญาระหว่างประเทศ ฉะนั้นถ้ารัฐบาลมีหลักฐาน
ที่จะเอาผิดได้ ผมอยากถามว่าทำไมไม่ดำเนินการในประเทศ
ซึ่งการลงทะเบียนรับของศาลอาญาระหว่างประเทศนั้น
ตามระบบธุรการก็มีการรับเรื่องเอาไว้ตามปกติ ทั้งนี้
การที่ศาลอาญาระหว่างประเทศ จะเข้ามาพิจารณาคดีใน ประเทศใดๆ
ต้องเกิดขึ้นเมื่อกระบวนการยุติธรรมในประเทศนั้นๆ ไม่สามารถดำเนินการได้
และไม่มีรัฐ ที่จะควบคุมความเป็นอธิปไตยของประเทศได้ เขาจึงจะเข้ามา ดัง
นั้นทางพรรคประชาธิปัตย์ จะติดตามต่อไปว่า
1.การดำเนินการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
มีแรงจูงใจทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องหรือไม่
2.มีผลกระทบต่ออธิปไตยของประเทศ ตามมาตรา 190 หรือไม่ จากที่ผมมีโอกาส
พูดคุยกับนักกฎหมายระหว่างประเทศ เขาระบุว่า
กรณีเดียวที่เข้าข่ายอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ คือ เหตุการณ์ฆ่าตัดตอน
เพราะเป็นการจงใจใช้อาวุธ เข่นฆ่าประชาชน
ที่มาจากการดำเนินนโยบายของผู้มีอำนาจในการปกครองประเทศขณะนั้น
จึงอยากขอให้นายสุรพงษ์
เปิดรับเขตอำนาจศาลในคดีฆ่าตัดตอนด้วยรัฐมนตรีว่ากระทรวงการต่างประเทศ
คนนี้ไม่มีความรู้ความเข้าใจกฎหมายระหว่างประเทศ และพยายามบิดเบือน
ใช้เรื่องนี้เป็นประเด็นการเมือง การกระทำเช่นนี้จะทำให้ประเทศไทย
กลายเป็นตัวตลกในเวทีต่างประเทศ จึงอยากขอให้คำนึงถึงประโยชน์ของประเทศ
ชาติ มากกว่าประโยชน์ของผู้มีพระคุณ และอยากถามว่า การเสียชีวิตของตำรวจ
และทหาร ในเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง ปี 2553 จากฝีมือชายชุดดำ
จะต้องถูกหยิบยกขึ้นสู่การพิจารณาของศาลอาญาระหว่างประเทศด้วยใช่หรือไม่ ย้อนที่มาไทยลงนามธรรมนูญ'กรุงโรม' ทั้ง
นี้ ประเทศไทยเป็นรัฐหนึ่งที่ลงมติสนับสนุนธรรมนูญกรุงโรมฯ
และได้ร่วมลงนามธรรมนูญกรุงโรมเมื่อ 2 ตุลาคม 2543
แต่ยังมิได้ให้สัตยาบันจนถึงขณะนี้
เนื่องจากต้องพิจารณาตามขั้นตอนที่กฎหมายในประเทศกำหนดไว้ก่อน
โดยคณะรัฐมนตรีไทยได้มีมติเมื่อ 19 มกราคม 2542 แต่งตั้ง
"คณะกรรมการพิจารณาธรรมนูญศาลอาญาระหว่างประเทศ"
ขึ้นตามที่กระทรวงต่างประเทศเสนอ
มีหน้าที่พิจารณาผลดีและผลเสียของการเข้าเป็นรัฐภาคีแห่งธรรมนูญ ต่อมา
วันที่ 1 มิถุนายน 2542
คณะกรรมการพิจารณาธรรมนูญศาลอาญาระหว่างประเทศมีคำสั่งแต่งตั้ง
"คณะอนุกรรมการแปลธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ" ขึ้น
ประกอบด้วยกรรมการสิบคน เป็นผู้แทนจากส่วนราชการต่างๆ คือ
สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ กระทรวงยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม
สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กรมพระธรรมนูญ
กระทรวงกลาโหม และกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ--จบ-- --มติชน ฉบับวันที่ 9 พ.ย. 2555 (กรอบบ่าย)--
"ปึ้ง"เผยไอซีซีมองรับเขตอำนาจไม่ใช่ "สนธิสัญญา" - ไฟเขียวพิจารณาข้อกฎหมายไทย
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNMU1qSTNNekU1TlE9PQ==
วันที่ 07 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 เวลา 14:45 น.
ข่าวสดออนไลน์
เมื่อ 7 พ.ย. ที่กระทรวงการต่างประเทศ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า
นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
แถลงข่าวชี้แจงภายหลังการหารืออย่างเป็นทางการกับ นางฟาโต เบ็นโซดา อัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ หรือ
ไอซีซี ซึ่งเดินทางมาเข้าร่วมประชุมสมาคมอัยการระหว่างประเทศ เมื่อ 1 พ.ย.ที่ผ่านมา
โดยได้หารือกันเรื่องความร่วมมือทั่วไประหว่างไทยกับไอซีซี
และกรณีที่กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช.
เดินทางไปยื่นหนังสือร้องเรียนกับไอซีซี ให้พิจารณาเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองของไทย ที่กรุงเฮก
ประเทศเนเธอร์แลนด์ เมื่อปลายเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา ว่า นางเบ็นโซดา
ได้ให้ข้อมูลและความเห็นเกี่ยวกับการประกาศยอมรับเขตอำนาจไอซีซี ตามข้อ 12 วรรค 3 ของธรรมนูญกรุงโรมฯ
สำหรับประเทศที่ยังไม่ได้เป็นภาคีธรรมนูญกรุงโรมฯ โดยระบุว่า ไอซีซี
มีเขตอำนาจพิจารณาการกระทำที่เป็นความผิดอาชญากรรมร้ายแรง 4 ประเภท ได้แก่ อาชญากรรมสงคราม
อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ อาชญากรรมอันเป็นการทำลายล้างเผ่าพันธุ์ และอาชญากรรมอันเป็นการรุกราน
ซึ่งสำหรับกรณีเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองของไทย นางเบ็นโซดา เห็นว่า
อาจเข้าข่ายอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ แต่ต้องพิจารณาองค์ประกอบอื่นก่อน เช่น เป็นการกระทำอย่างกว้างขวาง
หรือเป็นระบบ นายสุรพงษ์ กล่าวว่า นางเบ็นโซดา ระบุว่า การประกาศยอมรับเขตอำนาจของไอซีซี
สามารถกำหนดกรอบไว้ในคำประกาศได้ และจะต้องยึดหลักความเป็นกลางไม่เลือกปฏิบัติ
โดยไอซีซีจะมุ่งดำเนินการกับผู้สั่งการโดยตรง และผู้รับผิดชอบที่แท้จริง
ซึ่งการประกาศยอมรับเขตอำนาจไอซีซี จะเป็นขั้นตอนแรกในการเปิดโอกาสให้ไอซีซีเข้ามาทำการ
"ตรวจสอบเบื้องต้น" (Preliminary Examination) ว่าไอซีซีจะมีอำนาจพิจารณากรณีนั้นๆหรือไม่
และไอซีซีจะมีบทบาทเสริมกระบวนการยุติธรรมภายในประเทศเท่านั้น
แต่ทางไอซีซีอาจเข้ามาดำเนินการได้ก็ต่อเมื่อ กระบวนการยุติธรรม "ไม่สามารถ" หรือ "ไม่สมัครใจ" หรือ
"ไม่ได้ดำเนินการอย่างแท้จริง" นอกจากนี้ นางเบ็นโซดา ยังเห็นว่า
การจัดทำประกาศยอมรับเขตอำนาจไอซีซี ตามข้อ 12 วรรค 3 ของธรรมนูญกรุงโรมฯ มีขอบเขตจำกัด จึงไม่ใช่
"สนธิสัญญา" แต่เป็นการแสดงเจตนาของรัฐ เป็นการประกาศฝ่ายเดียว และสามารถถอนคำประกาศได้ อย่างไรก็ตาม
ยังไม่เคยมีประเทศใดเคยถอนคำประกาศ รมว.ต่างประเทศ
กล่าวถึงการประกาศยอมรับเขตอำนาจไอซีซีของไทย ว่า
ขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยครม.เมื่อปี
2543
เคยตั้งคณะกรรมการเกี่ยวกับไอซีซีขึ้นมา
จะต้องกลับไปตรวจสอบว่ายังอยู่หรือไม่ ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าว
ประกอบด้วย กรมสนธิสัญญาและกฏหมาย ของกระทรวงการต่างประเทศ
สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานศาลยุติธรรม
กระทรวงยุติธรรม กระทรวงกลาโหม และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
โดยยืนยันว่าจะพิจารณารายละเอียดข้อกฏหมายอย่างรอบคอบเพื่อไม่ให้ถูก
บางกลุ่มนำไปบิดเบือนและสร้างความสับสนให้กับสังคมโดยเฉพาะกลุ่มที่รู้ตัว
ว่าอาจผิด
หรืออาจจะผิด
อย่าตีตัวไปก่อนไข้ "จากการที่หลายฝ่ายออกมาแสดงความคิดเห็นคัดค้านโดยไม่คิดที่จะศึกษา
ไม่คำนึงถึงเหตุผลต่อการที่ไอซีซีจะเข้ามาเสริมกระบวนการยุติธรรม
เพื่อให้ความยุติธรรมต่อมวลมนุษยชาติที่ไม่ได้รับความยุติธรรมจริงๆ
การเข้ามาของไอซีซีหากจะช่วยเกิดความยุติธรรมขึ้นในสังคมไทย จะไม่เป็นสิ่งที่ดีหรือสำหรับคนไทย
ส่วนกลุ่มบุคคลที่มองว่า การเข้ามาของไอซีซีถือเป็นการดูถูกกระบวนการยุติธรรมของไทย ผมคิดว่าไม่ใช่
เพราะหากกระบวนการยุติธรรมได้ให้ความเป็นธรรมอย่างแท้จริง ไอซีซีก็ไม่อาจเข้ามายุ่งเกี่ยวได้ วันนี้
ขอให้ผู้ที่รู้จริง ไม่รู้จริง หรือแกล้งทำเป็นไม่รู้ โปรดยุติการวิพากศ์วิจารณ์ไว้ก่อน
และกลุ่มที่ชอบออกมาขู่ผมกับรัฐบาลให้กลัว อ้างว่าจะยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยนั้น
ผมขอบอกตรงๆว่า ผมไม่กลัวพวกคุณ" นายสุรพงษ์ กล่าว ทั้งนี้ ประเทศไทย
เป็นรัฐหนึ่งที่ลงมติสนับสนุนธรรมนูญกรุงโรมฯ และได้ร่วมลงนามธรรมนูญกรุงโรมเมื่อ 2 ต.ค. 2543
แต่ยังมิได้ให้สัตยาบันจนถึงขณะนี้ เนื่องจากต้องพิจารณาตามขั้นตอนที่กฎหมายในประเทศกำหนดไว้ก่อน
โดยคณะรัฐมนตรีไทยได้มีมติเมื่อ 19 ม.ค. 2542 แต่งตั้ง "คณะกรรมการพิจารณาธรรมนูญศาลอาญาระหว่างประเทศ"
ขึ้นตามที่กระทรวงต่างประเทศเสนอ
มีหน้าที่พิจารณาผลดีและผลเสียของการเข้าเป็นรัฐภาคีแห่งธรรมนูญ ต่อมาวันที่ 1 มิ.ย. 2542
คณะกรรมการพิจารณาธรรมนูญศาลอาญาระหว่างประเทศมีคำสั่งแต่งตั้ง
"คณะอนุกรรมการแปลธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ" ขึ้น ประกอบด้วยกรรมการสิบคน
เป็นผู้แทนจากส่วนราชการต่างๆ คือ สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ กระทรวงยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม
สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กรมพระธรรมนูญ กระทรวงกลาโหม และกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย
กระทรวงการต่างประเทศ
'เหวง' โต้ 'เสงี่ยม' ICC ยังคงเดินหน้ากรณีปี 53
Facebook นพ.เหวง โตจิราการ 6 พฤศจิกายน 2555 >>>
วันนี้ (6 พ.ย. 55) นพ.เหวง โตจิราการ โพสท์ข้อความข้อกล่าวหาของ
พ.ต.ต.เสงี่ยม สำราญรัตน์ ที่กล่าวหากรณีศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC) ดังนี้
จากข่าวหน้าหนังสือพิมพ์หลายฉบับและออนไลน์เกือบทุกฉบับประจำวันที่ 5 พ.ย.
55 พ.ต.ต.เสงี่ยม สำราญรัตน์ ได้โกหก ใส่ร้ายป้ายสีผมและ อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ
ในหลายเรื่อง ดังต่อไปนี้ครับ
1. พ.ต.ต.เสงี่ยม กล่าวว่า รีจิสตร้า
(Registra) ของศาลอาญาระหว่างประเทศ
อยู่ในฐานะผู้ดูแลผู้ต้องขังทั่วโลกนั้น
เพราะไม่ใช่ผู้มีอำนาจที่จะรับเรื่องราวร้องทุกข์
และผู้ที่จะรับเรื่องราวร้องทุกข์ได้คือ
ประธานหรืออัยการศาลอาญาระหว่างประเทศเท่านั้น ผิดโดยสิ้นเชิงครับ
ไม่
รู้ว่า พ.ต.ต.เสงี่ยม ไปเอาเรื่องนี้มาจากกฎหมายฉบับใด
หรือใครเสี้ยมสอนใช้ให้พูด โดยไม่มีความเข้าใจแม้แต่น้อย
ผมต้องการพูดกับคนเขียนบทหรือคนชักใยเบื้องหลัง อย่าเป็นอีแอบเลยครับ
รี
จิสตร้าไม่ได้มีหน้าที่ในการดูแลผู้ต้องขังทั่วโลกครับ
แต่รีจิสตร้ามีหน้าที่ทางตรวจรับคำร้องเรียนที่ยื่นมายังศาลอาญาระหว่าง
ประเทศ และทำการตรวจสอบเบื้องต้นว่า
เป็นเรื่องที่มีสาระมีมูลมีหลักฐานพอที่จะรับไว้พิจารณาหรือไม่
หากไม่มีก็จะปัดตกไป แต่ถ้ามีน้ำหนักก็จะออกหมายเลขรับไว้ครับ
ในอดีตที่ผ่านมา รีจิสตร้าของศาลอาญาระหว่างประเทศก็ได้ปัดเรื่องตกไปกว่าสามพันเรื่องแล้วครับ
ประธาน
หรืออัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ
เขาจะไม่เข้ามาเกี่ยวข้องในเรื่องการตรวจรับเรื่องร้องเรียน ครับ ไม่งั้น
เรื่องกว่าสามพันเรื่องเขาต้องลงมาดูเองหมด
นี่เขาจัดระบบของศาลอาญาระหว่างประเทศให้มีหน่วยงานรีจิสตร้าทำหน้าที่นี้
ก่อนครับ
แล้วฝ่ายรีจิสตร้าก็ได้รับเรื่อง
ร้องเรียนจากประเทศที่เสนอไปโดยสำนักงานทนายความอันสเตอร์ดัมและเปรอฟที่
เดินเรื่องไปประมาณสิงหาคม 53 แล้วเสนอเอกสารไปตั้งแต่เดือนตุลาคม 2553
แล้วครับ
(เขาไม่โยนลงตะกร้าไปนะครับแสดงว่าเรื่องที่เสนอไปมีมูลมีหลักฐานมีสาระมีความน่าเชื่อถือ)
จากนั้นเขาก็ รับเรื่องโดยได้ระบุหมายเลขรับที่ OTP-297/10
แต่
ด้วยเหตุผลที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ถือสัญชาติอังกฤษที่เป็นประเทศภาคีของธรรมนูญกรุงโรมตามมาตรา 12 วรรค 2 (ข)
ครับ (ซี่งจะทำให้ดำเนินการได้เฉพาะนายอภิสิทธิ์เวชชาชีวะเพียงคนเดียว)
ใน
คราวที่ผมพร้อมประธานธิดา และคุณพะเยาว์ อัคฮาด ทนายคารม พลทะกลาง
ศาตราจารย์ธงชัย วินิจจะกุล แห่งมหาวิทยาลัยเยล
คุณอมรินทร์ไปศาลอาญาระหว่างประเทศ
เขาให้การต้อนรับอย่างสมเกียรติและได้พบสนทนากันกว่า 1.30
ชั่วโมงเกินเวลาที่เขากำหนดไว้
แสดงว่าเรื่องที่เรานำเสนอเป็นเรื่องที่มีมูลมีหลักฐานมีสาระ
เข้าองค์ประกอบ ไม่งั้นเขาไม่มัวมานั่งรักษามารยาทคุยกับเรานานมากเช่นนี้
ผู้ที่มาพบและสนทนากับเราคือ นายเอเมอริค โรเจียร์ หัวหน้าสำนักงานวิเคราะห์เหตุการณ์ของศาลอาญาระหว่างประเทศ
หลัง
การสนทนาเขาก็ได้แสดงความเห็นว่า
“เรื่องใหญ่อย่างนี้ลำพังนายอภิสิทธิ์ทำคนเดียวไม่ได้ดอก
ดังนั้นพวกคุณควรต้องดำเนินการให้มีการประกาศรับเขตอำนาจศาลอาญาระหว่าง
ประเทศเฉพาะกรณีในประเทศของคุณ (หมายถึง 12 (3) นั่นแหละครับ)
นี่หมาย
ความว่า เขารับฟังแล้วประเมินว่าไม่ใช่เรื่องเหลวไหล
แล้วยังเป็นเรื่องที่มีผลกระทบรุนแรง กว้างขวาง
จึงไม่น่าที่จะทำได้ด้วยคนเพียงคนเดียว ครับ
ในระหว่างที่อัยการของศาล
อาญาระหว่างประเทศ นางฟาตู เบนซูดา เดินทางมารับรางวัลอัยการดีเด่นในไทย
พร้อมนายเอเมอริค โรเจียร์ ดังกล่าว
และศาสตราจารย์กฏหมายมหาวิทยาลัยนอร์เตอร์ดาม นายดักลาส แอสเซล
คณะของ
อัยการศาลอาญาระหว่างประเทศนางฟาตู เบนซูดา
ได้เข้าพบกับรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล
เพื่อสนทนาในเรื่องการรับเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศตามมาตรา 12 (3)
ของธรรมนูญกรุงโรม
ภายหลังการพบปะกันรอง นรม. และ รมต.ต่างประเทศ
ได้ออกมาให้ข่าว ใจความว่า
การลงนามรับรองเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศเป็นประโยชน์กับประเทศไทย ที่
พ.ต.ต.เสงี่ยม กล่าวหา ผมและประธานธิดาถาวรเศรษฐว่า
ไม่รู้จริงและกำลังโกหกต้มตุ๋นคนเสื้อแดงให้เข้าใจผิดว่าศาลอาญาระหว่าง
ประเทศได้รับเรื่องไว้แล้วจึงเป็นเรื่องใส่ร้ายป้ายสีโกหกมดเท็จโดยสิ้นเชิง
ครับ
และที่บอกว่าศาลไทยต้องไต่สวนการเสียชีวิตและชันสูตรพลิกศพก่อนจึง
จะไปยื่นเรื่องให้ศาลอาญาระหว่างประเทศได้นั้นก็ผิดโดยสิ้นเชิงอีกเช่นกัน
เพราะถ้ามีกรณีที่อยู่ในเขตอำนาจศาลตามธรรมนูญกรุงโรมอย่างใดอย่างหนึ่งในสี่อย่างดังนี้
1. อาชญากรรมอันเป็นการทำลายล้างเผ่าพันธุ์
2. อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ
3. อาชญากรรมสงคราม
4. อาชญากรรมอันเป็นการรุกราน
สามารถนำเรื่องไปเสนอต่อศาลอาญาระหว่าง
ประเทศได้ทันที (หากเป็นประเทศในภาคี, หรือใช้มาตร 12 (3),
หรือคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติส่งไป)
กรณีไทยเหตุการณ์สังหารประชาชนเมื่อเมษา-พฤษภา 53 เข้าองค์ประกอบของอาชญากรรมต่อมนุษยชาติตามมาตรา 7 ของธรรมนูญกรุงโรม กล่าวคือ
“การกระทำใดๆที่ได้กระทำในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการโจมตีอย่างกว้างขวาง
หรืออย่างเป็นระบบ โดยมีเป้าหมายต่อประชากรพลเรือนใด โดยรู้ถึงการโจมตีนั้น
ดังต่อไปนี้ การฆ่าคนตายโดยเจตนา การทำลายล้าง.................)
ดัง
นั้นกรณีการฆ่าประชาชนสองมือเปล่าด้วยอาวุธสงครามเมื่อเมษา-พฤษภา 53
จึงสามารถที่จะยื่นเรื่องต่อศาลอาญาระหว่างประเทศได้โดยไม่ต้องรอให้มีการ
ชันสูตรพลิกศพหรือไต่สวนการเสียชีวิตก่อนดังกล่าว
นอกจากนี้การบอกว่า
ต้องผ่านมาตรา 190 ก็เป็นเรื่องที่ ไม่จริงเช่นกัน
เพราะนี่เป็นการแสดงเจตนาแต่เพียงฝ่ายเดียวในการประกาศยอมรับเขตอำนาจศาล
อาญาระหว่างประเทศเพื่อพิจารณากรณีอาชญากรรมเฉพาะ (เดือนเมษา-พฤษภา 53)
จึงไม่ใช่เป็นสนธิสัญญา
เพราะสนธิสัญญา ต้องเป็นการตกลงระหว่างสองฝ่ายมีการลงนามมีการเจรจาอย่างเป็นทางการ
นี่
เพียงประเทศไทยโดยผู้มีอำนาจรับผิดชอบทำการประกาศแต่เพียงฝ่ายเดียวก็ถือว่า
สัมฤทธิ์ผลแล้ว ไม่ใช่เป็นการตกลงร่วมกันระหว่างสองฝ่าย
และแม้จะต้องมี
พันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตามกฏหมายก็ไม่ถือว่าเป็นสนธิสัญญาเพราะศาลโลกเคยมี
คำพิพากษาวางบรรทัดฐานไว้แล้วในคดี ”Ihren Declaration” และคดี “Nuclear
Test case”
การประกาศยอมรับแต่เพียงฝ่ายเดียวแล้วก่อให้เกิดพันธกรณีไม่ถือว่าเป็นสนธิ
สัญญา
ในตราสารระหว่างประเทศ
ซึ่งจัดทำโดยคณะกรรมาธิการกฏหมายระหว่างประเทศของสหประชาชาติก็ใช้คำว่า
“capable of creating legal obligations” ได้
การประกาศเพียงฝ่ายเดียวที่ก่อให้พันธผูกพันทางกฏหมายจึงไม่ใช่สนธิสัญญาอีก
เช่นกัน
ที่กล่าวว่าเป็นการบีบบังคับฝ่ายบริหารก็ไม่เป็นความจริงเช่นกัน
เพราะผมไม่ได้แสดงออกในทางการข่มขู่คุกคามแต่อย่างไร
ที่ผ่านมาเป็นการแสดงข้อคิดเห็น การอธิบายความทางหลักการ ทั้งทางการเมือง
ทางกฎหมายทั้งนั้น อำนาจในการตัดสินใจยังเป็นของฝ่ายบริหารโดยสมบูรณ์
แม้ฝ่ายบริหาร
ไม่ยอมประกาศรับรองเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศในกรณีเมษา-พฤษภา 53
แล้วผมจะไปทำอะไรฝ่ายบริหารได้
เพราะผมมีความบริสุทธ์ที่ต้องการป้องกัน
ประเทศไทยประชาชนไทยจากเหตุการณ์การฆ่าประชาชนสองมือเปล่ากลางถนนโดยทหารใช้
อาวุธสงครามซึ่งเกิดขึ้นต่อหน้าผมอย่างน้อยก็ 6 ครั้งแล้วคือ 14 ตุลา 16, 6
ตุลา 19, พฤษภา 35, เมษา 52, เมษา 53 และพฤษภา 53
ดังนั้นที่ พ.ต.ต.เสงี่ยม สำราญรัตน์ กล่าวหา ผมและประธานธิดาถาวรเศรษฐ ทั้งหมดเป็นเรื่องเท็จ เป็นเรื่องใส่ร้ายป้ายสีโดยสิ้นเชิง
http://uddred.blogspot.be/2012/11/6-2555.html
ถอดคำพูด 'จตุพร' จากรายการ “ชูธง” 6 พ.ย. 2555 กรณี 'เสงี่ยม'
ถอดคำพูดคุณจตุพร พรหมพันธุ์ บางส่วนจากรายการ “ชูธง”
ออกอากาศเมื่อวันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน 2555 ประเด็นต่อจากเมื่อวานกรณี
พ.ต.ต.เสงี่ยม สำราญรัตน์ ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับ ICC และข้อกล่าวหาประธาน
นปช. คุณจตุพรกล่าวว่า
“ในการที่มีการสร้างสถานการณ์ให้เกิดการปะทะกับคนเสื้อแดงและบอกว่าคนไทยจะ
ฆ่ากัน เพราะฉะนั้น ณ.
ขณะนี้ผมจึงบอกว่าในขบวนการคนเสื้อแดงต้องให้นิ่งให้มากที่สุด
ตั้งหลักตั้งสติให้มากที่สุด ภาพแบบพี่เสงี่ยมเมื่อวานนี้ไม่ควรจะเกิด
เพราะว่าไม่เป็นผลดีต่อขบวนการใด ๆ เพราะว่าอาจารย์ธิดาเขาก็ไม่ได้ติดยึด
ผมเป็นคนไปชวนเขามา เมื่อเวลาที่ปรับครม.แล้วไม่มีชื่อผม
อาจารย์ธิดาก็แสดงไมตรีคำถามแรกว่ามาเป็นประธานนปช.เถอะ
เราสองคนต่างมีความรู้สึกกันว่าฐานะในการต่อสู้นั้นมันไม่ได้มีเรื่องนี้เลย
ที่จะมาเจือปนจนต้องขนาดมีปัญหาอะไร เพราะฉะนั้นเรื่อง ICC
เมื่อวานนี้ก็ชี้แจงครบถ้วนไปแล้ว แต่เอาเป็นว่า ณ
ขณะนี้เราต้องมองข้ามเรื่องของตัวเองให้เล็กลงที่สุด
คือถ้าตราบใดทำเรื่องตัวเองไม่เล็กได้เรื่องของบ้านเมืองที่กำลังจะเป็นความ
หายนะศึกใหญ่ที่กำลังจะรอ
และผมต้องย้ำว่าสามัคคีกันก็ยังไม่รู้ว่าจะชนะหรือเปล่า
คือรวมตัวกันเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันแล้ว ยังไม่รู้ว่าจะชนะหรือเปล่า
เพราะฉะนั้นถ้าไปแตกแยกเหมือนพวกเราบางคนไปพูด ความจริงก็ไม่ได้ทำหรอก
มาพูดเสร็จ เพื่อนก็ไปทำให้เลย แล้วก็ยัดใส่เลย
เพราะฉะนั้นท่วงทำนองต่อไปนี้เราต้องระมัดระวังให้สูงสุด
พี่น้องผองเพื่อนคุยกันได้ไม่มีปัญหาอะไร
แล้วทำเรื่องของเราให้มันเล็กลงและคิดว่าสถานการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้
เป็นเรื่องใหญ่ ถ้ารอดตั้งแต่ปลายเดือนถึงต้อนเดือนธันวาได้ก็เอายกแรก
ไม่ใช่หมายความว่าจบแล้วนะ พักสักพัก รอยกที่สองต่อ”
VIDEO
http://uddred.blogspot.be/2012/11/5-2555.html
ถอดคำพูดคุณจตุพร พรหมพันธุ์ บางส่วนจากรายการ “ชูธง”
ออกอากาศเมื่อวันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน 2555 เกี่ยวกับเรื่องที่
พ.ต.ต.เสงี่ยม สำราญรัตน์ ให้สัมภาษณ์กรณี ICC และข้อกล่าวหาประธาน นปช.
นายจตุพร
พรหมพันธ์ ตำหนิ พ.ต.ต.เสงี่ยม สำราญรัตน์
กระทำพฤติกรรมไม่เหมาะสมกรณีออกมาเรียกร้องให้ปลดประธานนปช.
พร้อมระบุสถานการณ์เช่นนี้ควรสามัคคีกันไม่ใช่สร้างปัญหา
ด้านนายแพทย์เหวง โตจิราการ เปิดแถลงข่าวตอบโต้มั่นใจมีผู้อยู่เบื้องหลัง พ.ต.ต.เสงี่ยม
แรงกระเพื่อมภายในนปช.ภายหลัง พ.ต.ต.เสงี่ยม สำราญรัตน์ แกนนำ
นปช.ชุมพร เรียกร้องให้ประธานสภาฯสอบสวนนางธิดา ถาวรเศรษฐ ประธานนปช. และนายแพทย์เหวง
โตจิการ ที่หลอกลวงคนเสื้อแดง หลังทั้ง 2 อ้างว่าศาลอาญาระหว่างประเทศรับคำร้องคดีสลายชุมนุมของกลุ่มนปช.แล้ว
ทำให้นายแพทย์เหวง เปิดแถลงข่าวตอบโต้พ.ต.ท.เสงี่ยม โดยระบุถือเป็นการกล่าวหาทั้งที่ไม่ทราบเงื่อนไขของศาลอาญาระหว่างประเทศ
อย่างแท้จริง พร้อมตั้งข้อสังเกตว่า
การออกมาเคลื่อนไหวของ พ.ต.ต.เสงี่ยม ครั้งนี้มีคนชักใยอยู่เบื้องหลัง
ด้านนายจตุพร พรหมพันธ์ แกนนำนปช. กล่าวตำหนิ
พ.ต.ต.เสงี่ยม ว่ากระทำการที่ไม่เหมาะสมเพราะ
ในสถานการณ์เช่นนี้ไม่ควรมีการเปลี่ยนแปลง แต่ควรสามัคคีกันไว้
ทั้งนี้นายจตุพร
ได้เรียกร้องให้นายสุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ
มีความชัดเจนต่อแนวทางที่จะยอมรับอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ
หรือ ICC หรือ จะลงสัตยาบัน ตามมาตรา 190 เพื่อให้ไทยเป็นภาคีสมาชิกของศาลอาญาระหว่างประเทศ
ไม่ควรลอยตัวเหนือปัญหา
คุณจตุพร:
หลังจากเกิดเหตุสลายการชุมนุมทางสำนักงานกฎหมายอัมสเตอร์ดัมแอนด์เพรอฟฟ์
ซึ่งในเวลานั้นเขาเป็นที่ปรึกษากฎหมาย นปช. รวมทั้งตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ด้วย
ปรากฏว่าอดีตนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่, อดีตอัยการ,
อดีตศาลร่วมทำสำนวนในประเทศไทยอย่างเป็นระบบ
และก็ยื่นให้สำนักงานโรเบิร์ตอัมสเตอร์ดัมซึ่งเขาก็มีตัวแทนของเขามาดำเนิน
การแปลจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษเพื่อยื่นฟ้องศาลอาญาระหว่างประเทศ
วันหนึ่งเมื่อรองประธานศาลอาญาระหว่างประเทศได้เดินทางมาที่โรงแรมโฟร์ซี
ซั่น พวกผมก็ไปกัน เขาก็บอกว่าประเทศไทยไม่ได้เป็นภาคีสมาชิกเหมือนกับ 114
ประเทศ
เพราะฉะนั้นถ้าจะยื่นเรื่องนี้ต้องผ่านคณะมนตรีความมั่นคงแห่งองค์การสห
ประชาชาติ ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ยาก ปรากฏว่าโรเบิร์ต
อัมสเตอร์ดัมนั้นความที่เขาเป็นนักกฎหมายที่เชี่ยวชาญกฎหมายระหว่างประเทศ
เขาก็ไปค้นพบว่าอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเกิดที่เมืองนิวคาสเซิล
ประเทศอังกฤษและก็ยังไม่ปรากฏหลักฐานว่าได้มีการสละสัญชาติอังกฤษแล้วหรือ
ยัง เขาก็ส่งคนไปที่เมืองนิวคาสเซิลไปคัดเอกสารการเกิดและเอกสารอื่น ๆ
ว่ามีการสละสัญชาติอังกฤษแล้วหรือยัง
เมื่อพบว่ายังไม่มีการสละสัญชาติอังกฤษ โรเบิร์ต
อัมสเตอร์ดัมเขาฟ้องนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะในฐานะประชาชนชาวอังกฤษ
ไม่ใช่ในฐานะประชาชนคนไทย
เพราะฟ้องในฐานะคนไทยไม่ได้เพราะว่าประเทศไทยยังไม่เป็นภาคีสมาชิกเหมือนกับ
114 ประเทศ
ผู้ดำเนินรายการ:
ยังไม่ได้มีการลงสัตยาบันหรือว่ารับเขตอำนาจศาลซึ่งสองอย่างนี้ก็ต่างกันไป
ด้วย
เพราะในวันนี้เองในกลุ่มสว.ก็เริ่มมีการพูดคุยถึงเรื่องการรับเขตอำนาจศาล
แล้วก็บอกว่าจะต้องผ่านความเห็นของรัฐสภาในมาตรา 190
คุณจตุพร: คือในกรณีที่ไปลงสัตยาบัน นี่ถือว่าเป็นการเข้าข่ายมาตรา
190 ซึ่งความจริงรัฐบาลควรจะทำเรื่องนี้ แต่ว่าสถานการณ์เวลาไม่คอยท่า
เพราะฉะนั้นมันก็มีกรณีการยอมรับเขตอำนาจศาลเป็นการแจ้งฝ่ายเดียวไม่มีการลง
หนังสือสัญญากัน เพราะฉะนั้นจะไม่เข้าข่ายมาตรา 190
ซึ่งนักกฎหมายของกระทรวงการต่างประเทศและทีมในประเทศไทย ดร.จารุพรรณ,
อ.ธิดา หลาย ๆ คนนะครับที่ไปนั่งว่ากัน รวมทั้งโรเบิร์ต
อัมสเตอร์ดัมและกระทั่งตัวแทนต่าง ๆ
เขาเองก็เห็นว่านี่จะเป็นช่องทางที่จะสามารถเดินได้
คือคนพวกนี้เขามองว่านอกจากปัญหาเรื่อง 99
ศพแล้วยังเป็นการป้องกันการรัฐประหารซึ่งไม่รู้เมื่อไหร่จะเกิดขึ้น
รวมกระทั่งการเข่นฆ่าประชาชนในวันข้างหน้า ได้มีการตั้งคำถามว่า
ถ้าอย่างนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ก็จะต้องถูกดำเนินคดีในข้อหาฆ่าตัดตอน
ผมก็ไปสอบถามกับตัวนายกทักษิณเองตอนที่ไปฮ่องกงว่ารู้สึกอย่างไรถ้ากรณีนี้
เป็นอย่างนี้ นายกทักษิณก็บอกว่าไม่ขัดข้อง
ไม่ขัดข้องแปลความว่าต้องเดินหน้าต่อ
แต่ผมไม่แน่ใจว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศซึ่งเดิมนัดแถลงข่าว
วันนี้เลื่อนไปเป็นวันที่ 7
ทีนี้ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือว่าวันนี้ พ.ต.ต.เสงี่ยม สำราญรัตน์
ซึ่งก็ไม่รู้ว่าคิดอย่างไร ก็ไปยื่นหนังสือถึงรองประธานสภาผู้แทนราษฏร
ซึ่งความจริงในความเห็นผมว่าไม่ควรจะไปเพราะว่ามันเป็นเรื่องภายในของ นปช.
เอง อาจารย์ธิดากับคุณหมอเหวงเขาไม่ได้พูดเพื่อประโยชน์ของเขาเอง
คือหมายความว่าสองคนนี้เขาสู้มาก่อนตลอดชีวิต และเขาสู้กันทั้งบ้าน
ลูกก็สู้ สู้มาตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516, 6 ตุลาคม 2519,
พฤษภา 2535, เมษา 52, เมษา-พฤษภาคม 53
เคยข้ามไปเข้าป่ากับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยเหมือนกับนักการเมืองอย่าง
ถ้าพรรคประชาธิปัตย์อย่างนายชำนิ ศักดิเศรษฐ์, นายสุทัศน์ เงินหมื่น, วิทยา
แก้วภราดัย หรือซีกเราอย่างจาตุรนต์ ฉายแสง, อดิศร เพียงเกษ, วิสา คัญทัพ
ในฟากฝั่งพันธมิตรก็มีมากมาย
แปลความกันว่าทุกภาคส่วนมีคนที่เข้าไปร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ทั้งสิ้น
แม้กระทั่งไม่เว้นบิดาของพล.อ.สุรยุทธ
จุลานนท์ก็เป็นผู้บัญชาการกองทัพปลดแอกแห่งประเทศไทย พ.ท.พโยม จุลานนท์
เพราะฉะนั้นตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานั้น
ตลอดการต่อสู้ของครอบครัวนี้ทั้งหมอเหวง อาจารย์ธิดานั้น
สิ่งที่เขาเดินทางไปศาลอาญาระหว่างประเทศคือพูดง่าย ๆ
ว่าจากเดิมที่โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัมเขายื่น สส.สุนัย จุลพงศธร
ประธานกรรมาธิการต่างประเทศก็ไปยื่น
อาจารย์ธิดาก็ไปยื่นและเพื่อจะดูช่องทางที่จะรับมือในวันข้างหน้า
เพราะฉะนั้นจึงไม่ได้มีการไปเรียกร้องอะไรเพื่อประโยชน์ของตัวเอง
แต่เป็นประโยชน์ของคนที่ตาย คนที่เจ็บ
ของคนที่สูญสิ้นอิสรภาพรวมกระทั่งว่าสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตไม่ว่าถ้าจะ
เกิดเหตุการณ์ฆ่าประชาชนรอบใหม่ เกิดเหตุการณ์ปฏิวัติรัฐประหาร
ศาลอาญาระหว่างประเทศก็จะเป็นภูมิต้านทานได้บ้าง
อาจจะไม่ได้ครบร้อยเปอร์เซ็นต์
เพราะฉะนั้นการตั้งข้อกล่าวหาจะโดยอย่างไรก็ตาม ผมต้องเรียนตรง ๆ ว่า
ผมกับตัว พ.ต.ต.เสงี่ยม ไม่ได้มีอะไรกัน
แต่ผมเองเห็นว่าการตั้งข้อกล่าวหาว่าต้มตุ๋นอย่างนั้นมันไม่ยุติธรรมกับ
อาจารย์ธิดาและคุณหมอเหวง เพราะฉะนั้นภาษาอันนี้เขาไม่ใช้กัน
และก็ที่สำคัญว่าโดยเนื้อเรื่องมันไม่ได้เรื่องใด ๆ เพื่อประโยชน์ส่วนตัว
อาจารย์ธิดา ถาวรเศรษฐตอนที่หมอเหวงถูกจับ พวกผมอยู่ข้างนอก
ผมเองถูกถอนประกันทุกอาทิตย์จะรักษาการประธานนปช.ก็ดูกระไรอยู่
เพราะว่าโอกาสถูกหิ้วได้ทุกวัน
เพราะฉะนั้นคนที่จะมาทำนปช.นั้นจะต้องเป็นคนที่มีภูมิต้านทานพอสมควรและมี
ความรู้สามารถอธิบายความได้ในทุกมิติทุกด้าน พูดง่าย ๆ
ไปนั่งฟลอร์ไหนไม่แพ้ใคร ผมเองเป็นคนไปเชิญอาจารย์ธิดามาเป็นรักษาการประธาน
นปช.
และก็ได้ทำหน้าที่ในระหว่างเรียกร้องอิสรภาพให้แก่พี่น้องเราที่ถูกคุมขัง
และขบวนการจัดตั้งรวมกระทั่งการทำหน้าที่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมามากมาย
ตอนปรับ ครม. ที่ผ่านมา โทรศัพท์เสียงแรกก็บอกว่า “ตู่มาเป็นประธาน นปช.
ดีกว่า” แต่ว่าผมเองผมไม่ได้มีความรู้สึกอย่างนั้น
เห็นว่าอาจารย์ธิดายังทำหน้าที่ได้สมบูรณ์ครบถ้วน
คือโดยตัวตนเอขาไม่ได้มีความยากลำบาก
ถ้าใครไปบ้านอาจารย์ธิดากับคุณหมอเหวงก็รู้ว่าไม่น่าจะมาเดือดร้อนเลย บ้าน 3
ไร่ที่ดอนเมือง มีฐานะ คือถ้าคิดเพื่อตัวเองมันไม่ต้องเดือดร้อนเลย
พอมาเป็นประธาน นปช. บ้านก็ไม่ได้อยู่อย่างเป็นเวล่ำเวลา
เดี๋ยวก็เดินทางไปต่างจังหวัด
อย่างเช่นพรุ่งนี้ต้องไปประชุมที่ขอนแก่นนี่ผมยกตัวอย่างว่า
คือแต่ละคนที่มานั้นต้องมีจิตใจเสียสละอย่างครบถ้วน
จึงได้ตัดสินใจกันอย่างนั้น เพราฉะนั้นการทำหน้าที่ของอาจารย์ธิดา,
คุณหมอเหวง, ดร.จารุพรรณ และอีกหลาย ๆ คน คุณหมอเชิดชัย
ในกรณีศาลอาญาระหว่างประเทศ เป็นการพยายามเพื่อฉีดวัคซีนป้องกัน
ดูเสมือนหนึ่งว่า
ถามว่าจำเป็นจะต้องไต่สำนวนชันสูตรพลิกศพจบในประเทศไทยหรือเปล่า
ไม่เกี่ยวกัน
เพราะนี่เป็นกระบวนการศาลอาญากระบวนการยุติธรรมในประเทศไทย
เป็นเรื่องของพนักงานสอบสวน DSI สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
พนักงานอัยการและศาลในประเทศไทยซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับศาลอาญาระหว่าง
ประเทศ เป็นคนละเรื่อง เป็นคนละขั้นตอน
คือการมองที่ศาลอาญาระหว่างประเทศเป็นการมองอนาคตไปข้างหน้าว่าถ้าเกิด
เหตุการณ์นี้ขึ้นมาเราจะทำอย่างไร
วันนี้ใครมีหลักประกันได้ว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์ 10 เมษา, 19 พฤษภาคม 53
เพราะฉะนั้นการเรียกร้องอันนี้ทุกฝ่ายก็มีความไหวหวั่น
แต่พยายามจะยกเรื่องฆ่าตัดตอนบ้าง เรื่องโน้นเรื่องนี้บ้างเข้ามาปล้ำ
เพราะฉะนั้นผมขอเรียนไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศว่าถ้าถอย
เรื่องนี้พรรคประชาธิปัตย์ก็จะชี้เลยว่าเห็นไหมความจริงกลัวเรื่องชายชุดดำ
ใช่ไหม กลัวว่าพอไปพิสูจน์ที่ศาลอาญาระหว่างประเทศเป็นเรื่องชายชุดดำใช่ไหม
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องฆ่าตัดตอนก็ไปพิสูจน์ในกันศาลอาญาระหว่างประเทศ
เดินหน้าพิสูจน์ความจริงกันไม่ต้องกลัว
แต่ว่าถ้าเกิดไม่ยอมรับเขตอำนาจศาลพรรคประชาธิปัตย์จะชี้หน้าหัวเราะว่ากลัว
ชายชุดดำโผล่
อยากให้กระทรวงการต่างประเทศมีความละเอียดอ่อนในการตัดสินใจในเรื่องนี้และ
อย่าไหวหวั่น
VIDEO
นปช. จี้ "สุรพงษ์" เซ็นรับรองไอซีซี
http://www.dailynews.co.th/politics/165806
วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2555 เวลา 15:31 น
แกนนำนปช.ขอ "สุรพงษ์" เซ็นรับรองไอซีซี "จตุพร "
เหน็บรัฐบาลายอมให้กำนันผู้ใหญ่บ้านได้
แต่ทำความสุขให้คนเสื้อแดงบ้างไม่ได้
ยกแก้ไขรัฐธรรมนูญและนำคนผิดสลายการชุมนุมเมื่อปี 53 ขึ้นศาลระหว่างประเทศ
ลั่นคนเสื้อแดงต้องเดิมพันด้วยอิสระภาพและชีวิต
วันนี้ ( 9 พ.ย. ) ที่ห้างสรรพสินค้าอิมพีเรียลลาดพร้าว
กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ
นปช.(คนเสื้อแดง)ได้แถลงข่าวประจำสัปดาห์ นำโดย นางธิดา ถาวรเศรษฐ
ประธานนปช. นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำคนเสื้อแดง นายก่อแก้ว พิกุลทอง
ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย และแกนนำคนเสื้อแดง นายวรวุฒิ วิชัยดิษฐ
โฆษกนปช.
นางธิดากล่าวถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่า
นปช.เกิดความแตกแยกนั้นเรื่องนี้ขอยืนยันว่า ไม่เป็นความจริง
หากมีการแตกแยกจะเป็นเพียงความแตกแยกเชิงหลักการและทางความคิด
แต่เราไม่มีความแตกต่างทางนโยบายและจุดมุ่งหมาย ซึ่งไม่ใช่การแตกแยกแน่นอน
ขอให้คนเสื้อแดงรับเลือกข่าวด้วย
สิ่งที่เกิดขึ้นถือว่าเป็นการทดสอบแกนนำและความสัมพันธ์ในกลุ่มเสื้อแดงทั้ง
หมด ยืนยันแกนนำยังทำงานร่วมกันแต่ตรงข้ามทำให้เข้มแข็งขึ้น
ไม่ใช่เพื่อประธานนปช.แต่เป็นขบวนการคนเสื้อแดงทั่วประเทศ
ขอท้าทายว่าจะทำลายชื่อเสียงประธานนปช.ไม่เป็นไร
แต่เราจะได้ความเข้มแข็งต่อไป
ส่วนกรณีที่มีการระบุถึงเรื่องศาลอาญาระหว่างประเทศ (ไอซีซี)
นางธิดากล่าวว่า ได้ดำเนินการมากว่า 2 ปีแล้ว คือตั้งแต่ปีพ.ศ.2553
และล่าสุดได้ยื่นหนังสือว่าเราไม่เห็นด้วยกับรายงานของคอป.ขณะนี้เรารอเพียง
ว่า รมว.ต่างประเทศจะลงชื่อยอมรับเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศเท่านั้น
และมองว่าคนที่ค้านเรื่องนี้อยู่ในกลุ่มคนฝ่ายอำมาตย์
ยืนยันไม่ใช่เรื่องต้มตุ๋นตามที่มีการกล่าวหา
ด้านนายจตุพร กล่าวว่า
สถานการณ์ขณะนี้เราต้องอยู่ในขั้นเตรียมพร้อมอย่างสมบูรณ์ จะประมาทในวันที่
24 พ.ย.นี้ไม่ได้ เขาจะปิดเกมส์ให้เสร็จก่อนวันที่ 4 ธ.ค.
เราจะไม่เคลื่อนไหวในลักษณะเผชิญหน้า
ที่ผ่านมาตนได้สื่อสารไปยังรัฐบาลและพรรคเพื่อไทยที่ต้องเคลื่อนไหวร่วมกัน
อย่างเป็นระบบ ไม่ใช่เป็นหน้าที่ของคนเสื้อแดงเพียงฝ่ายเดียว
เรื่องไอซีซีทั้งหมดเป็นขั้นตอนกระบวนการ
ถ้ารมว.ต่างประเทศเกรงเรื่องเข้าม.190
หากจำเป็นต้องนำเสนอเข้าสภาก็ต้องเสนอ ขอถามนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล
รมว.ต่างประเทศว่า หากมีการรัฐประหารอีกครั้งจะรับผิดชอบอย่างไร
"
ศาลอาญาระหว่างประเทศจึงเป็นเครื่องป้องกันแต่กระทรวงต่างประเทศยังไม่กล้า
ตัดสินใจ อย่ามาบอกภายหลังเมื่อโดนโค่นล้ม เดี๋ยวผมจะด่าให้
รอให้เขามาฆ่าใหม่แล้วค่อยมาทำถึงวันนั้นคิดจะทำก็ทำไม่ได้แล้ว
วันนี้พูดมาให้ชัดว่าจะมีการแก้รัฐธรรมนูญหรือไม่
ที่ผ่านมาได้รับความเจ็บปวดมามากแล้ว ที่ผ่านมายอมให้กำนันผู้ใหญ่บ้านได้
แต่ทำความสุขให้คนเสื้อแดงบ้างไม่ได้
เวลาความสุขนั่นคือการแก้ไขรัฐธรรมนูญและนำคนผิดเข้าศาลระหว่างประเทศ
คนเสื้อแดงต้องเดิมพันด้วยอิสระภาพและชีวิต
ที่ผ่านมาไม่ได้มีหน้าที่มาตายให้กับรัฐบาลแต่เพื่อประชาธิปไตยในอนาคต"
นายจตุพรกล่าว
ด้านนพ.เหวง กล่าวว่า ขอเรียกร้องไปยังนายสุรพงษ์
ขอให้รับรองเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ
เพราะรัฐบาลจะเป็นวีรบุรุษไปทันทีเพราะอนาคตการรัฐประหารจะเกิดขึ้นไม่ได้
ทันทีเพราะเรื่องจะส่งไปถึงศาลอาญาระหว่างประเทศ ส่วนเรื่องที่มีการกล่าวหา
มีเจตนาล้มสถาบันหรือต้องการระบบประธานาธิบดีนั้นยืนยันไม่เป็นความจริง
ส่วนเรื่องฆ่าตัดตอนที่พรรคประชาธิปัตย์ยื่นเรื่องให้ศาลอาญาระหว่างประเทศ
เห็นว่าเรื่องนี้มีการตัดสินของศาลในประเทศไปแล้วจึงเห็นว่าศาลอาญาระหว่าง
ประเทศจะไม่สามารถนำเรื่องนี้ไปพิจารณาได้อีก
และเรื่องนี้มีการตอบรับหนังสืออย่างเป็นทางการ
ไม่ใช่เป็นการต้มตุ๋นตามที่มีการกล่าวหา
VIDEO
40ส.ว.รอ'ปึ้ง'ลงนามรับเขตอำนาจ'ไอซีซี' ยื่นศาลรธน.ทันที
http://www.thairath.co.th/content/pol/304390
7 พฤศจิกายน 2555, 18:28 น.
40 ส.ว.แหยงรอ “ปึ้ง” ลงนามรับเขตอำนาจ “ไอซีซี” ค่อยพิจารณา
ยื่นให้ศาลรธน.ตรวจสอบ หวั่นซ้ำรอย ศาลไม่รับพิจารณาเหมือนปมขายข้าว
“จีทูจี”...
วันที่ 7 พ.ย. นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา
แกนนำกลุ่ม 40 ส.ว. กล่าวว่า หาก นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล
รมว.ต่างประเทศ ลงนามยอมรับเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ (ไอซีซี)
เพื่อให้ไอซีซีตรวจสอบการ สั่งสลายการชุมนุมทางการเมืองปี 2553 จริง
จะขอเอกสารการลงนามทันที เพื่อมาวิเคราะห์ความเป็นไปได้ว่า
จะเข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 190
ที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อนหรือไม่
ก่อนดำเนินการส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
เพราะต้องมีข้อมูลที่รัดกุม
จะได้ไม่ซ้ำรอยกับกรณีการยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยการขายข้าวแบบ
จีทูจี ที่ศาลรัฐธรรมนูญได้ยกคำร้องไป
"ยืนยันว่า
จะเดินหน้าตรวจสอบเรื่องนี้แน่นอน แต่ยังระบุวันเวลาไม่ได้
เพราะต้องรอให้รัฐมนตรีลงนามให้เรียบร้อยก่อน
และหากยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแล้ว หากศาลเห็นว่า
ขัดกับรัฐธรรมนูญ
ก็จะยื่นให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
(ป.ป.ช.)ดำเนินการต่อไป" นายไพบูลย์ กล่าว...
“ทูตสุรพงษ์” ไม่เชื่อไอซีซีรับสอบสลายชุมนุมแดงจริง
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
7 พฤศจิกายน 2555 01:48 น.
ทูตสุรพงษ์” ไม่เชื่อศาลอาญาระหว่างประเทศรับสอบสลายชุมนุมแดงจริง
เพราะไม่เข้าเงื่อนไขหลายประการ ท้าโชว์หลักฐาน เผยไม่ใช่เรื่องง่าย
และหากรับเรื่องยังต้องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติอนุมัติด้วย
เมื่อพบว่าเป็นเพียงการกำจัดศัตรูทางการเมืองเรื่องก็จะตกไปอยู่ดี
วันที่ 6 พ.ย. นายสุรพงษ์ ชัยนาม อดีตเอกอัครราชทูต 5 ประเทศ กล่าวในรายการ
“คนเคาะข่าว” ทางสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ASTV ช่วงหนึ่งว่า
คนสับสนระหว่างศาลอาญาระหว่างประเทศ ICC
กับอีกอันศาลสถิตยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลก ICJ
อันหลังพิจารณาคดีรัฐต่อรัฐ อย่างเช่นคดีปราสาทพระวิหาร ส่วน ICC
นั้นจะพิจารณาตัวบุคคลในความผิดทางอาญา มี 4 ประการ
1.เข้าข่ายฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ คือ การที่รัฐบาล
หรือกลุ่มบุคคลในประเทศใดก็ตามมีการไตร่ตรอง
วางแผนกำจัดศัตรูบนพื้นฐานเรื่องของความต่างทางศาสนา ความต่างทางชาติพันธุ์
โดยทำอย่างต่อเนื่องเป็นระบบ 2.การก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ เช่น
เมื่อเกิดสงครามกลางเมือง ฝ่ายที่ขัดแย้งในแต่ละประเทศมีการชำเรา ทรมาน
เข่นฆ่า โดยเกิดเป็นขั้นตอนและต่อเนื่อง 3.การก่ออาชญากรรมสงคราม
อันนี้ยังเป็นปัญหามาก
เพราะยังไม่ตกลงคำจำกัดความของอาชญากรรมสงครามไม่ได้ว่าคืออะไรกันแน่
4.การรุกรานอธิปไตย ก็คือประเทศหนึ่งรุกรานอีกประเทศหนึ่ง
โดยศาลอาญาระหว่างประเทศนี้มีประมาณ 120
กว่าประเทศที่ร่วมลงนามเห็นชอบให้ก่อตั้ง รวมไทยด้วย แต่มีประมาณ 100
กว่าประเทศที่ให้สัตยาบันยอมรับอำนาจศาล แต่ไทยไม่ได้ให้สัตยาบัน
นายสุรพงษ์ กล่าวต่อว่า แม้ว่าประเทศต่างๆ
ที่ให้สัตยาบันแล้วก็ไม่ได้หมายความว่าศาลนี้มีอำนาจอธิปไตยเหนือประเทศ
นั้นๆ ถ้ารัฐที่ให้สัตยาบันแล้ว เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
มีการร้องให้ศาลอาญาระหว่างประเทศเข้ามาเอาผิด ก็ไม่ใช่ว่า ICC
จะเข้ามาพิจารณาได้โดยอัตโนมัติ
สิ่งแรกเขาต้องถามว่าประเทศนั้นไม่มีกฎหมายที่เอาผิดได้เองหรือ สอง
หากมีกฎหมายแต่รัฐล้มเหลวเพราะมีสงครามกลางเมือง สาม
กระบวนการยุติธรรมของประเทศนั้นถูกแทรกแซงไม่สามารถเชื่อถือได้ สี่
ต้องพิสูจน์ให้เห็นว่ามีการเข้าข่ายทำผิดจริง
และหากผ่านแล้วก็ไม่ใช่จะทำอะไรได้เลย
เพราะต้องขึ้นอยู่กับคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติด้วย
โดยเขาจะดูว่าเป็นการฟ้องเพื่อยืมมือศาลมากำจัดฝ่ายการเมืองตรงกันข้ามหรือ
เปล่า ถ้าเห็นว่าเป็นคดีที่มีวาระซ่อนเร้นภายในก็จะไม่อนุมัติ
แล้วหากหนึ่งในห้าสมาชิกถาวร (จีน, ฝรั่งเศส, รัสเซีย, สหราชอาณาจักร,
สหรัฐอเมริกา) ใช้สิทธิยับยั้งเรื่องก็จะตกไป ทำอะไรไม่ได้อยู่ดี
มันไม่ใช่เรื่องง่ายเลย
ที่สำคัญ ประเทศไทยยังไม่ให้สัตยาบัน
ซึ่งจะทำให้เรื่องหยุดชะงักแค่นี้ เพราะ ICC
จะเข้ามาพิจารณาเฉพาะประเทศที่ให้สัตยาบันแล้วเท่านั้น
แล้วหากจะไปลงนามให้สัตยาบันก็ต้องเอาเข้าสภาก่อนตามมาตรา 190
นายสุรพงษ์ กล่าวต่อว่า กรณีสลายการชุมนุมปี 53
มันเป็นคำตอบในตัวอยู่แล้วว่าเป็นเรื่องการเมืองทั้งนั้น
โอกาสเป็นไปได้ยากที่ศาลจะรับพิจารณา และถ้าบอกว่าศาลยอมรับเรื่อง
ก็ต้องเอาหลักฐานมาดูว่าศาลกล้าจริง
หรือเพราะเท่ากับว่าเล่นการเมืองไม่ใช่ศาลแล้ว และผู้พิพากษา 18 คน
ต้องรับผิดชอบต่อประเทศที่ให้สัตยาบัน
การสลายการชุมนุมที่ราชประสงค์เป็นสิทธิอำนาจของรัฐในการสลายการ
ชุมนุมที่ผิดกฎหมาย หากเทียบกับกรณีตากใบ ในทัศนะของตน
แม้เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรงก็จริง แต่ไม่ใช่การตริตรอง
วางแผนล่วงหน้าอย่างเป็นระบบ จึงไม่เข้าข่ายอำนาจศาลเช่นกัน
แต่กรณีฆ่าตัดตอนยาเสพติดเข้าข่ายมาก
ส่วนกรณีเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ
เมื่อถามว่าจะมีผลต่อประเทศไทยอย่างไร นายสุรพงษ์ กล่าวว่า
มั่นใจได้เลยไม่ว่าใครจะชนะ นโยบายต่อประเทศเราไม่เปลี่ยนแปลง
อย่าว่าแต่แค่ประเทศเรา
นโยบายต่างประเทศของทุกประเทศในโลกมักสานต่อกันมาเรื่อยๆ
อาจต่างกันที่วิธีการ ยุทธวิธี แต่เนื้อหา เป้าหมายไม่เปลี่ยน
โดยเป้าประสงค์ของอเมริกาต่อภูมิภาคอาเซียน ก็คือ
1.ไม่ให้ประเทศใดประเทศหนึ่งเข้ามาช่วงชิงอำนาจเหนือสหรัฐฯ ในภูมิภาคนี้
2.หาทางรักษา ปกป้องเส้นทางเดินเรือเพื่อการพาณิชย์
3.รักษาเสถียรภาพความมั่นคงในภูมิภาค เพื่อผลประโยชน์ต่อสหรัฐฯ เอง
4.รักษาความมั่นคงกับประเทศที่เป็นพันธมิตร เช่น ไทย
และสนับสนุนประเทศที่เป็นพันธมิตรมีฐานะเป็นรัฐบริวาร
และหารัฐบริวารเพิ่มขึ้นอีก 5.ส่งเสริมประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน
ตราบใดที่ไม่ขัดกับผลประโยชน์ 4 ข้อข้างต้น กล่าวคือ
หากประเทศใดเป็นเผด็จการแต่ไม่ขัดผลประโยชน์ ก็จะไม่ทำอะไร
แต่ถ้าขัดผลประโยชน์ก็จะเอาเรื่องประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน เข้าไปเล่นงาน
นอกจากนี้ ต้องทำให้ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคไม่สามารถรวมกลุ่มกันได้
เพราะแตกแยกมากเท่าไหร่ก็ยิ่งต้องพึ่งสหรัฐฯ มากเท่านั้น
นายสุรพงษ์ ยังกล่าวด้วยว่า นโยบายของไทยหลังการเลือกตั้งสหรัฐฯ
ต้องไม่ให้ไทยเป็นรัฐบริวารของเขา เราต้องยอมรับว่าไทยเป็นยุทธศาสตร์สำคัญ
เป็นพื้นที่ของการแข่งขันระหว่างมหาอำนาจหลายประเทศ แต่ตัวละครหลักก็คือ
จีนและสหรัฐฯ
นโยบายต่างประเทศของไทยต้องตระหนักว่าเป้าประสงค์ของเขาหมือนเดิม ฉะนั้น
ทำอย่างไรเพื่อรักษาผลประโยชน์ของเราไว้ ให้มีอำนาจต่อรองได้
นโยบายต้องไม่ไร้ทิศไร้ทางแบบที่ผ่านมา ไม่ใช่อะไรก็ได้
เพราะอำนาจนำทางเศรษฐกิจมาอยู่ทางเอเชียหมดแล้ว อเมริกา ยุโรป
เสื่อมลงเรื่อยๆ ขั้วอำนาจกระจายตัวมาก ต้องอ่านสถานการณ์ให้ออก
ไม่ใช่ว่าเห็นจีนกำลังผงาดแล้วต้องเลือกข้างจีน ที่ถูกต้องไม่เลือกข้าง
และไม่เอาทั้งสองข้าง
เราต้องแสวงหาพื้นที่ให้แก่ไทยภายใต้ความขัดแย้งของมหาอำนาจ
ด้วยการหาผลประโยชน์จากความร่วมมือ และขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ กับจีน
สุรพงษ์ 'ออกทีวีแทนนายกฯแจงรับเขตอำนาจ ICCไม่ละเมิดตุลาการไทยแน่
http://www.thairath.co.th/content/pol/305082
10 พฤศจิกายน
2555, 11:25 น.
"รองนายกฯ สุรพงษ์" ออกรายการรัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน
แจงความคืบหน้ากิจการด้านการต่างประเทศ ขณะกรณีปัญหา ICC
ยืนยันหากรับขอบเขตอำนาจ ไม่ละเมิดตุลาการไทยแน่นอน
ขอคุยคนเกี่ยวข้องให้ช้ดก่อน ย้ำต้องละเอียดรอบคอบ....
เมื่อเวลา
08.00 น. วันที่ 10 พ.ย. นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรีและ
รมว.การต่างประเทศ ออกรายการ "รัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน"
ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ แทน
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
โดยนายสุรพงษ์ได้ใช้โอกาสนี้ในการชี้แจงความคืบหน้าเรื่องความสัมพันธ์
ระหว่างประเทศของประเทศไทยและนานาชาติ ที่ถือได้ว่ามีการพัฒนาไปอย่างมาก
หลายต่อหลายครั้งที่เกิดปรากฏการณ์ที่ไม่เคยมี หรือไม่มีมานานแล้ว
ในเรื่องการต่างประเทศ เช่นเร็วๆ นี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์
มีกำหนดการเยือนประเทศอังกฤษ
ก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระบรมราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2
แห่งสหราชอาณาจักร พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้เข้าเฝ้าฯ
ซึ่งแทบไม่เคยปรากฏมาก่อนว่าผู้นำรัฐบาลจากประเทศใดจะได้รับโอกาสเช่นนี้ "รัฐบาล
นี้ให้ความสำคัญกับเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมาก
เห็นได้จากในปีที่ผ่านมา ที่นายกฯ เดินทางไปเยือนต่างประเทศค่อนข้างมาก
เยือน 17 ประเทศในปีเดียว และต่างประเทศก็มาเยือนเรา ซึ่งนายกฯ
ชี้ให้ผู้นำเข้าใจในพัฒนาการทางด้านการเมืองของเรา
และแสดงถึงความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ทำให้เขาเกิดความมั่นใจ
ส่งผลให้ผู้นำหลายประเทศอยากมาเยือนเรา
โดยเฉพาะเดือนนี้มีหลายประเทศมาเยือนเรา เริ่มตั้งแต่คณะกรรมาธิการยุโรป
ที่ไม่เคยมาเยือนเราเลย ก็มาเยือนเป็นครั้งแรก และประธานาธิบดีเกาหลีใต้
ซึ่งมีความร่วมมือหลายด้านด้วยกัน ที่เราได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง
หลังจากที่นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ไปเยือนเขา
"
นายสุรพงษ์ กล่าวต่อว่า
และในวันที่ 12-15 พ.ย.นี้ นายกฯ จะไปเยือนอังกฤษอย่างเป็นทางการ
และได้มีโอกาสได้เข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระบรมราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2
ซึ่งปกติการได้เข้าเฝ้าฯ จะต้องเป็นประมุขของรัฐ
ครั้งนี้ถือว่าได้รับเกียรติอย่างสูงที่มีโอกาสเข้าเฝ้าฯ
การเดินทางไปครั้งนี้ นายกฯ จะพานักธุรกิจไปด้วย
ถือโอกาสประกาศหุ้นส่วนทางธุรกิจร่วมกัน
ดูแม่น้ำเทมส์และการจัดการรถไฟฟ้าของอังกฤษ
โดยเฉพาะการเดินทางไปอังกฤษครั้งนี้ มีผู้ใหญ่ระดับซีอีโอของไทยไปด้วย
และทางอังกฤษก็เตรียมระดับผู้นำธุรกิจของเขามาคุยกัน
ทุกครั้งที่ไปก็จะมีโอกาสที่นักธุรกิจได้เปิดการซื้อขายกัน
ส่วนใหญ่ก็จะสร้างความเชื่อมั่นให้เขาเห็น
ยิ่งเราฟื้นตัวจากภาวะน้ำท่วมรวดเร็ว
และงบประมาณในการลงทุนเรื่องน้ำในอนาคต
การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนและประเทศไทยลงทุนค่อนข้างเยอะในการสร้างโครงสร้าง
ฟื้นฐาน เป็นสิ่งที่ทุกประเทศให้ความสนใจ
และใช้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในการกระจายการทำธุรกิจและธุรกิจของเขา
ก็เป็นโอกาสดีของไทย
หลังจากที่กลับมา
"นอกจากนี้ ประธานาธิบดีบารัค
โอบามา แห่งสหรัฐฯ ก็จะเดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ในวันที่
18 พ.ย. ถือว่าประเทศไทยถึงจุดที่ต่างชาติให้ความสำคัญอย่างมาก และวันที่
16 พ.ย. มีประธานาธิบดียูกันดามาเยือนไทย ก็เป็นครั้งแรกอีกที่มาเยือนไทย
เพราะฉะนั้น ความสัมพันธ์ต่างๆ ดีขึ้น การค้าการลงทุนก็น่าจะดีขึ้นด้วย
เพราะทุกท่านมาแล้วก็ประทับใจในความงามและนิสัยใจคอของคนไทย
รัฐบาลยิ่งลักษณ์ก็ตั้งใจ และปีนี้ก็ต้องทำงานหนักขึ้นด้วย
ปีนี้เป็นปีที่สอง ท่านก็ให้ผมดูแลด้านต่างประเทศ หากท่านนายกฯ
ติดภารกิจอื่น ก็ให้ผมรับแขกแทนท่านได้" นายสุรพงษ์ กล่าวต่อไปว่า
สำหรับนโยบายสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสำหรับปีที่สองของรัฐบาลนั้น
หลังปีแรกผ่านไป นายกฯ ไปเยือน 17 ประเทศ ตอนนี้ทะลุ 20 ประเทศ ส่วนตนปีแรก
25 ประเทศ ตอนนี้ 35 แล้ว โดยทุกครั้งที่ท่านนายกฯ
ไปเยือนก็จะพยายามสรุปว่า ทุกประเทศมีแหล่งพลังงานอะไร
เพื่อที่จะได้ขอความร่วมมือเพราะในอนาคตเราห่วงเรื่องพลังงาน
โดยเฉพาะเรื่องน้ำมัน มีบัญชาชัดเจนว่าจะหาความร่วมมือด้านนี้อย่างไร
โดยเฉพาะเรามีความมั่นคงด้านอาหารก็จะไปแลกกับเขา โดยนายกฯ มองแบบนักธุรกิจ
ท่านเห็น เข้าใจ และกลับมาพัฒนาได้ ผู้นำบางคนเดินทางไปต่างประเทศ
แต่ก็มองไม่ออก แต่นายกฯ ยิ่งลักษณ์มองออก
เป็นคนที่มองออกไปเห็นและกลับมาพัฒนา ส่วนกรณีคำถามเกี่ยวเรื่องของ
อัยการสูงสุดศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC) นั้น นายสุรพงษ์ ชี้แจงว่า
เป็นเรื่องที่คนในประเทศไทยไม่ค่อยเข้าใจ
เพราะถูกชี้นำโดยกลุ่มคนที่ไม่เข้าใจไอซีซี
จะเข้ามายุ่งกับประเทศไทยในการรับขอบเขตอำนาจ 4 เรื่อง อาทิ การสงคราม
การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ การรุกราน หรือความผิดอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ
โดยจะไม่เข้ามายุ่งในเรื่องกระบวนการยุติธรรม
หากข้อมูลที่ส่งให้ดูมีกระบวนการยุติธรรม ไอซีซีก็จะไม่เข้ามายุ่ง
นอกจากเห็นว่าไม่ถูกต้อง
ส่วนที่หวั่นเกรงว่าจะเป็นการละเมิดอำนาจตุลาการของไทยนั้น
ก็ไม่มีทางเป็นไปได้ แต่การรับขอบเขตอำนาจ ICC
จะกลับกลายเป็นภูมิคุ้มกันการกระทำเลวร้ายต่างๆ เช่น การปฏิวัติ รัฐประหาร
ฯลฯ ได้ พร้อมกันนี้ นายสุรพงษ์ ยังกล่าวด้วยว่า อย่างไรก็ตาม
การที่ประเทศไทยจะพิจารณารับหรือไม่รับขอบเขตอำนาจดังกล่าวนั้น
ต้องใช้เวลาและความละเอียดรอบคอบในการพิจารณา
ซึ่งตนจะหารือกับผู้ที่มีความรู้เรื่องกฎหมาย ทั้งคณะกรรมการกฤษฎีกา
และผู้เกี่ยวข้องคนอื่นๆ ก่อน เพื่อให้ได้ความชัดเจน.
VIDEO